สาวัตถี 913 texts and 1168 matches in Suttanta Thai


Sutta St Title Words Ct Mr Links Quote
an1.1-10 1.1–10 ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ฯ
an2.1-10 2.1–10 ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ อย่างนี้โทษ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ โทษที่เป็นไปในปัจจุบัน ๑ โทษ ที่เป็นไปในภพหน้า ?ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในปัจจุบันเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เห็นโจรผู้ประพฤติความชั่ว พระราชาจับได้แล้ว รับสั่งให้ทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือเฆี่ยนด้วยหวายบ้าง เฆี่ยนด้วยเชือกบ้าง ทุบด้วยไม้ตะบองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัด ทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง ทำให้เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำส้ม ผะอูมบ้าง ทำให้เลี่ยนเหมือนสังข์บ้าง ทำให้มีหน้าเหมือนราหูบ้าง ทำให้มีพวงดอกไม้ไฟบ้าง ทำให้มีมือมีไฟลุกโชติช่วงบ้าง ทำให้มีเกลียวหนังเนื้อทรายบ้าง ทำให้นุ่งผ้าขี้ริ้วบ้าง ทำให้ เป็นเลียงผาบ้าง ทำให้มีเนื้อเหมือนเป็ดบ้าง ทำให้เป็นกหาปณะบ้าง ทำให้รับน้ำด่างบ้าง ทำ ให้หมุนเหมือนกลอนเหล็กบ้าง ทำให้เป็นตั่งทำด้วยฟางบ้าง เอาน้ำมันร้อนๆ ราดบ้าง ให้ สุนัขกัดบ้าง แม้ยังมีชีวิตอยู่ก็ให้นอนบนหลาวบ้าง เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง เขามีความคิดเห็น เช่นนี้ว่า เพราะบาปกรรมเช่นใดเป็นเหตุ โจรผู้ทำความชั่วจึงถูกพระราชาจับแล้วทำกรรมกรณ์ นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง ก็ถ้าเรานี้แหละ จะพึงทำ บาปกรรมเช่นนั้น ก็พึงถูกพระราชาจับแล้วทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ เอาหวายเฆี่ยนบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง ดังนี้เขากลัวต่อโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน ไม่เที่ยวแย่งชิงเครื่องบรรณาการ ของคนอื่นดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน ฯ
an2.32-41 2.32–41 ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ใกล้พระนครสาวัตถี มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี สาวัตถีนั้นทุกวันนี้ 4 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนาง วิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียก ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่าน พระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคล ที่มีสังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นตอบรับ ท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายก็บุคคลที่มีสังโยชน์ ในภายในเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อม ด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไปภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็น อนาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นอนาคามีกลับ มาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

มหา. ดูกรพราหมณ์ ในชนบทด้านทิศบูรพา มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี ณ พระนคร สาวัตถีนั้นทุกวันนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลังประทับอยู่ ดูกร พราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากามราคะ … และการถูก ทิฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย
an3.1 Bhayasutta. ภยสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ อันตรายที่จะเกิดขึ้น ทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น
an3.21 Samiddhasutta. สวิฏฐสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระสวิฏฐะกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้พากันไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าว กะท่านพระสวิฏฐะว่า ดูกรอาวุโสสวิฏฐะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็น ไฉน คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑ ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวก ไหนซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ท่านพระสวิฏฐะได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก๓ จำพวกเป็นไฉน คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตต บุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล ๑ ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ กระผมชอบใจบุคคลผู้สัทธาวิมุตต ซึ่งเป็นผู้งามกว่าแลประณีตกว่า
an3.51 Paṭhamadvebrāhmaṇasutta. ชนสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์๒ คน เป็นคนชรา แก่เฒ่า
an3.66 Sāḷhasutta. สาฬหสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
๖๗. สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะ อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ใน ปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นายสาฬหะหลานชายของมิคารเศรษฐี กับนาย โรหนะหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี ได้ชวนกันเข้าไปหาท่านพระนันทกะจนถึงที่อยู่ กราบไหว้ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา … สมณะนี้เป็นครูของ เรา ดูกรสาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรม เหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความในข้อนั้นเป็นไฉน ความโลภมีอยู่หรือ นายสาฬหะและนายโรหนะรับรองว่ามี ขอรับ ฯ
an3.70 Uposathasutta. อุโปสถสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 7 Eng  ไทย  Рус
๗๑. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ใน บุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับในวัดอุโบสถ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
an3.71 Channasutta. ฉันนสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
๗๒. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแลฉันนปริพาชกได้ไปหาท่านพระอานนท์ ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านพระอานนท์ ท่านทั้งหลาย
an3.127 Hatthakasutta. หัตถกสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป หัตถกเทพบุตรมี รัศมีงามยิ่งนัก ทำพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสวเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ คิดว่า จักยืนตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคแล้วทรุดลงนั่งไม่สามารถที่จะยืนอยู่ได้ เปรียบเหมือนเนยใส หรือน้ำนมที่เขาเทลงบนทรายย่อมจมลง ตั้งอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด หัตถกเทวบุตรก็ฉันนั้นเหมือน กัน คิดว่า จักยืนอยู่ตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคแล้วทรุดลงนั่ง ไม่สามารถที่จะยืนอยู่ได้ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะหัตถกเทพบุตรว่าดูกรหัตถกะ ท่านจงนิรมิตอัตภาพอย่าง หยาบๆ หัตถกเทพบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว นิรมิตอัตภาพอย่างหยาบ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกร
an4.21 Paṭhamauruvelasutta. อุรุเวลสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวแรกตรัสรู้เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราในอุรุ เวลาประเทศ เมื่อเราหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์คนไหน หนอแล แล้วอาศัยอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปริวิตกต่อไปว่า เราจะพึงสักการะเคารพสมณะ หรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะ หรือพราหมณ์อื่น ผู้มีศีลสมบูรณ์กว่าตน ซึ่งเราจะพึงสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เราจะพึง สักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่น แล้วอาศัยอยู่เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิขันธ์ … แห่งปัญญา ขันธ์ … แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีสมาธิสมบูรณ์กว่า ตน … มีปัญญาสมบูรณ์กว่าตน … มีวิมุตติสมบูรณ์กว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราได้ปริวิตกต่อไปว่า ไฉน หนอแล เราพึงสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นอาศัยเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าว สหัมบดีพรหมรู้ความปริวิตกแห่งใจของเราด้วยใจ ได้อันตรธานจากพรหมโลกไปปรากฏข้างหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดี พรหมกระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกมณฑลเข่าเบื้องขวาลงที่แผ่นดินประนมอัญชลีมาทาง เรา แล้วกล่าวคำนี้กะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น อย่างนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่านั้นสักการะเคารพพระธรรมนั่นเทียว อาศัยอยู่แล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด จักมีในอนาคตแม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็จักสักการะเคารพพระธรรมนั่นเทียวอาศัย อยู่แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็จงสักการะเคารพพระธรรมนั่นแหละอาศัย
an4.45 Rohitassasutta. โรหิตัสสสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแลโรหิตัสสเทวบุตร เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มี รัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์ ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติในโอกาสใดหนอแล พระองค์ อาจหรือหนอเพื่อจะทรงทราบ เพื่อจะทรงเห็นหรือเพื่อจะทรงถึงซึ่งที่สุดแห่งโลกด้วยการเสด็จไป ในโอกาสนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอาวุโส สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติย่อมไม่อุบัติ ในโอกาสใดแล เราย่อมไม่กล่าวโอกาสนั้นว่าเป็นที่สุดแห่งโลกที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึงด้วยการไป ฯ
an4.48 Visākhasutta. วิสาขสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านวิสาขปัญจาลิบุตร ได้ชี้แจงภิกษุ
an4.67 Ahirājasutta. อหิสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด

ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยัง สกุลพญางูทั้ง ๔ ไซร้ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง ๔ ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำ กาละ ตระกูลพญางู ๔เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักข์ ๑ ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ ๑ ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ ๑ ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู ๔ จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูล พญางูทั้ง ๔ นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิต ไปยังตระกูลพญางู ๔ จำพวกนี้เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ฯ
an4.101 Paṭhamavalāhakasutta. วลาหกสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายวลาหก (เมฆ) ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน คือ วลาหกคำราม แต่ไม่ให้ฝนตก อย่าง ๑ ให้ฝนตก แต่ไม่คำรามอย่าง ๑ ไม่คำรามทั้งไม่ให้ฝนตกอย่าง ๑ คำรามด้วยให้ฝนตกด้วย อย่าง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วลาหก ๔ อย่างนี้แล ฯ
an4.190 Uposathasutta ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งในวัน อุโบสถ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นิ่งเงียบแล้ว ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เงียบ ปราศจากเสียงสนทนา บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในสาระ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทเช่นใดที่บุคคลหาได้ยาก แม้เพื่อจะเห็น ในโลก ภิกษุสงฆ์นี้ ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทนี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทเช่นใดเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ภิกษุสงฆ์นี้ก็ เป็นเช่นนั้น บริษัทนี้ก็เป็นเช่นนั้น แม้ของน้อยที่เขาให้ในบริษัทเช่นใด ย่อมเป็นของมาก ของ มากที่เขา ให้ในบริษัทเช่นใด ย่อมเป็นของมากยิ่งกว่า ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทนี้ก็เป็นเช่นนั้น
an4.197 Mallikādevīsutta ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ยากจนขัดสนทรัพย์สมบัติและต่ำศักดิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
an5.1 Saṅkhittasutta. ๑. สังขิตตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ โอตตัปปะกำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กำลังของเสขบุคคล ๕ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยกำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ กำลังคือ โอตตัปปะ กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
an5.44 Manāpadāyīsutta. ๔. มนาปทายีสูตร สาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถากะอุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลีแล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ต่อมาไม่นานอุคคคฤหบดีชาวเมือง เวสาลี ก็ได้ทำกาละ และเมื่อทำกาละแล้ว เข้าถึงหมู่เทพชื่อมโนมยะหมู่หนึ่ง ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร สาวัตถี ครั้งนั้นอุคคเทพบุตรมีวรรณงาม เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า ดูกรอุคคะ ตามที่ท่านประสงค์สำเร็จแล้วหรือ อุคคเทพบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตามที่ข้าพระองค์ประสงค์สำเร็จแล้ว พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะอุคคเทพบุตรด้วยพระคาถาความว่า ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ ประเสริฐ นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้ ฯ
an5.49 Kosalasutta. โกสลสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้า
an5.51 Āvaraṇasutta. ๑. อาวรณสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
an5.55 Mātāputtasutta. ๕. มาตุปุตติกสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี ในพระนครสาวัตถี ภิกษุและภิกษุณีเข้าจำพรรษาในพระนครสาวัตถี 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุ และภิกษุณี เข้าจำพรรษา ในพระนครสาวัตถี คนทั้งสองนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนืองๆ

คุ้นเคยกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำ ให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุและภิกษุณีเข้าจำพรรษาในพระนครสาวัตถี นี้ คนสองคนนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนืองๆแม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็นบุตรเนืองๆ แม้ บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนืองๆ เพราะการเห็นกันเนืองๆ แห่งคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลี กัน เมื่อมีความคลุกคลีกันจึงมีการวิสาสะกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้น มีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นย่อมสำคัญหรือหนอว่า มารดาย่อมไม่กำหนัดในบุตร ก็หรือบุตรย่อมไม่กำหนัดในมารดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้รูปเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่ง ความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม จากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนรูปหญิงนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น พัวพัน ในรูปหญิง เป็นผู้อยู่ใต้อำนาจรูปหญิงย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเสียงอื่นแม้เสียงเดียว … กลิ่นอื่นแม้กลิ่นเดียว … รสอื่นแม้รสเดียว … โผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การ บรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนโผฏฐัพพะ แห่งหญิงนี้เลย สัตว์ ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น พัวพัน ในโผฏฐัพพะแห่งหญิง ย่อมเศร้าโศกตลอด กาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี นอนหลับ แล้วก็ดี หัวเราะก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี บวมขึ้นก็ดี ตายแล้วก็ดี ย่อมครอบงำจิตของบุรุษได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวสิ่งใดๆ พึงกล่าวโดยชอบว่า บ่วงรวบรัดแห่งมาร ก็พึงกล่าวมาตุคามนั่นแหละว่า เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร โดยชอบได้ ฯ บุคคลพึงสนทนาด้วยเพชฌฆาตก็ดี ด้วยปีศาจก็ดี พึงถูกต้องอสรพิษ ที่กัดตายก็ดี ก็ไม่ร้ายแรงเหมือนสนทนาสองต่อสองด้วยมาตุคามเลย
an5.171 Sārajjasutta. ๑. สารัชชสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้หยั่งลงสู่ความครั่นคร้าม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉนคือ อุบาสกเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ เป็นผู้ลักทรัพย์ ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑ เป็นผู้กล่าวคำเท็จ ๑ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้หยั่งลงสู่ความครั่นคร้าม ฯ
an6.1 Paṭhamaāhuneyyasutta. ๑. อาหุเนยยสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณ ฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของ ทำบุญ ควรกระทำอัญชลีเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ ฟังเสียงด้วยหู … สูดกลิ่นด้วยจมูก … ลิ้มรสด้วยลิ้น … ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย … รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของ ทำบุญ ควรกระทำอัญชลีเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฯ
an6.17 Soppasutta. ๗. กุสลสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น
an6.34 Mahāmoggallānasutta. ๔. โมคคัลลานสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะหลีกออกเร้นอยู่ ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เทวดาเหล่าไหนหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าติสสะทำกาละไม่นาน ได้เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง ณ พรหมโลกแม้ชั้นนั้น เทวดา
an6.37 Chaḷaṅgadānasutta. ๗. ทานสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุ กัณฑกะ ถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะเป็นประมุข พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุ กัณฑกะถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระ โมคคัลลานะเป็นประมุข ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แล้วตรัสกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาชื่อนันทมารดาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก
an6.43 Nāgasutta. ๑. นาคสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี ถือบาตรจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี 2 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรง ถือบาตรจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ มาเถิด เราจักเข้าไปยังปราสาทของมิคารมารดา ที่บุพพา รามวิหาร เพื่อพักผ่อนกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มี พระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ได้เสด็จเข้าไปยังปราสาทของมิคารมารดา ที่บุพพารามวิหาร ครั้ง นั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ มาเถิด เราจักไปยังท่าน้ำชื่อบุพพโกฏฐกะ เพื่อสรงน้ำ ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ ได้เสด็จเข้าไปยังท่าน้ำชื่อบุพพโกฏฐกะ เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงแล้ว เสด็จขึ้นมา ทรงนุ่งอันตรวาสกได้ยืนผึ่งพระวรกายอยู่ ฯ
an6.49 Khemasutta. ๗. เขมสุมนสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเขมะและท่านพระสุมนะได้เข้า
an7.1 Paṭhamapiyasutta. อัปปิยสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
an7.42 Paṭhamaniddasasutta. นิททสสูตรที่ ๑ บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ท่านพระสารีบุตรเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ในพระนครสาวัตถีก็ยังเช้านัก 5 0 Eng  ไทย  Рус
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านคิดว่า เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ท่านพระสารีบุตรเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาต ในเวลาปัจฉาภัต

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์คิดว่า เราจะเที่ยวไปบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถีก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัย กับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังนั่งประชุมสนทนากันว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ นิททสะ แต่ข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าวของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยตั้งใจว่า เราจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของ พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อทรงบัญญัติภิกษุผู้นิททสะ ด้วยเหตุเพียงการนับพรรษาอย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้ ฯ
an7.47 Dutiyaaggisutta. อัคคิสูตรที่ ๒ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์ตระเตรียมมหายัญ โคผู้ ๕๐๐ ลูกโคผู้ ๕๐๐ ลูกโคเมีย ๕๐๐ แพะ๕๐๐ แกะ ๕๐๐ ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อบูชายัญ ลำดับนั้น อุคคตสรีรพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ได้ฟังมาว่า การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
an8.1 Mettāsutta. เมตตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็น ดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง หมั่นเจริญเนืองๆ สั่งสมไว้โดยรอบ ปรารภด้วยดี พึงหวังได้ อานิสงส์ ๘ ประการ ๘ ประการเป็นไฉน คือหลับก็เป็นสุข ๑ ตื่นก็เป็นสุข ๑ไม่ฝันเห็น สิ่งลามก ๑ เป็นที่รักของมนุษย์ ๑ เป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อมรักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราไม่กล้ำกลายผู้นั้น ๑ เมื่อแทงตลอดคุณธรรมที่สูงขึ้นไปยังไม่ได้ ย่อมไปบังเกิดใน พรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ เจริญแล้ว
an8.20 Uposathasutta. อุโปสถสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งในวันอุโบสถ
an8.41 Saṅkhittūposathasutta. สังขิตตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอันบุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มี ความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันบุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลาย มาก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายละปาณาติบาต งดเว้น จากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอายเอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์ อยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา
an8.43 Visākhāsutta. วิสาขสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรวิสาขา อุโบสถอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการบุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรือง มาก มีความแพร่หลายมาก ดูกรวิสาขา ก็อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้า อยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ดูกร วิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่าพระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาต
an8.45 Bojjhasutta. โพชฌาสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล โพชฌาอุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรโพชฌา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความ รุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ดูกรโพชฌา ก็อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคล เข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก
an8.47 Dutiyavisākhāsutta. วิสาขสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรวิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม๘ ประการนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่า
an8.49 Paṭhamaidhalokikasutta. อิธโลกสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
an9.1 Sambodhisutta. สัมโพธิสูตร เศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุ ให้ธรรมอัน เป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์แก่อัญญ เดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล ฯลฯภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจัก ทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลายถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุให้ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์ แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีมิตรดี
an9.4 Nandakasutta. นันทกสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระนันทกะชี้แจงภิกษุทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา ในอุปัฏฐานศาลา ฯ
an9.11 Sīhanādasutta. วุฏฐิสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี ข้าพระองค์จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถีแล้ว 2 9 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถีแล้ว ข้าพระองค์ปรารถนาจะหลีก จาริกไปในชนบทพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เธอจงสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว หลีกไป ฯ
an9.12 Saupādisesasutta. สอุปาทิเสสสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี พระนครสาวัตถี การเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี การเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี 6 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยัง พระนครสาวัตถี ท่านพระสารีบุตรมีความคิดดังนี้ว่า การเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ยังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญ เดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งก็สมัยนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่งประชุมสนทนากันในระหว่างว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ ผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักพระผู้มี พระภาค ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า

ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์ได้มีความคิด อย่างนี้ว่า การเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ยังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลัง นั่งประชุมสนทนากันอยู่ในระหว่างว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้น จากอบาย ทุคติ และวินิบาต ข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำที่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ
an9.20 Velāmasutta. เวลามสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดีในตระกูลของท่าน ยังให้ทานอยู่บ้างหรือหนอ ฯ
an10.1 Kimatthiyasutta. กิมัตถิยสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ว่า ดูกรอานนท์ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ
an10.7 Sāriputtasutta. สาริปุตตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถีนี้แหละ 1 1 Eng  ไทย  Рус
สา. ดูกรท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถีนี้แหละ ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ โดยประการที่ผมมิได้มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ เลย มิได้มีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในเตโชธาตุว่า เป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์มิได้มีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความ สำคัญในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญใน วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในอากิญจัญ ญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญาย ตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าผมเป็นผู้มีสัญญา ฯ
an10.27 Paṭhamamahāpañhāsutta. มหาปัญหาสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถีลำดับนั้นแล การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีก็ยังเช้านัก ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในนครสาวัตถีแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในนครสาวัตถีก็ยังเช้านัก 6 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้นนั้นแล เป็นเวลาเช้าภิกษุเป็นอันมากนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถีลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีก็ยังเช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายพึงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุศาสนีนี้ จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือธรรมเทศนากับธรรมเทศนาหรืออนุศาสนีกับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ครั้นนั้นแลภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักพระผู้มี พระภาค ครั้นนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจาก บิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ ทั้งหลายนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในนครสาวัตถีก็ยังเช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิดพวกข้าพระองค์ได้เข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้วได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดม ย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้ยิ่ง ธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลาย ก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่ง ธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีนี้จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือ ธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรือ อนุศาสนีกับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล
an10.30 Dutiyakosalasutta. โกศลสูตรที่ ๒ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับจาก การรบชนะสงครามมาแล้ว มีพระราชประสงค์อันได้แล้ว ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เสด็จไปยังอาราม เสด็จไปโดยพระราชยานเท่าที่ยานจะไปได้ เสด็จลงจากยานแล้ว เสด็จไป ด้วยพระบาทเข้าไปสู่อาราม ฯ
an10.50 Bhaṇḍanasutta. ภัณฑนสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตในเวลา ภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดหมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกัน และกันด้วยหอก คือ ปากครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรอันเธอทั้งหลายพัก ค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดความ หมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปากอยู่ ฯ
an10.51 Sacittasutta. สจิตตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวารจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ฉลาดในวารจิตของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
an10.60 Girimānandasutta. อาพาธสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็น ไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ
an10.69 Paṭhamakathāvatthusutta. วัตถุกถาสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องกรรม เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอนเรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำเรื่องคนล่วงลับไปแล้ว เรื่อง เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ฯ
an10.70 Dutiyakathāvatthusutta. วัตถุกถาสูตรที่ ๒ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตภาย หลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น ในเวลาเย็นเสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตบแต่งไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัส ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ก็แหละกถาอะไรที่เธอทั้งหลายสนทนาค้างไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและ ความเสื่อม พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายสนทนา ดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจรฯลฯ เรื่องความเจริญและความ เสื่อมนี้ ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเอง เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สันโดษและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สันโดษ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะ ควรสรรเสริญ ๑ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
an10.71 Ākaṅkhasutta. อากังขสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์ อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจรอยู่เถิด จง เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจที่เคารพ และที่ยกย่องของ สพรหมจารีทั้งหลายไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความ สงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย ไซร้ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของชนเหล่าใด ขอสักการะ ของชนเหล่านั้นพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ทั้งหลาย… เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า ญาติสาโลหิตเหล่าใด ผู้ละไปแล้ว กระทำกาละแล้วมีจิตเลื่อมใส ย่อมตามระลึกถึง ขอการระลึกถึงแห่งญาติสาโลหิตเหล่านั้นพึงมี ผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย …เพิ่มพูนการ อยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะและ
an10.75 Migasālāsutta. มิคสาลาสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้งนั้น มิคสาลา อุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถาม ท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุ ให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์จักเป็นผู้มี คติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือบิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่าน กระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษ ชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยา ของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้น ดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีสติเสมอกันใน สัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร ฯ
an10.91 Kāmabhogīsutta. กามโภคีสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคยังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี กามโภคีบุคคลมีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวก ๑๐ จำพวกเป็นไฉน คือ กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดย ไม่ชอบธรรม โดยทารุณ ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำไม่แจกจ่าย ไม่กระทำบุญ ๑ กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้ แสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณ ครั้นแสวงหาได้แล้ว ย่อมเลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่กระทำบุญ ๑ กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณ ครั้นแสวงหา ได้แล้ว ย่อมเลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แจกจ่ายกระทำบุญ ๑ กามโภคีบุคคลบางคนในโลก นี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยทารุณบ้าง ไม่ทารุณบ้าง ครั้น แสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ ไม่แจกจ่าย ไม่กระทำบุญ ๑ กามโภคีบุคคล บางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยทารุณบ้าง ไม่ทารุณ บ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ย่อมเลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำแต่ไม่แจกจ่าย ไม่กระทำบุญ ๑ กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยทารุณ บ้าง ไม่ทารุณบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้วย่อมเลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แจกจ่ายกระทำ บุญ ๑ กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ทารุณ ครั้น แสวงหาได้แล้ว ย่อมไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ ไม่แจกจ่าย ไม่กระทำบุญ ๑ กามโภคี บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ทารุณ ครั้นแสวงหาได้แล้ว ย่อมเลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่กระทำบุญ ๑ กามโภคีบุคคลบางคน ในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมโดยไม่ทารุณ ครั้นแสวงหาได้แล้ว ย่อมเลี้ยงตน
an10.93 Kiṁdiṭṭhikasutta. ทิฏฐิสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี สาวัตถีแต่ยังวัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ออกจากพระมหานคร สาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคลำดับนั้น ท่านได้มีความคิดเช่นนี้ว่า มิใช่เวลาเพื่อ จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อนเพราะพระผู้มีพระภาคยังทรงหลีกเร้นอยู่ มิใช่กาลเพื่อจะเยี่ยมภิกษุ ทั้งหลายผู้ยังใจให้เจริญ เพราะพวกภิกษุผู้ยังใจให้เจริญยังหลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึง เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี จึงเข้า ไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วม ประชุมกัน บันลือเสียงเอ็ดอึง นั่งพูดกันถึงดิรัจฉานกถาหลายอย่าง พอได้เห็นท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงยังกันและกันให้หยุดด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงเบาเสียง อย่าได้เปล่งเสียง อนาถบิณฑิกคฤหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดม กำลังเดินมาอนาถ บิณฑิกคฤหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่ง บรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาว ซึ่งเป็นสาวกของพระสมณโคดม อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี ก็ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ในเสียงเบา ได้รับแนะนำในทางเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา แม้ไฉนเขาทราบบริษัทผู้มีเสียงเบา พึงสำคัญที่จะเข้ามาหา ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนา ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
an11.1 Kimatthiyasutta. ๑. กิมัตถิยสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า ดูกรอานนท์ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ฯ
an11.13 Nandiyasutta. นันทิยสูตร พระนครสาวัตถี ณพระนครสาวัตถี พระนครสาวัตถีนั้น 7 3 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทราบข่าวว่าพระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแลเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะทรงมีพระดำริว่า ไฉนหนอ แม้ เราก็พึงเข้าจำพรรษา ณพระนครสาวัตถี เราจักประกอบการงาน และจักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค ตามกาลอันสมควร ณ พระนครสาวัตถีนั้น ฯ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่า นันทิยะ ก็เข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี ได้ทรงประกอบการงานและได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค ตามกาลอันสมควร ณ พระนครสาวัตถีนั้น ก็สมัยนั้นแลภิกษุเป็นอันมากย่อมกระทำจีวรกรรม เพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อ พระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือนครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวมาว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มี พระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า ฯ
dn9 Poṭṭhapādasutta๙. โปฏฐปาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. เราจะเที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีก็ยังเช้านัก 3 7 Eng  ไทย  Рус Вар. 2
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชกพร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ประมาณ ๓,๐๐๐ อาศัยอยู่ในมัลลิการาม ซึ่ง (เมื่อแรก) มีศาลาหลังเดียวเรียงรายด้วยต้นมะพลับ อันเป็นสถานที่โต้ลัทธิ. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. พระองค์ทรงดำริว่า เราจะเที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราควรจะเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพาชกยังมัลลิการาม ซึ่ง (เมื่อแรก) มีศาลาหลังเดียวเรียงรายด้วยต้นมะพลับ อันเป็นสถานที่โต้ลัทธิ จึงเสด็จไป ณ ที่นั้น.
dn10 Subhasutta๑๐. สุภสูตร เขตพระนครสาวัตถี สุภมาณพโตเทยยบุตรพักอยู่ในพระนครสาวัตถี 2 25 Eng  ไทย  Рус Вар. 2
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.

ก็สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรพักอยู่ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรเรียกมาณพน้อยคนหนึ่งมาว่า มานี่แน่ พ่อมาณพ พ่อจงเข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว เรียนถามพระสมณอานนท์ผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง อยู่สำราญ ตามคำของเราว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียนถามถึงท่านและจงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระอานนท์ จงอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด มาณพน้อยนั้นรับคำสุภมาณพโตเทยยบุตรแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงเรียนว่า สุภมาณพโตเทยยบุตรถามถึงท่าน และเขาสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอท่านพระอานนท์ จงอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด.
dn14 Mahāpadānasutta๑๔ มหาปทานสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 18 Eng  ไทย  Рус Вар. 2
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กุฎี ใกล้ไม้กุ่มน้ำ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
dn16 Mahāparinibbānasutta๑๖ มหาปรินิพพานสูตร เมืองสาวัตถี 1 14 Eng  ไทย  Рус Вар. 2
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองนี้เลย นครใหญ่เหล่าอื่นมีอยู่ คือ เมืองจัมปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาลที่เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต มีอยู่มากในเมืองเหล่านี้ ท่านเหล่านั้น จักกระทำการบูชาพระสรีระของพระตถาคต ฯ
dn17 Mahāsudassanasutta๑๗ มหาสุทัสสนสูตร เมืองสาวัตถี 1 12 Eng  ไทย  Рус
ในสมัยใกล้เสด็จปรินิพพานคราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในระหว่างไม้สาละ ในสาลวัน อันเป็นที่แวะพักของเหล่ามัลละกษัตริย์ เขตกรุงกุสินารา ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคอย่าเสด็จปรินิพพาน ในเมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองนี้เลย นครใหญ่เหล่าอื่นมีอยู่คือ เมืองจัมปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์ มหาศาล คฤหบดีมหาศาล ที่เลื่อมใสพระตถาคตอย่างยิ่ง มีอยู่มากในเมืองเหล่านี้ ท่านเหล่านั้นจักกระทำการบูชาพระสรีระของพระตถาคต ดังนี้ ฯ
dn21 Sakkapañhasutta๒๑ สักกปัญหสูตร ในพระนครสาวัตถี สาวัตถี 2 2 Eng  ไทย  Рус
ท้าวสักกะจอมเทพทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประสงค์จะมาเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคตั้งแต่นานมาแล้ว แต่มัวสาละวนด้วยกิจกรณียะบางอย่างของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงมิสามารถมาเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สลฬาคาร ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ข้าพระองค์ได้ไปยังพระนคร สาวัตถี เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค แต่สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ด้วยสมาธิบางอย่าง นางปริจาริกาของท้าวเวสวัณมหาราชนามว่า ภุชคี เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค นางยืนประนมมือนมัสการอยู่ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะนางภุชคีว่า ดูกรน้องหญิง ขอท่านจงถวายบังคม พระผู้มีพระภาคตามคำขอของเราว่า ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางภุชคีได้ตอบข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มิใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นเสียแล้ว ข้าพระองค์จึงสั่งไว้ว่า ดูกรน้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเมื่อใด พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธิแล้ว เมื่อนั้น ท่านจงกราบบังคมพระผู้มีพระภาคตามคำของเราว่า ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยอำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้องหญิงนั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ตามคำของข้าพระองค์แลหรือ พระผู้มีพระภาคยังทรงระลึกถึงคำของน้องหญิงนั้น ได้อยู่หรือ ฯ
dn27 Aggaññasutta๔. อัคคัญญสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 10 Eng  ไทย  Рус Вар. 2
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เป็นปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล วาเสฏฐสามเณรกับภารทวาชสามเณร เมื่อจำนงความเป็นภิกษุอยู่ อยู่อบรมในสำนักภิกษทั้งหลาย เย็นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จลงจากปราสาทแล้ว ทรงจงกรมอยู่ ณ ที่ แจ้งในร่มเงาปราสาท วาเสฏฐสามเณรได้เห็น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จ ลงจากปราสาทกำลังเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ในร่มเงาปราสาทในเวลาเย็น ครั้นแล้วจึงเรียก ภารทวาชสามเณรมาพูดว่า ดูกรภารทวาชะผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นใน เวลาเย็นเสด็จลงจากปราสาททรงจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้งในร่มเงาปราสาท เรามาไปกันเถิด พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางทีเราจะได้ฟังธรรมีกถา เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์บ้างเป็นแม่นมั่น ส่วนภารทวาชสามเณรรับคำของ วาเสฏฐสามเณรแล้ว ทันใดนั้น วาเสฏฐสามเณรกับภารทวาชสามเณร พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ชวนกันเดินตามเสด็จพระองค์ผู้กำลังเสด็จจงกรมอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณรมาแล้วตรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมีชาติเป็น พราหมณ์ มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ไม่ด่าว่าเธอทั้งสองบ้างดอกหรือ ฯ
dn30 Lakkhaṇasutta๓๐ ลักขณสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้ ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้าง แก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม โดยเสมอ มิต้องใช้ศัสตรา มิต้องใช้อาชญา มิได้มีเสนียด ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต มิได้มีเสาเขื่อน มิได้มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม สำเร็จ แพร่หลาย มีความเกษมสำราญ ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้น เป็นไฉน ซึ่งพระมหาบุรุษประกอบแล้วย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้นเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษในโลกนี้
mn2 Sabbāsavasutta๒. สัพพาสวสังวรสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทัยอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
mn3 Dhammadāyādasutta๓. ธรรมทายาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า พระเจ้าข้า ดังนี้.
mn4 Bhayabheravasutta๔. ภยเภรวสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ชาณุโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
mn5 Anaṅgaṇasutta๕. อนังคณสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 10 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ เหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
mn6 Ākaṅkheyyasutta๖. อากังเขยยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นมีศีลอันสมบูรณ์ มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.
mn7 Vatthasutta๗. วัตถูปมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
mn8 Sallekhasutta๘. สัลเลขสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะนั่งเรียบร้อย แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมจะมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า
mn9 Sammādiṭṭhisutta๙. สัมมาทิฏฐิสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
mn11 Cūḷasīhanādasutta๑. จูฬสีหนาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว.
mn13 Mahādukkhakkhandhasutta๓. มหาทุกขักขันธสูตร เขตพระนครสาวัตถี และจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี ในพระนครสาวัตถี 6 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ในตอนเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ดังนี้แล้ว ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับพวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ได้กล่าวกะพวกภิกษุผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่าเป็นข้อแปลกกัน อะไรเป็นผลที่มุ่งหมาย หรือกระทำให้ต่างกันระหว่างพระสมณโคดมกับพวกข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนี พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไป ด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.

ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เช้าวันนี้ พวกข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี พวกข้าพระองค์ต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด พวกข้าพระองค์ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัย กับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์นั้นเหล่า ได้กล่าวกะพวกข้าพระองค์ ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่าเป็นข้อแปลกกัน อะไรเป็นผลที่มุ่งหมาย หรือกระทำให้ต่างกัน ระหว่างพระสมณโคดมกับพวกข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนี พวกข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.
mn16 Cetokhilasutta๖. เจโตขีลสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
mn17 Vanapatthasutta๗. วนปัตถสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ วิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงวนปัตถปริยาย แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
mn19 Dvedhāvitakkasutta๙. เทวธาวิตักกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 11 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
mn20 Vitakkasaṇṭhānasutta๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 5 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
mn21 Kakacūpamasutta๑. กกจูปมสูตร เขตพระนครสาวัตถี ที่พระนครสาวัตถีนี้แหละ 2 10 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี โดยสมัยนั้น ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเกินเวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้า ท่านพระโมลิยผัคคุนะท่านก็โกรธ ขัดใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีก็พากันโกรธ ขัดใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี ทั้งหลายอย่างนี้ ครั้งนั้น ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเกินเวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนี้ ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนพวกภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่านก็โกรธ ขัดใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้า พวกภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นก็โกรธ ขัดใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ที่พระนครสาวัตถีนี้แหละ มีแม่เรือนคนหนึ่งชื่อว่าเวเทหิกา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เกียรติศัพท์อันงามของแม่เรือนชื่อว่าเวเทหิกาขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม่เรือนชื่อว่าเวเทหิกา เป็นคนสงบเสงี่ยมอ่อนโยนเรียบร้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แม่เรือนเวเทหิกามีทาสีชื่อกาลีเป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน จัดการงานดี ต่อมานางกาลีได้คิดอย่างนี้ว่า เกียรติศัพท์อันงามของนายหญิงของเราขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม่เรือนชื่อว่าเวเทหิกา เป็นคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อย ดังนี้ นายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ หรือไม่มีความโกรธอยู่เลย หรือว่านายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลยจำเราจะต้องทดลองนายหญิงดู วันรุ่งขึ้นนางกาลีทาสีก็แสร้งลุกขึ้นสาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายแม่เรือนเวเทหิกา ก็ได้ตวาดนางกาลีทาสีขึ้นว่า เฮ้ย อีคนใช้กาลี นางกาลีจึงขานรับว่า อะไรเจ้าขา.
mn22 Alagaddūpamasutta๒. อลคัททูปมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 7 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่ อริฏฐภิกษุ ผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดย ประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง.
mn23 Vammikasutta๓. วัมมิกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 13 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน. ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงามยิ่ง เมื่อราตรีล่วงปฐมยามแล้ว ยังป่าอันธวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะถึงที่อยู่ ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะท่านพระกุมาร กัสสปะดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ จอมปลวกนี้พ่นควันในกลางคืน ลุกโพลงในกลางวัน พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงเอาศาตราไปขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นลิ่มสลัก จึงเรียนว่า ลิ่มสลักขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกลิ่มสลักขึ้นเอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นอึ่ง จึงเรียนว่า อึ่งขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกอึ่งขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลง ได้เห็นทาง ๒ แพร่ง จึงเรียนว่า ทาง ๒ แพร่ง ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงก่นทาง ๒ แพร่งเสีย เอาศาตราขุด ดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นหม้อกรองน้ำด่าง จึงเรียนว่า หม้อกรองน้ำด่าง ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้น เอาศาตราขุดลง. สุเมธะ เอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นเต่า จึงเรียนว่าเต่าขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเต่าขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นเขียงหั่นเนื้อ จึง เรียนว่า เขียงหั่นเนื้อ ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเขียงหั่นเนื้อขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงเรียนว่าชิ้นเนื้อ ขอรับ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกชิ้นเนื้อขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไปได้เห็นนาค จึงเรียนว่า นาคขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า นาคจงอยู่ เจ้าอย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทำความนอบน้อมต่อนาค. ดูกรภิกษุ ท่านพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามปัญหา ๑๕ ข้อ เหล่านี้แล ท่านพึงทรงจำปัญหาเหล่านั้น ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ ดูกรภิกษุ ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ นอกจากพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต หรือเพราะฟังจากสำนักนี้. เทวดานั้น ครั้นกล่าวคำนี้แล้วได้หายไปในที่นั้นแล.
mn24 Rathavinītasutta๔. รถวินีตสูตร ถึงพระนครสาวัตถี เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงพระนครสาวัตถี ถือบาตรและจีวรจาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังพระนครสาวัตถี เขตพระนครสาวัตถีแล้ว กำลังประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี และในระหว่างพระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถี พระองค์เสด็จมาจากพระนครสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง เมื่อฉันกำลังอยู่ในนครสาวัตถีนั้น ก็ในระหว่างนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องใช้รถถึง ฉันจึงออกจากนครสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่งที่ประตูวังไปถึงรถผลัดที่สอง 12 1 Eng  ไทย  Рус
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ตามสำราญพระอัธยาศัยเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสารวัตถี ท่านจึงเก็บงำ เสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังพระนครสาวัตถี ถึงพระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถีแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงทรงชี้แจงท่านพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา.

ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือน พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และในระหว่างพระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่ประตูพระราชวัง ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วย รถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่หก ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ถ้าพวกมิตรอำมาตย์ หรือพระญาติสาโลหิต จะพึงทูลถามพระองค์ซึ่งเสด็จถึงประตูพระราชวังว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาจากพระนครสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดนี้ผลัดเดียวหรือ ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง?

สา. ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบ ถูกต้อง คือ เมื่อฉันกำลังอยู่ในนครสาวัตถีนั้น มีกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ก็ในระหว่างนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด เมื่อเช่นนั้น ฉันจึงออกจากนครสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่งที่ประตูวังไปถึงรถผลัดที่สอง ด้วยรถผลัดที่หนึ่ง ปล่อยรถผลัดที่หนึ่ง ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สาม ด้วยรถผลัดที่สอง ปล่อยรถผลัดที่สอง ขึ้นรถผลัดที่สาม ไปถึงรถผลัดที่สี่ ด้วยรถผลัดที่สาม ปล่อยรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัดที่ห้า ด้วยรถผลัดที่สี่ ปล่อยรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า ไปถึงรถผลัดที่หก ด้วยรถผลัดที่ห้า ปล่อยรถผลัดที่ห้า ขึ้นรถผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ด ด้วยรถผลัดที่หก ปล่อยรถผลัดที่หก ขึ้นรถผลัดที่เจ็ด ไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูวังด้วยรถผลัดที่เจ็ด ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง.
mn25 Nivāpasutta๕. นิวาปสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 8 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระองค์ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลายภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรานเนื้อมิได้ปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อ ด้วยคิดว่า เมื่อฝูงเนื้อ กินหญ้าที่เราปลูกไว้นี้ จะมีอายุยั่งยืน มีผิวพรรณ มีชีวิตอยู่ยืนนาน โดยที่แท้ พรานเนื้อปลูกหญ้า ไว้สำหรับฝูงเนื้อ ด้วยมีความประสงค์ว่า ฝูงเนื้อเข้ามาสู่ป่าหญ้าที่เราปลูกไว้นี้แล้ว จักลืมตัวกินหญ้า เมื่อเข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักมัวเมา เมื่อมัวเมาก็จักประมาท เมื่อประมาทก็จักถูกเราทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านี้.
mn26 Pāsarāsisutta๖. ปาสราสิสูตร เขตพระนครสาวัตถี เสด็จเข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่กรุงสาวัตถี 3 6 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบงถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่พัก กล่าวดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พวกข้าพเจ้าได้สดับธรรมีกถา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเป็น เวลานานมาแล้ว ขอให้พวกข้าพเจ้าได้สดับธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเถิด.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสชวนว่า ดูกรอานนท์ เราจะไปพักผ่อนกลางวันที่ปราสาทแห่งมิคารมารดาที่บุพพาราม พระอานนท์ได้ทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคกับท่านพระอานนท์ ได้เสด็จไปพักผ่อนกลางวันที่ปราสาทแห่งมิคารมารดาที่บุพพาราม ครั้นเวลาเย็นเสด็จออกจากที่พักผ่อนแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสชวนว่า ดูกรอานนท์ เรามาไปสรงน้ำที่ท่าบุพพโกฏฐกะ พระอานนท์ได้ทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคกับท่าน พระอานนท์ได้เสด็จไปสรงน้ำที่ท่าบุพพโกฏฐกะ สรงเสร็จแล้ว จึงกลับขึ้นมาทรงจีวรผืนเดียว ประทับยืนผึ่งพระองค์อยู่ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ อยู่ไม่ไกล เป็นที่รื่นรมย์ น่าเลื่อมใส ขอจงเสด็จไปที่นั้นเพื่อทรงอนุเคราะห์เถิด พระผู้มีพระภาค ทรงรับโดยดุษณีภาพ แล้วจึงเสด็จไปที่อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ สมัยนั้น ภิกษุหลายรูป นั่งสนทนาธรรมีกถากันอยู่ที่นั้น พระผู้มีพระภาคจึงประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอก คอยให้ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันจบ.
mn27 Cūḷahatthipadopamasutta๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร เขตพระนครสาวัตถี ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถีด้วย 2 6 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถีด้วย รถใหญ่เทียมด้วยลา มีเครื่องประดับขาวทุกอย่าง ในเวลาเที่ยงวัน ชาณุโสณีพราหมณ์ได้เห็นปีโลติกปริพาชกเดินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวกะปีโลติกปริพาชกดังนี้ว่า เออแน่ะ ท่านวัจฉายนะผู้เจริญมาจากไหนแต่เที่ยงวันเทียว? ปีโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาในที่นี้จากสำนักของพระสมณโคดมนั่นแล ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่านผู้เจริญ บัณฑิตย่อมสำคัญความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมเป็นอย่างไร? ปีโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ก็ไฉนข้าพเจ้าจักรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ แม้ผู้ที่จะพึงรู้ ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ต้องเป็นเช่นพระสมณโคดมแน่แท้ทีเดียว ชาณุโสณีพราหมณ์กล่าวว่า ท่านวัจฉายนะผู้เจริญ สรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง ปิโลติกปริพาชกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าจักไม่สรรเสริญพระสมณโคดมอย่างไรเล่า เพราะพระ สมณโคดมผู้เจริญนั้น ใครๆ ก็สรรเสริญเยินยอแล้วทั้งนั้นเทียว ท่านเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่านวัจฉายนะผู้เจริญเห็นอำนาจประโยชน์อะไร เล่า จึงเป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระสมณโคดมถึงเพียงนี้?
mn28 Mahāhatthipadopamasutta๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 6 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอานาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว.
mn30 Cūḷasāropamasutta๑๐. จูฬสาโรปมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 13 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม สมณพราหมณ์พวกนี้เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร พวกนั้นทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตนๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง บางพวกไม่รู้ยิ่ง.
mn33 Mahāgopālakasutta๓. มหาโคปาลสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
mn37 Cūḷataṇhāsaṅkhayasutta๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา (มหาอุบาสิกาวิสาขา ผู้เป็นดังว่ามารดาแห่งมิคารเศรษฐี) ในวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย?
mn38 Mahātaṇhāsaṅkhayasutta๘. มหาตัณหาสังขยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวแล่นไปไม่ใช่อื่น.
mn42 Verañjakasutta๒. เวรัญชกสูตร เขตพระนครสาวัตถี พักอยู่ในเมืองสาวัตถีด้วยกิจบางอย่าง 3 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวเมืองเวรัญชา พักอยู่ในเมืองสาวัตถีด้วยกิจบางอย่าง ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นศากยสกุลทรงผนวช แล้ว ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
mn43 Mahāvedallasutta๓. มหาเวทัลลสูตร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิกะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
mn45 Cūḷadhammasamādānasutta๕. จูฬาธรรมสมาทานสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
mn46 Mahādhammasamādānasutta๖. มหาธรรมสมาทานสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 5 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
mn47 Vīmaṁsakasutta๗. วีมังสกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
mn49 Brahmanimantanikasutta๙. พรหมนิมันตนิกสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 5 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า
mn59 Bahuvedanīyasutta๙. พหุเวทนิยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เชตวนาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น นายช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ เข้าไปหาท่านพระอุทายี นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
mn62 Mahārāhulovādasutta๒. มหาราหุโลวาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถีเวลาเช้า 2 5 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคครองอันตราวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถีเวลาเช้า. แม้ท่านพระราหุลก็ครอง อันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต เป็นอนาคต และเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียด ก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.
mn63 Cūḷamālukyasutta๓. จูฬมาลุงโกยวาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระมาลุงกยบุตรไปในที่ลับ เร้นอยู่ เกิดความดำริ แห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ทรงงด ทรงห้ามทิฏฐิเหล่านี้ คือ โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ข้อที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรานั้น เราไม่ชอบใจ ไม่ควรแก่เรา เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามเนื้อความนั้น ถ้าพระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่เรา ฯลฯ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักไม่ทรงพยากรณ์ ฯลฯ เราก็จักลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์.
mn64 Mahāmālukyasutta๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 6 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.
mn65 Bhaddālisutta๕. ภัททาลิสูตร เขตพระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ภิกษุมากด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี ภิกษุณีมากด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี อุบาสกมากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี อุบาสิกามากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่าสมณพราหมณ์ต่างลัทธิมากด้วยกันเข้าอยู่กาลฝนในพระนครสาวัตถี 7 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลังและอยู่สำราญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวเถิด ด้วยว่าเมื่อเธอทั้งหลายฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จักรู้สึกคุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ.

ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูกรภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคจักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุมากด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว. ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุณีมากด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุณีเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา ดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว. ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสกมากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสกเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์สิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว. ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสิกามากด้วยกันอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสิกาเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาใน ศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว. แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่าสมณพราหมณ์ต่างลัทธิมากด้วยกันเข้าอยู่กาลฝนในพระนครสาวัตถี แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้น จักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิสาวกของพระสมณโคดมเป็นพระเถระองค์หนึ่ง ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.
mn72 Aggivacchasuttaอัคคิวัจฉโคตตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 6 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ปริพาชกวัจฉโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
mn78 Samaṇamuṇḍikasutta๘. สมณมุณฑิกสูตร เขตพระนครสาวัตถี. ออกจากเมืองสาวัตถีเพื่อจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้น ปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ เป็นบุตรนางสมณมุณฑิกา พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ อาศัยอยู่ ณ อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ในตำบลเอกสาลาชื่อว่าติณฑุกาจีระ (แวดล้อมด้วยแถวต้นมะพลับ) เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิของนักบวช. ครั้งนั้น ช่างไม้ผู้หนึ่งชื่อปัญจกังคะ ออกจากเมืองสาวัตถีเพื่อจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อเวลาเที่ยงแล้ว. ครั้งนั้น เขามีความดำริว่า เวลานี้มิใช่กาลที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ก่อนพระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ ไม่ใช่สมัยที่จะไปหาภิกษุทั้งหลายผู้เจริญทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้เจริญทางใจก็หลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชกสมณ มุณฑิกาบุตร ที่อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตำบลเอกสาลาชื่อว่าติณฑุกาจีระ เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิของนักบวชเถิด. ลำดับนั้น ช่างไม้ปัญจกังคะจึงเข้าไปยังอารามของพระนาง มัลลิการาชเทวี ณ ตำบลเอกสาลาชื่อว่าติณฑุกาจีระ.

อุคคาหมานปริพาชกสมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ปัญจกังคะซึ่งกำลังมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบว่า ขอท่านทั้งหลายจงเบาเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงนัก ช่างไม้ปัญจกังคะผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังมา บรรดาสาวกของพระสมณโคดมที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาวประมาณเท่าใด อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี นายช่างปัญจกังคะนี้เป็นผู้หนึ่งของบรรดาสาวกเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา ได้รับแนะนำในการเสียงเบา กล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบา บางทีช่างไม้ปัญจกังคะทราบว่าบริษัทมีเสียงเบา จะพึงสำคัญที่จะเข้ามาหาก็ได้. ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งอยู่ ลำดับนั้น นายช่างปัญจกังคะได้เข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก ผู้สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่ใกล้ ได้ปราศรัยกับอุคคาหมานปริพาชกสมณมุณฑิกาบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.
mn80 Vekhanasasutta๑๐. เวขณสสูตร เขตเมืองสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวขณสปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
mn82 Raṭṭhapālasutta๒. รัฐปาลสูตร เสด็จจาริกไปทางนครสาวัตถี ได้เสด็จถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ใกล้พระนครสาวัตถี 3 0 Eng  ไทย  Рус
ครั้งนั้น รัฐปาลกุลบุตรลุกขึ้น บำรุงกายให้เกิดกำลังแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารดาบิดาอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด รัฐปาลกุลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค. ครั้นเมื่อท่านรัฐปาละอุปสมบทแล้วไม่นาน พอได้กึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถุลลโกฏฐิตนิคมตามควรแล้ว เสด็จจาริกไปทางนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ได้เสด็จถึงพระนครสาวัตถีแล้ว.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านรัฐปาละหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านพระรัฐปาละได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
mn86 Aṅgulimālasutta๖. อังคุลิมาลสูตร เขตพระนครสาวัตถี. เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จถึงพระนครสาวัตถีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี. กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี ท่านพระองคุลิมาลเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี 12 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล ในแว่นแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อว่าองคุลีมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจมั่นในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย. องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง. เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้.

ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นแล้วในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จดำเนินไปตามทางที่องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินไปตามทางที่องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาลเป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้นกระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษผู้นั้นก็ยังถึงความพินาศ เพราะมือขององคุลิมาลโจร. เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงพระนครสาวัตถีแล้ว.

ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้น หมู่มหาชนประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงอื้ออึงว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้นกระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ขอพระองค์จงกำจัดมันเสียเถิด.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยกระบวนม้าประมาณ ๕๐๐ เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไปด้วยพระยานจนสุดภูมิประเทศที่ยานจะไปได้ เสด็จลงจากพระยานแล้วทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี. กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้.

ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. ก็เวลานั้นก้อนดิน ... ท่อนไม้ ... ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้โดยทางอื่นก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหล บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุจะให้เธอพึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.
mn87 Piyajātikasutta๗. ปิยชาติกสูตร เขตพระนครสาวัตถี. ในพระนครสาวัตถีนี้แล 6 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรน้อยคนเดียวของคฤหบดีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่รักที่ชอบใจได้กระทำกาละลง. เพราะการกระทำกาละของบุตรน้อยคนเดียวนั้น การงานย่อมไม่แจ่มแจ้ง อาหารย่อมไม่ปรากฏ. คฤหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้าแล้วๆ เล่าๆ คร่ำครวญถึงบุตรว่า บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน. ครั้งนั้นแล คฤหบดีนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล มารดาของหญิงคนหนึ่งได้ทำกาละ. เพราะการทำกาละของมารดานั้น หญิงคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของฉันบ้างไหม.? ดูกรพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล บิดาของหญิงคนหนึ่งได้ทำกาละ ... พี่น้องชาย พี่น้องหญิง บุตร ธิดา บิดาของหญิงคนหนึ่งได้ทำกาละ. เพราะการทำกาละของบิดาเป็นต้นนั้น หญิงคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายได้พบบิดา เป็นต้นของฉันบ้างไหม? ดูกรพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้แล.

ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล มารดาของชายคนหนึ่งได้ทำกาละลง. เพราะการทำกาละของมารดานั้น ชายคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม. ดูกรพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้. ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล บิดาของ ชายคนหนึ่งได้ทำกาละ ... พี่น้องชาย พี่น้องหญิง บุตร ธิดา บิดาของชายคนหนึ่งทำกาละ. เพราะการทำกาละของบิดาเป็นต้นนั้น ชายคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของข้าพเจ้าบ้างไหม ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของข้าพเจ้าบ้างไหม? ดูกรพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงทราบ โดยปริยายแม้นี้.

ดูกรพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล หญิงคนหนึ่งได้ไปยังสกุลของญาติ. พวกญาติของหญิงนั้น ใคร่จะพรากสามีของหญิงนั้น แล้วยกหญิงนั้นให้แก่ชายอื่น แต่หญิงนั้นไม่ปรารถนาชายคนนั้น. ครั้งนั้นแล หญิงนั้นได้บอกกะสามีว่า ข้าแต่ลูกเจ้า พวกญาติของดิฉันใคร่จะพรากท่านเสีย แล้วยกดิฉันให้แก่ชายอื่น แต่ดิฉันไม่ปรารถนาชายคนนั้น. ครั้งนั้นแล บุรุษผู้เป็นสามีได้ตัดหญิงผู้เป็นภรรยานั้นออกเป็นสองท่อน แล้วจึงผ่าตนด้วยความรักว่า เราทั้งสองจักตายไปด้วยกัน. ดูกรพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงโปรดทราบโดยปริยายแม้นี้.
mn88 Bāhitikasutta๘. พาหิติยสูตร เขตพระนครสาวัตถี. เข้าไปยังพระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เสด็จออกจากพระนครสาวัตถีในเวลากลางวัน 4 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังพระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังบุพพารามณปราสาทของมิคารมารดาเพื่อพักกลางวัน.

ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นประทับคอช้างชื่อว่า บุณฑริก เสด็จออกจากพระนครสาวัตถีในเวลากลางวัน. ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์กำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามมหาอำมาตย์ชื่อสิริวัฑฒะว่า ดูกรเพื่อนสิริวัฑฒะ นั่นท่านพระอานนท์ หรือมิใช่? สิริวัฑฒมหาอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชา นั่นท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาตรัสว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไป จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วจงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยพระเศียร และจงเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด. บุรุษนั้นรับพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทท่านพระอานนท์แล้วได้ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยพระเศียร และรับสั่งมาว่า ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด ดังนี้. ท่านพระอานนท์ได้รับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
mn93 Assalāyanasutta๓. อัสสลายนสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี. พักอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถีด้วยกรณียกิจบางอย่าง. นครสาวัตถียังเป็นเด็กโกนศีรษะมีอายุ อัสสลายนมาณพผู้นี้อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถียังเป็นเด็ก 4 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้มาจากแคว้นต่างๆ ประมาณ ๕๐๐ คน พักอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถีด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ครั้งนั้นพราหมณ์เหล่านั้นได้คิดกันว่า พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ทั่วไปแก่วรรณะทั้ง ๔ ใครหนอพอจะสามารถเจรจา โต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้. ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อว่าอัสสลายนะอาศัยอยู่ในพระ นครสาวัตถียังเป็นเด็กโกนศีรษะมีอายุ ๑๖ ปีนับแต่เกิดมา เป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิมัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ. ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้นคิดกันว่า อัสสลายนมาณพผู้นี้อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถียังเป็นเด็ก ฯลฯ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายลักษณะ เขาคงสามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้.
mn96 Esukārīsutta๖. เอสุการีสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล เอสุการีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
mn99 Subhasutta๙. สุภสูตร เขตพระนครสาวัตถี. ในพระนครสาวัตถี พระนครสาวัตถี เขตพระนครสาวัตถี ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี 5 12 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคฤหบดีผู้หนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร ได้กล่าวกะคฤหบดีที่ตนอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของเขานั้นว่า ท่านคฤหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระนครสาวัตถี ไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายเลย วันนี้เราจะพึงเข้าไปนั่งใกล้สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไหนหนอ?

คฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้นเถิด.

สมัยนั้น ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี โดยรถอันเทียมด้วยม้าขาวทั้งหมด แต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพโตเทยยบุตรกำลังมาแต่ไกล แล้วได้ถามสุภมาณพโตเทยยบุตรว่า ท่านภารทวาชะไปไหนมาแต่วัน. สุภมาณพโตเทยยบุตรตอบว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจากสำนักพระสมณโคดมมาที่นี่.
mn102 Pañcattayasutta๒. ปัญจัตตยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 5 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
mn107 Gaṇakamoggallānasutta๗. คณกโมคคัลลานสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทาย ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่างของบันไดชั้นล่าง แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องใช้อาวุธ แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือในเรื่องนับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ
mn109 Mahāpuṇṇamasutta๙. มหาปุณณมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนี้เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่ประทับของพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอทูลถามปัญหาสักเล็กน้อยกะพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจะประทานโอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญหาแก่ข้าพระองค์ ฯ
mn110 Cūḷapuṇṇamasutta๙. มหาปุณณมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้งในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ
mn111 Anupadasutta๑. อนุปทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
mn112 Chabbisodhanasutta๒. ฉวิโสธนสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
mn113 Sappurisasutta๓. สัปปุริสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัปปุริสธรรมและอสัปปุริสธรรมแก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
mn114 Sevitabbāsevitabbasutta๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพและที่ไม่ควรเสพแก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมบรรยายนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
mn115 Bahudhātukasutta๕. พหุธาตุกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
mn117 Mahācattārīsakasutta๗. มหาจัตตารีสกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
mn118 Ānāpānassatisutta๘. อานาปานสติสูตร เขตพระนครสาวัตถี เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค 4 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้างบางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ ให้แจ้งโดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาท พร่ำสอนภิกษุนวกะเพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่าง กว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
mn119 Kāyagatāsatisutta๙. กายคตาสติสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 20 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลาเกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
mn120 Saṅkhārupapattisutta๑๐. สังขารูปปัตติสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
mn121 Cūḷasuññatasutta๑. จูฬสุญญตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับ ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ
mn123 Acchariyaabbhutasutta๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลยข้อที่พระตถาคตมีอิทธานุภาพมาก ซึ่งเป็นเหตุให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าในอดีตผู้ปรินิพพานแล้ว ทรงตัดปปัญจธรรมแล้ว ทรงตัดตอวัฏฏะแล้ว ทรงครอบงำวัฏฏะแล้ว ทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงแล้ว ว่าพระผู้มีพระภาคนั้นๆ มีพระชาติอย่างนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้บ้าง มีโครตอย่างนี้บ้าง มีศีลอย่างนี้บ้าง มีธรรมอย่างนี้บ้างมีปัญญาอย่างนี้บ้าง มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง มีวิมุตติอย่างนี้บ้าง เมื่อภิกษุเหล่านั้นสนทนากันอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งน่าอัศจรรย์ และประกอบด้วยธรรมน่าอัศจรรย์ พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งไม่น่าเป็นไปได้และประกอบด้วยธรรมไม่น่าเป็นไปได้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้ ฯ
mn127 Anuruddhasutta๗. อนุรุทธสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 5 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาสั่งว่า มาเถิด พ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธยังที่อยู่ แล้วกราบเท้าท่านพระอนุรุทธด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ช่างไม้ปัญจกังคะขอกราบเท้าท่านพระอนุรุทธด้วยเศียรเกล้า และจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธได้โปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ รับนิมนต์ฉันอาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอท่านพระอนุรุทธได้โปรดมาแต่เช้าๆ เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจหน้าที่ด้วยราชการมากบุรุษรับคำแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธยังที่อยู่ ครั้นอภิวาทท่านพระอนุรุทธแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกราบเรียนท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ช่างไม้ปัญจกังคะขอกราบเท้าท่านพระอนุรุทธด้วยเศียรเกล้าและบอกมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธได้โปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ รับนิมนต์ฉันอาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอท่านพระอนุรุทธได้โปรดไปแต่เช้าๆ เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจหน้าที่ด้วยราชการมาก ท่านพระอนุรุทธรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ฯ
mn129 Bālapaṇḍitasutta๙. พาลบัณฑิตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 13 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
mn130 Devadūtasutta๑๐. เทวทูตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
mn131 Bhaddekarattasutta๑. ภัทเทกรัตตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
mn132 Ānandabhaddekarattasutta๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์สนทนากะภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลาชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
mn134 Lomasakaṅgiyabhaddekarattasutta๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร เขตพระนครสาวัตถี ถือบาตรจีวรมุ่งจาริกไปยังพระนครสาวัตถี เมื่อจาริกไปโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถี 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ครั้งนั้นแลล่วงปฐมยามไปแล้ว จันทนเทวบุตรมีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหารนิโครธารามให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่านพระโลมสกังคิยะยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

ครั้งนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ พอล่วงราตรีนั้นไปแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรมุ่งจาริกไปยังพระนครสาวัตถี เมื่อจาริกไปโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งข้าพระองค์อยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ขณะนั้น ล่วงปฐมยามไปแล้วเทวบุตรตนหนึ่ง มีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหารนิโครธารามให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวบุตรนั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะเทวบุตรนั้นดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ เทวบุตรนั้นกล่าวว่า ดูกรภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้และท่านทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม ข้าพระองค์ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ เทวบุตรนั้นกล่าวว่า ดูกรภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำได้ ข้าพระองค์ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านทรงจำได้อย่างไรเล่า เทวบุตรนั้นกล่าวว่า ดูกรภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ควงไม้ปาริจฉัตตกะ ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า
mn135 Cūḷakammavibhaṅgasutta๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพโตเทยยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
mn137 Saḷāyatanavibhaṅgasutta๗. สฬายตนวิภังคสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
mn138 Uddesavibhaṅgasutta๘. อุทเทสวิภังคสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทสวิภังค์แก่เธอทั้งหลายพวกเธอจงฟังอุเทสวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
mn139 Araṇavibhaṅgasutta๙. อรณวิภังคสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลายพวกเธอจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
mn140 Dhātuvibhaṅgasutta๑๐. ธาตุวิภังคสูตร มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท 1 3 Eng  ไทย  Рус
ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ
mn143 Anāthapiṇḍikovādasutta๒. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วยทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิดพ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระบาท พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้ว จงกราบเท้าท่านพระสารีบุตรตามคำของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิก คฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และ เรียนอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความ อนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
mn145 Puṇṇovādasutta๓. ปุณโณวาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ด้วยพระโอวาทย่อๆ พอที่ข้าพระองค์ได้สดับธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้ว จะเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออก ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ฯ
mn146 Nandakovādasutta๔. นันทโกวาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี 3 16 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระมหาปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงโอวาทสั่งสอนพวกภิกษุณี จงรับสั่งแสดงธรรมแก่พวกภิกษุณีเถิด ฯ

ต่อนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะท่านพระนันทกะว่า ดูกรนันทกะ เธอจงโอวาทสั่งสอนพวกภิกษุณี ดูกรพราหมณ์ เธอจงกล่าวแสดงธรรมกถาแก่พวกภิกษุณีเถิด ท่านพระนันทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วนุ่งสบงทรงบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปยังวิหารราชการามแต่รูปเดียว ภิกษุณีเหล่านั้นได้เห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล พากันแต่งตั้งอาสนะ และตั้งน้ำสำหรับล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว จึงล้างเท้า แม้ภิกษุณีเหล่านั้นก็ถวายอภิวาทท่านพระนันทกะแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทกะ พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว ถึงเวลาเช้า จึงนุ่งสบง ทรงบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปยังวิหารราชการามแต่รูปเดียว ภิกษุณีเหล่านั้นได้เห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงพากันแต่งตั้งอาสนะและตั้งน้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้วจึงล้างเท้า แม้ภิกษุณี เหล่านั้นก็อภิวาทท่านพระนันทกะแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
mn147 Cūḷarāhulovādasutta๕. จูฬราหุโลวาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี ทรงบาตรจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า 2 0 Eng  ไทย  Рус สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับอยู่ในที่รโหฐาน ได้เกิดพระปริวิตกทางพระหฤทัยขึ้นอย่างนี้ว่าราหุลมีธรรมที่บ่มวิมุตติแก่กล้าแล้วแล ถ้ากระไร เราพึงแนะนำราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นเถิด ฯ

ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองสบง ทรงบาตรจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล เธอจงถือผ้ารองนั่ง เราจักเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวันกัน ท่านพระราหุลทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงถือผ้ารองนั่งติดตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ก็สมัยนั้นแล เทวดาหลายพันตนได้ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยทราบว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุล ในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าถึงป่าอันธวันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่ท่านพระราหุลแต่งตั้ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระราหุลก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
mn148 Chachakkasutta๖. ฉฉักกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
mn149 Mahāsaḷāyatanikasutta๗. สฬายตนวิภังคสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ
sn1.1 Oghataraṇasutta Devatāsaṁyuttaṁโอฆตรณสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้วเทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn1.2 Nimokkhasutta Devatāsaṁyuttaṁนิโมกขสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้วเทวดาองค์หนึ่งมีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn1.11 Nandanasutta Devatāsaṁyuttaṁนันทนสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn1.31 Sabbhisutta Devatāsaṁyuttaṁสัพภิสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา(ผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ)มากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันให้สว่าง ทั่วกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วจึงยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn1.32 Maccharisutta Devatāsaṁyuttaṁมัจฉริยสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิตเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn1.34 Nasantisutta Devatāsaṁyuttaṁนสันติสูตรที่ ๔ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn1.35 Ujjhānasaññisutta Devatāsaṁyuttaṁอุชฌานสัญญีสูตรที่ ๕ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษมากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วจึงได้ลอยอยู่ในอากาศ ฯ
sn1.36 Saddhāsutta Devatāsaṁyuttaṁสัทธาสูตรที่ ๖ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดา สตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn1.41 Ādittasutta Devatāsaṁyuttaṁอาทิตตสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอานาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาองค์หนึ่งซึ่งมีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn2.1 Paṭhamakassapasutta Devaputtasaṁyuttaṁปฐมกัสสปสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn2.2 Dutiyakassapasutta Devaputtasaṁyuttaṁทุติยกัสสปสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
… อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … กัสสปเทวบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
sn2.3 Māghasutta Devaputtasaṁyuttaṁมาฆสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
… อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มาฆเทวบุตรเมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn2.5 Dāmalisutta Devaputtasaṁyuttaṁทามลิสูตรที่ ๕ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
… อารามแห่งอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ทามลิเทวบุตรเมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn2.9 Candimasutta Devaputtasaṁyuttaṁจันทิมสูตรที่ ๙ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับ … เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้น จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
sn2.11 Candimasasutta Devaputtasaṁyuttaṁจันทิมสสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น จันทิมสเทวบุตรเมื่อปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn2.21 Sivasutta Devaputtasaṁyuttaṁสิวสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อปฐมยามล่วงแล้ว สิวเทวบุตรมีวรรณะงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn2.26 Rohitassasutta Devaputtasaṁyuttaṁโรหิตัสสสูตรที่ ๖ เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn2.29 Susimasutta Devaputtasaṁyuttaṁสุสิมสูตรที่ ๙ สาวัตถีนิทาน 1 4 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn3.1 Daharasutta Kosalasaṁyuttaṁทหรสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงได้ทรงปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กันไปแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn3.2 Purisasutta Kosalasaṁyuttaṁปุริสสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn3.3 Jarāmaraṇasutta Kosalasaṁyuttaṁราชสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn3.4 Piyasutta Kosalasaṁyuttaṁปิยสูตรที่ ๔ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn3.6 Appakasutta Kosalasaṁyuttaṁอัปปกสูตรที่ ๖ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn3.8 Mallikāsutta Kosalasaṁyuttaṁมัลลิกาสูตรที่ ๘ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn3.9 Yaññasutta Kosalasaṁyuttaṁยัญญสูตรที่ ๙ เขตพระนครสาวัตถี ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต 2 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล พวกภิกษุหลายรูปครองผ้าเรียบร้อยแล้วในเวลาเช้า ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn3.10 Bandhanasutta Kosalasaṁyuttaṁพันธนสูตรที่ ๑๐ ภิกษุหลายรูปครองผ้าเรียบร้อยแล้วในเวลาเช้าถือบาตและจีวรเข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต 1 0 Eng  ไทย  Рус
ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปครองผ้าเรียบร้อยแล้วในเวลาเช้าถือบาตและจีวรเข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตตาหารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn3.11 Sattajaṭilasutta Kosalasaṁyuttaṁชฏิลสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา เขตพระนครสาวัตถี
sn3.12 Pañcarājasutta Kosalasaṁyuttaṁปัญจราชสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับ … เขตพระนครสาวัตถี
sn3.13 Doṇapākasutta Kosalasaṁyuttaṁโทณปากสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ … เขตพระนครสาวัตถี
sn3.14 Paṭhamasaṅgāmasutta Kosalasaṁyuttaṁปฐมสังคามวัตถุสูตรที่ ๔ เขตพระนครสาวัตถี ก็เสด็จล่าทัพกลับพระนครสาวัตถีราชธานีของพระองค์ ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ปราชัยก็เสด็จล่าทัพกลับพระนครสาวัตถีราชธานีของพระองค์ 5 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ … เขตพระนครสาวัตถี

ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ปราชัย ก็เสด็จล่าทัพกลับพระนครสาวัตถีราชธานีของพระองค์ ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้าภิกษุเป็นจำนวนมากนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว ในเวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

ภิกษุเหล่านั้นนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระโอกาส พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตรทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนายกมารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรูเวเทหิบุตรทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราถึงแคว้นกาสี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร กับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทำสงครามกันแล้ว แต่ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตสัตรู เวเทหิบุตร ทรงชำนะพระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ปราชัยก็เสด็จล่าทัพกลับพระนครสาวัตถีราชธานีของพระองค์ ฯ
sn3.15 Dutiyasaṅgāmasutta Kosalasaṁyuttaṁทุติยสังคามวัตถุสูตรที่ ๕ และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 2 0 Eng  ไทย  Рус
ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นจำนวนมากนุ่งห่มแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว ในเวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn3.16 Mallikāsutta Kosalasaṁyuttaṁธีตุสูตรที่ ๖ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn3.17 Appamādasutta Kosalasaṁyuttaṁปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับ … เขตพระนครสาวัตถี … พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้และประโยชน์ภพหน้ามีอยู่หรือ พระเจ้าข้า ฯ
sn3.18 Kalyāṇamittasutta Kosalasaṁyuttaṁทุติยอัปปมาทสูตรที่ ๘ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับ … เขตพระนครสาวัตถี … พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระโอกาสความปริวิตกแห่งใจบังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ผู้เข้าที่ลับพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วนั่นแหละ สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว ฯ
sn3.19 Paṭhamaaputtakasutta Kosalasaṁyuttaṁปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙ สาวัตถีนิทาน คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้ 2 2 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ

พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว หม่อมฉันให้ขนทรัพย์สมบัติอันไม่มีบุตรรับมรดกนั้นมาไว้ภายในพระราชวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๘,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ก็แต่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลายข้าวกับน้ำส้มพอูม ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัดเป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่าๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้ ฯ
sn3.20 Dutiyaaputtakasutta Kosalasaṁyuttaṁทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้ ได้ครองความเป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้แหละถึง 2 0 Eng  ไทย  Рус
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว หม่อมฉันให้ขนทรัพย์สมบัติอันไม่มีบุตรรับมรดกนั้น มาไว้ในพระราชวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือ บริโภคปลายข้าวกับน้ำส้มพอูม ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัดเป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่าๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรมหาบพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นได้สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธะนามว่า ตครสิขี ว่าท่านทั้งหลายจงถวายบิณฑะแก่สมณะ แล้วลุกจากอาสนะเดินหลีกไป แต่ครั้นถวายแล้วภายหลังได้มีวิปฏิสารว่า บิณฑบาตนี้ ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยังดีกว่า นอกจากนี้เขายังปลงชีวิตบุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์สมบัติอีก ดูกรมหาบพิตร การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดบิณฑบาตถวาย พระตครสิขีปัจเจกสัมพุทธะ ด้วยวิบากของกรรมนั้นเขาจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๗ ครั้ง ด้วยวิบากอันเป็นส่วนเหลือของกรรมนั้นเหมือนกัน ได้ครองความเป็นเศรษฐีในพระนครสาวัตถีนี้แหละถึง ๗ ครั้ง ฯ
sn3.21 Puggalasutta Kosalasaṁyuttaṁปุคคลสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn3.22 Ayyikāsutta Kosalasaṁyuttaṁอัยยิกาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn3.23 Lokasutta Kosalasaṁyuttaṁโลกสูตรที่ ๓ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn3.24 Issattasutta Kosalasaṁyuttaṁอิสสัตถสูตรที่ ๔ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn3.25 Pabbatūpamasutta Kosalasaṁyuttaṁปัพพโตปมสูตรที่ ๕ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn4.8 Nandatisutta Mārasaṁyuttaṁนันทนสูตรที่ ๘ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn4.12 Kinnusīhasutta Mārasaṁyuttaṁสีหสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn4.15 Mānasasutta Mārasaṁyuttaṁมานสสูตรที่ ๕ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn4.16 Pattasutta Mārasaṁyuttaṁปัตตสูตรที่ ๖ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn4.19 Kassakasutta Mārasaṁyuttaṁกัสสกสูตรที่ ๙ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn5.1 Āḷavikāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁอาฬวิกาสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้น เวลาเช้า อาฬวิกาภิกษุณีนุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตมีความต้องการด้วยวิเวก จึงเข้าไปในป่าอันธวัน ฯ
sn5.2 Somāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁโสมาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้าโสมาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
sn5.3 Kisāgotamīsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁโคตมีสูตรที่ ๓ สาวัตถีนิทาน ในพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้า กิสาโคตมีภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
sn5.4 Vijayāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁวิชยาสูตรที่ ๔ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn5.5 Uppalavaṇṇāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁอุบลวรรณาสูตรที่ ๕ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn5.6 Cālāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁจาลาสูตรที่ ๖ สาวัตถีนิทาน ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้า จาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันแล้วจึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
sn5.7 Upacālāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁอุปจาลาสูตรที่ ๗ สาวัตถีนิทาน ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ

ครั้งนั้นเวลาเช้า อุปจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
sn5.8 Sīsupacālāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁสีสุปจาลาสูตรที่ ๘ สาวัตถีนิทาน ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้า สีสุปจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันจึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
sn5.9 Selāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁเสลาสูตรที่ ๙ สาวัตถีนิทาน ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ

ครั้งนั้นเวลาเช้า เสลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
sn5.10 Vajirāsutta Bhikkhunīsaṁyuttaṁวชิราสูตรที่ ๑๐ เขตพระนครสาวัตถี ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นเวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
sn6.3 Brahmadevasutta Brahmasaṁyuttaṁพรหมเทวสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ท่านเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีตามลำดับตรอก 3 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะในเวลารุ่งเช้านุ่งห่มแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ท่านเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีตามลำดับตรอก เข้าไปยังนิเวศน์แห่งมารดาของตน
sn6.4 Bakabrahmasutta Brahmasaṁyuttaṁพกสูตรที่ ๔ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn6.5 Aññatarabrahmasutta Brahmasaṁyuttaṁอปราทิฏฐิสูตรที่ ๕ เขตพระนครสาวัตถี 1 8 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn6.6 Brahmalokasutta Brahmasaṁyuttaṁปมาทสูตรที่ ๖ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn6.7 Kokālikasutta Brahmasaṁyuttaṁปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn6.8 Katamodakatissasutta Brahmasaṁyuttaṁติสสกสูตรที่ ๘ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn6.9 Turūbrahmasutta Brahmasaṁyuttaṁตุทุพรหมสูตรที่ ๙ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn6.10 Kokālikasutta Brahmasaṁyuttaṁทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐ สาวัตถีนิทาน 1 10 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn6.14 Aruṇavatīsutta Brahmasaṁyuttaṁอรุณวตีสูตรที่ ๔ เขตกรุงสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
sn7.5 Ahiṁsakasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁอหิงสกสูตรที่ ๕ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล อหิงสกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคแล้ว ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ อหิงสกภารทวาชะพราหมณ์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่าอหิงสกะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่าอหิงสกะ ฯ
sn7.6 Jaṭāsutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁชฏาสูตรที่ (๖) สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn7.7 Suddhikasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁสุทธิกสูตรที่ ๗ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล สุทธิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn7.12 Udayasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁอุทัยสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทัยพราหมณ์ ฯ ลำดับนั้น อุทัยพราหมณ์เอาข้าวใส่บาตรถวายพระผู้มีพระภาคจนเต็ม ฯ
sn7.13 Devahitasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁเทวหิตสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประชวรด้วยโรคลม ฯ ท่านพระอุปวาณะเป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค ฯ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเรียกท่านพระอุปวาณะมาตรัสว่า อุปวาณะเธอจงรู้ น้ำร้อนเพื่อฉัน ท่านพระอุปวาณะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว นุ่งสบงถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของเทวหิตพราหมณ์แล้วยืนนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn7.14 Mahāsālasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁมหาศาลสูตรที่ ๔ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งเป็นคนปอน นุ่งห่มปอน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพราหมณ์มหาศาลนั้น ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วว่า ดูกรพราหมณ์ ทำไมท่านจึงเป็นคนปอน นุ่งห่มก็ปอน ฯ พราหมณ์มหาศาลกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกบุตรของข้าพระองค์ ๔ คน ในบ้านนี้คบคิดกับภรรยาแล้วขับข้าพระองค์ออกจากเรือน ฯ
sn7.15 Mānatthaddhasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁมานัตถัทธสูตรที่ ๕ สาวัตถีนิทาน สำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี 2 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ สมัยนั้น พราหมณ์มีนามว่ามานัตถัทธะ สำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี เขาไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ พี่ชาย ฯ
sn7.16 Paccanīkasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁปัจจนิกสูตรที่ ๖ เขตพระนครสาวัตถี สำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี 2 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์มีนามว่าปัจจนิกสาตะ สำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี ปัจจนิกสาตพราหมณ์มีความดำริว่า อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมยังที่ประทับเถิด พระสมณโคดมจักตรัสคำใดๆ เราจักเป็นข้าศึกคำนั้นๆ ดังนี้ ฯ
sn7.19 Mātuposakasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁมาตุโปสกสูตรที่ ๙ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น มาตุโปสกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มาตุโปสกพราหมณ์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าแสวงหาภิกษาโดยชอบแล้วเลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพระองค์ทำเช่นนี้ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชอบยิ่ง พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ ชื่อว่าได้ทำกิจที่ควรทำแล้ว ด้วยว่าผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยชอบแล้ว เลี้ยงมารดาและบิดาผู้นั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก ฯ
sn7.20 Bhikkhakasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁภิกขกสูตรที่ ๑๐ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น ภิกขกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกขกพราหมณ์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคนขอ พระองค์ก็เป็นผู้ขอ ในความข้อนี้เราจะต่างอะไรกัน ฯ
sn7.21 Saṅgāravasutta Brāhmaṇasaṁyuttaṁสังครวสูตรที่ ๑๑ สาวัตถีนิทาน สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้วกลับมา 5 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ

สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ฯ

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้วกลับมา เวลาหลังอาหารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

ท่านพระอานนท์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี เขามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัยด้วยความอนุเคราะห์เถิด พระเจ้าข้า ฯ
sn8.4 Ānandasutta Vaṅgīsasaṁyuttaṁอานันทสูตรที่ ๔ เขตพระนครสาวัตถี ท่านพระอานนท์นุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี 2 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้นแลในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของท่านพระวังคีสะ ฯ
sn8.5 Subhāsitasutta Vaṅgīsasaṁyuttaṁสุภาษิตสูตรที่ ๕ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn8.6 Sāriputtasutta Vaṅgīsasaṁyuttaṁสารีปุตตสูตรที่ ๖ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ฯ
sn8.7 Pavāraṇāsutta Vaṅgīsasaṁyuttaṁปวารณาสูตรที่ ๗ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับที่พระวิหารบุพพาราม ปราสาทของนางวิสาขาผู้เป็นมารดามิคารเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กับพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นอรหันต์ทั้งหมด ฯ
sn8.8 Parosahassasutta Vaṅgīsasaṁyuttaṁปโรสหัสสสูตรที่ ๘ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ฯ ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นได้ทำธรรมนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฯ
sn8.12 Vaṅgīsasutta Vaṅgīsasaṁyuttaṁวังคีสสูตรที่ ๑๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn10.5 Sānusutta Yakkhasaṁyuttaṁสานุสูตรที่ ๕ เขตเมืองสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี
sn10.6 Piyaṅkarasutta Yakkhasaṁyuttaṁปิยังกรสูตรที่ ๖ เขตกรุงสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
sn10.7 Punabbasusutta Yakkhasaṁyuttaṁปุนัพสุสูตรที่ ๗ เขตกรุงสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงอยู่ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน ฯ
sn11.1 Suvīrasutta Sakkasaṁyuttaṁสุวีรสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn11.2 Susīmasutta Sakkasaṁyuttaṁสุสิมสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn11.3 Dhajaggasutta Sakkasaṁyuttaṁธชัคคสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn11.5 Subhāsitajayasutta Sakkasaṁyuttaṁสุภาษิตชยสูตรที่ ๕ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn11.6 Kulāvakasutta Sakkasaṁyuttaṁกุลาวกสูตรที่ ๖ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn11.7 Nadubbhiyasutta Sakkasaṁyuttaṁนทุพภิยสูตรที่ ๗ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn11.8 Verocanaasurindasutta Sakkasaṁyuttaṁวิโรจนอสุรินทสูตรที่ ๘ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จเข้าที่พักกลางวัน ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าววิโรจนะจอมอสูรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานพระทวารองค์ละข้าง ฯ
sn11.9 Araññāyatanaisisutta Sakkasaṁyuttaṁอารัญญกสูตรที่ ๙ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมากรูปด้วยกัน อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าวเวปจิตติจอมอสูรเข้าไปหาฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นถึงที่อยู่ ฯ
sn11.10 Samuddakasutta Sakkasaṁyuttaṁสมุททกสูตรที่ ๑๐ เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn11.11 Vatapadasutta Sakkasaṁyuttaṁปฐมเทวสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล ฯลฯ
sn11.12 Sakkanāmasutta Sakkasaṁyuttaṁทุติยเทวสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล ฯลฯ
sn11.15 Rāmaṇeyyakasutta Sakkasaṁyuttaṁรามเณยยกสูตรที่ ๕ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn11.17 Buddhavandanāsutta Sakkasaṁyuttaṁวันทนสูตรที่ ๗ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn11.18 Gahaṭṭhavandanāsutta Sakkasaṁyuttaṁปฐมสักกนมัสนสูตรที่ ๘ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn11.19 Satthāravandanāsutta Sakkasaṁyuttaṁทุติยสักกนมัสนสูตรที่ ๙ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn11.20 Saṅghavandanāsutta Sakkasaṁyuttaṁตติยสักกนมัสนสูตรที่ ๑๐ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn11.21 Chetvāsutta Sakkasaṁyuttaṁฆัตวาสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn11.22 Dubbaṇṇiyasutta Sakkasaṁyuttaṁทุพรรณิยสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn11.23 Sambarimāyāsutta Sakkasaṁyuttaṁมายาสูตรที่ ๓ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ
sn11.24 Accayasutta Sakkasaṁyuttaṁอัจจยสูตรที่ ๔ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn11.25 Akkodhasutta Sakkasaṁyuttaṁอักโกธสูตรที่ ๕ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
sn12.1 Paṭiccasamuppādasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑ เทศนาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธดำรัสนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn12.2 Vibhaṅgasutta Nidānasaṁyuttaṁ๒ วิภังคสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn12.3 Paṭipadāsutta Nidānasaṁyuttaṁ๓ ปฏิปทาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา พวกเธอจงฟังปฏิปทาทั้ง ๒ นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn12.4 Vipassīsutta Nidānasaṁyuttaṁ๔ วิปัสสีสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ได้ปริวิตกว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ยังไม่รู้ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรเล่าความออกจากทุกข์คือชราและมรณะนี้ จักปรากฏ ฯ
sn12.11 Āhārasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑. อาหารสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ เป็นไฉน คือ (๑) กวฬีการาหารหยาบ หรือละเอียด (๒) ผัสสาหาร (๓) มโนสัญเจตนาหาร (๔) วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
sn12.12 Moḷiyaphaggunasutta Nidānasaṁyuttaṁ๒. ผัคคุนสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ เป็นไฉน คือ (๑) กวฬีการาหารหยาบหรือละเอียด (๒) ผัสสาหาร (๓) มโนสัญเจตนาหาร (๔) วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
sn12.13 Samaṇabrāhmaṇasutta Nidānasaṁyuttaṁ๓. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้จักชราและมรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักชาติ … ไม่รู้จักภพ … ไม่รู้จักอุปาทาน … ไม่รู้จักตัณหา … ไม่รู้จักเวทนา … ไม่รู้จักผัสสะ … ไม่รู้จักสฬายตนะ … ไม่รู้จักนามรูป … ไม่รู้จักวิญญาณ … ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับแห่งสังขาร ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจะสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ หาได้ไม่ แลท่านเหล่านั้นมิได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
sn12.14 Dutiyasamaṇabrāhmaṇasutta Nidānasaṁyuttaṁ๔. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้จักธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน คือไม่รู้จักชราและมรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักชาติ … ไม่รู้จักภพ … ไม่รู้จักอุปาทาน … ไม่รู้จักตัณหา … ไม่รู้จักเวทนา … ไม่รู้จักผัสสะ … ไม่รู้จักสฬายตนะ … ไม่รู้จักนามรูป … ไม่รู้จักวิญญาณ … ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับแห่งสังขาร ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร ชื่อว่าไม่รู้จักธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมนี้ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จะสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ หาได้ไม่ และท่านเหล่านั้นมิได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
sn12.15 Kaccānagottasutta Nidānasaṁyuttaṁ๕. กัจจานโคตตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตต์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่าสัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฐิ ฯ
sn12.16 Dhammakathikasutta Nidānasaṁyuttaṁ๖. ธรรมกถิกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า ธรรมกถึก ธรรมกถึก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าธรรมกถึก ฯ
sn12.18 Timbarukasutta Nidānasaṁyuttaṁ๘. ติมพรุกขสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อติมพรุกขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn12.19 Bālapaṇḍitasutta Nidānasaṁyuttaṁ๙. พาลปัณฑิตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาลผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบด้วยตัณหาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วยนามรูปในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องคนพาล เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ กายนี้ของบัณฑิตผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบด้วยตัณหาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วยนามรูปในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องบัณฑิต เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ ฯ
sn12.20 Paccayasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑๐. ปัจจัยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาทและธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn12.21 Dasabalasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑. ทสพลสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพล ญาณ และจตุเวสารัชชญาณ จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไปว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ด้วยเหตุนี้เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่ผลนี้ย่อมมี เพราะการบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงบังเกิดขึ้น เมื่อปัจจัยนี้ไม่มีอยู่ผลนี้ย่อมไม่มี เพราะการดับแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงดับ ข้อนี้คือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ … ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.22 Dutiyadasabalasutta Nidānasaṁyuttaṁ๒. ทสพลสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพลญาณและจตุเวสารัชชญาณ จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไปว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ด้วยเหตุนี้เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่ ผลนี้ย่อมมี เพราะการบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงบังเกิดขึ้น เมื่อปัจจัยนี้ไม่มีอยู่ ผลนี้ย่อมไม่มี เพราะการดับแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงดับ ข้อนี้คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ … ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ … ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.23 Upanisasutta Nidānasaṁyuttaṁ๓. อุปนิสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้อยู่เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี เมื่อเรารู้ เราเห็นว่าดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป … ดังนี้เวทนา … ดังนี้สัญญา …ดังนี้สังขารทั้งหลาย … ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ
sn12.25 Bhūmijasutta Nidānasaṁyuttaṁ๕. ภูมิชสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระภูมิชะออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร
sn12.26 Upavāṇasutta Nidānasaṁyuttaṁ๖. อุปวาณสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn12.27 Paccayasutta Nidānasaṁyuttaṁ๗. ปัจจยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.28 Bhikkhusutta Nidānasaṁyuttaṁ๘. ภิกขุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลาย ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯ
sn12.29 Samaṇabrāhmaṇasutta Nidānasaṁyuttaṁ๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่กำหนดรู้ชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้ความดับแห่งชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้ชาติ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้ภพ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้อุปาทาน ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้ตัณหา ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้เวทนา ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้ผัสสะ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้สฬายตนะ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้นามรูป ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้วิญญาณ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้สังขารทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนดรู้เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมไม่กำหนดรู้ความดับแห่งสังขาร ย่อมไม่กำหนดรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านี้จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไม่ได้ ฯ
sn12.30 Dutiyasamaṇabrāhmaṇasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑๐. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิดชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักล่วงพ้นชรามรณะได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯย่อมไม่รู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้นสังขารทั้งหลายได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ
sn12.31 Bhūtasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑. ภูตมิทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า ดูกรสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ในอชิตปัญหาในปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วและบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่ เหล่าใดมีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้นแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร ฯ
sn12.32 Kaḷārasutta Nidānasaṁyuttaṁ๒. กฬารขัตติยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล กฬารขัตติยภิกษุเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า
sn12.33 Ñāṇavatthusutta Nidānasaṁyuttaṁญาณวัตถุสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงญาณวัตถุ ๔๔ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังซึ่งญาณวัตถุนั้นจงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn12.34 Dutiyañāṇavatthusutta Nidānasaṁyuttaṁ๔. ญาณวัตถุสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn12.35 Avijjāpaccayasutta Nidānasaṁyuttaṁ๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.36 Dutiyaavijjāpaccayasutta Nidānasaṁyuttaṁ๖. อวิชชาปัจจยสูตร ที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.37 Natumhasutta Nidānasaṁyuttaṁ๗. นตุมหากํสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจเป็นที่ตั้งของเวทนา ฯ
sn12.38 Cetanāsutta Nidānasaṁyuttaṁ๘. เจตนาสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริและครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัยความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.39 Dutiyacetanāsutta Nidānasaṁyuttaṁ๙. เจตนาสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.40 Tatiyacetanāsutta Nidānasaṁyuttaṁ๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัยความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.41 Pañcaverabhayasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐ อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
sn12.42 Dutiyapañcaverabhayasutta Nidānasaṁyuttaṁ๒. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
sn12.43 Dukkhasutta Nidānasaṁyuttaṁ๓. ทุกขนิโรธสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงจำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ฯ
sn12.44 Lokasutta Nidānasaṁyuttaṁ๔. โลกนิโรธสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก เธอทั้งหลายจงฟัง … ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก เพราะอาศัยหูและเสียง … เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น …เพราะอาศัยลิ้นและรส … เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ … เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ
sn12.46 Aññatarabrāhmaṇasutta Nidānasaṁyuttaṁ๖. อัญญตรสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn12.47 Jāṇussoṇisutta Nidānasaṁyuttaṁ๗. ชาณุสโสณิสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชาณุสโสณีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฯ
sn12.48 Lokāyatikasutta Nidānasaṁyuttaṁ๘. โลกายติกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
sn12.49 Ariyasāvakasutta Nidānasaṁyuttaṁ๙. อริยสาวกสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมีอะไรจึงมีหรือหนอแล เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี ฯ
sn12.50 Dutiyaariyasāvakasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑๐. อริยสาวกสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมีอะไรจึงมีหรือหนอแล เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี ฯ
sn12.51 Parivīmaṁsanasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑. ปริวีมังสนสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ภิกษุเมื่อพิจารณาพึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
sn12.52 Upādānasutta Nidānasaṁyuttaṁ๒. อุปาทานสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.53 Saṁyojanasutta Nidānasaṁyuttaṁ๓. ปฐมสังโยชนสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.54 Dutiyasaṁyojanasutta Nidānasaṁyuttaṁ๔. ทุติยสังโยชนสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติดเพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษเติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้นมีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.55 Mahārukkhasutta Nidānasaṁyuttaṁ๕. ปฐมมหารุกขสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.56 Dutiyamahārukkhasutta Nidānasaṁyuttaṁ๖. ทุติยมหารุกขสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นมีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.57 Taruṇarukkhasutta Nidānasaṁyuttaṁ๗. ตรุณรุกขสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.58 Nāmarūpasutta Nidānasaṁyuttaṁ๘. นามรูปสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็หยั่งลง เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.59 Viññāṇasutta Nidānasaṁyuttaṁ๙. วิญญาณสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณก็หยั่งลง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
sn12.61 Assutavāsutta Nidānasaṁyuttaṁ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า … ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับจะพึงเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดีของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้างในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้น นั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
sn12.62 Dutiyaassutavāsutta Nidānasaṁyuttaṁ๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
sn12.63 Puttamaṁsasutta Nidānasaṁyuttaṁ๓. ปุตตมังสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิดอาหาร ๔ อย่างนั้นคือ ๑. กวฬีการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒. ผัสสาหาร ๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่ เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
sn12.64 Atthirāgasutta Nidānasaṁyuttaṁ๔. อัตถิราคสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเพื่อความดำรงอยู่ของสัตวโลกที่เกิดมาแล้ว เพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างนั้น คือ ๑ กวฬีการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒ ผัสสาหาร ๓ มโนสัญเจตนาหาร ๔ วิญญาณาหาร อาหาร ๔ อย่างนี้แล เพื่อความดำรงอยู่ของสัตวโลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
sn12.65 Nagarasutta Nidānasaṁyuttaṁ๕. นครสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่กาลตรัสรู้เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า โลกนี้ถึงความลำบากหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่มีผู้ใดทราบชัดซึ่งธรรมเป็นที่สลัดออกจากกองทุกข์ คือ ชราและมรณะนี้ได้เลย เมื่อไรหนอ ธรรมเป็นที่สลัดออกไปจากกองทุกข์คือชราและมรณะนี้จึงจักปรากฏ ฯ
sn12.69 Upayantisutta Nidānasaṁyuttaṁ๙. อุปยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
sn13.1 Nakhasikhāsutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๑. นขสิขสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเอาปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นเล็กน้อย แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นประมาณน้อยนี้ที่เราเอาปลายเล็บช้อนขึ้นกับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะมากกว่ากันหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมากกว่าฝุ่นประมาณเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงเอาปลายพระนขาช้อนขึ้นนี้มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้วฝุ่นที่พระผู้มีพระภาคทรงเอาปลายพระนขาช้อนขึ้นมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ฯ
sn13.2 Pokkharaṇīsutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๒. โปกขรณีสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์กว้าง ๕๐ โยชน์ ลึก ๕๐ โยชน์ มีน้ำเต็มเสมอขอบ กาดื่มกินได้ บุรุษพึงวิดน้ำขึ้นจากสระโบกขรณีนั้นด้วยปลายหญ้าคา เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคาก็ดี น้ำในสระโบกขรณีก็ดี ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีนี้แหละมากกว่า น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคามีประมาณน้อย น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคาเมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในสระโบกขรณี ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ
sn13.3 Sambhejjaudakasutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๓. สัมเภชอุทกสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคายมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน บุรุษพึงวักน้ำขึ้นสองสามหยาดจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วก็ดี น้ำในที่บรรจบกันก็ดี ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในที่บรรจบกันนี้แหละมากกว่า หยาดน้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วมีประมาณน้อย หยาดน้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้ว เมื่อเทียบเข้ากับน้ำในที่บรรจบกันไม่เข้า ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ
sn13.4 Dutiyasambhejjaudakasutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๔. สัมเภชอุทกสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคายมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน แม่น้ำ นั้นพึงหมดไป สิ้นไป ยังเหลืออยู่สองสามหยาด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป สิ้นไป กับน้ำที่ยังเหลืออยู่สองสามหยาด ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป สิ้นไปนี้แหละมากกว่า น้ำที่ยังเหลืออยู่สองสามหยาดมีประมาณน้อย น้ำที่เหลืออยู่สองสามหยาดเมื่อเทียบเข้ากับน้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป สิ้นไปแล้ว ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ
sn13.5 Pathavīsutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๕. ปฐวีสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนไว้ที่แผ่นดินใหญ่ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้กับแผ่นดินใหญ่ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมากกว่า ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้เมื่อเทียบเข้ากับแผ่นดินใหญ่ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ
sn13.6 Dutiyapathavīsutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๖. ปฐวีสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แผ่นดินใหญ่พึงถึงความหมดไป สิ้นไป เหลือก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน เธอทั้งหลายสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นดินใหญ่ที่หมดไป สิ้นไป กับก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่ที่หมดไปสิ้นไปนี้แหละมากกว่า ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่มีประมาณน้อย ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่เมื่อเทียบเข้ากับแผ่นดินใหญ่ที่หมดไป สิ้นไป ย่อมไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ
sn13.7 Samuddasutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๗. สมุททสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษวักน้ำสองสามหยาดขึ้นจากมหาสมุทร เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วกับน้ำในมหาสมุทร ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรนี้แหละมากกว่าน้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วมีประมาณน้อย น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วเมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในมหาสมุทรไม่เข้า ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ
sn13.8 Dutiyasamuddasutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๘. สมุททสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรพึงถึงการหมดไปสิ้นไป ยังเหลือน้ำอยู่สองสามหยาด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในมหาสมุทรที่หมดไปสิ้นไปกับน้ำสองสามหยาดที่ยังเหลืออยู่ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่หมดไป สิ้นไป นี้แหละมากกว่า น้ำสองสามหยาดที่เหลืออยู่มีประมาณน้อย น้ำสองสามหยาดที่เหลืออยู่เมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในมหาสมุทรที่หมดไป สิ้นไป ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ
sn13.9 Pabbatasutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๙. ปัพพตูปมสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว … ได้ตรัสว่า
sn13.10 Dutiyapabbatasutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๑๐. ปัพพตูปมสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาหิมวันต์พึงถึงความหมดไป สิ้นไป ยังเหลือก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดอยู่เจ็ดก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขาหิมวันต์ที่หมดไปสิ้นไปกับก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อนที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์ที่หมดไปสิ้นไป นี้แหละมากกว่า ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อนที่ยังเหลืออยู่มีประมาณน้อย ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อนที่ยังเหลืออยู่เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาหิมวันต์ที่หมดไปสิ้นไปไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ
sn13.11 Tatiyapabbatasutta Abhisamayasaṁyuttaṁ๑๑. ปัพพตูปมสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียวเจ็ดก้อนไว้ที่ขุนเขาสิเนรุ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียวเจ็ดก้อนที่บุรุษวางไว้กับขุนเขาสิเนรุไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุนี้แหละมากกว่า ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียวเจ็ดก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียวเจ็ดก้อนที่บุรุษวางไว้เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาสิเนรุ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล การบรรลุคุณวิเศษแห่งอัญญเดียรถีย์สมณพราหมณ์และปริพาชก เมื่อเทียบกับการบรรลุโสดาปัตติมรรคแห่งบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวกสมบูรณ์ด้วยทิฐิไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิมีอธิคมใหญ่อย่างนี้ มีอภิญญาใหญ่อย่างนี้ ฯ
sn14.1 Dhātunānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๑. ธาตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงกระทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ณ บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
sn14.2 Phassanānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๒. สัมผัสสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ ฯ
sn14.3 Nophassanānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๓. โนสัมผัสสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ มโนธาตุ ฯลฯ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ ฯ
sn14.4 Vedanānānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๔. เวทนาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า
sn14.5 Dutiyavedanānānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๕. โนเวทนาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ
sn14.6 Bāhiradhātunānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๖. พาหิรธาตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง … ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุสัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ
sn14.7 Saññānānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๗. สัญญาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ
sn14.8 Nopariyesanānānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๘. โนสัญญาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา หามิได้ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ หามิได้ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้ ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ
sn14.9 Bāhiraphassanānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๙. ผัสสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุฯ
sn14.10 Dutiyabāhiraphassanānattasutta Dhātusaṁyuttaṁ๑๐. โนผัสสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า
sn14.11 Sattadhātusutta Dhātusaṁyuttaṁ๑. สัตติมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๗ ประการเหล่านี้แล ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุธาตุเหล่านี้ แต่ละอย่างอาศัยอะไรจึงปรากฏได้ ฯ
sn14.12 Sanidānasutta Dhātusaṁyuttaṁ๒. สนิทานสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ
sn14.14 Hīnādhimuttikasutta Dhātusaṁyuttaṁ๔. หีนาธิมุตติสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลวย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดีย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีตกาลสัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้วโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลวได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้วกับสัตว์จำพวกมีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดีได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้วกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกันโดยธาตุเทียวคือ สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียวคือ สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ฯ
sn14.16 Sagāthāsutta Dhātusaṁyuttaṁ๖. สตาปารัทธสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว แม้ในอดีตกาล …แม้ในอนาคตกาล … แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ฯ
sn14.17 Assaddhasaṁsandanasutta Dhātusaṁyuttaṁ๗. อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม แม้ในอดีตกาล … แม้ในอนาคตกาล … แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ฯ
sn14.18 Assaddhamūlakasutta Dhātusaṁyuttaṁ๘. อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา แม้ในอดีตกาล … ในอนาคตกาล … แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ
sn14.19 Ahirikamūlakasutta Dhātusaṁyuttaṁ๙. อหิริกมูลกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ
sn14.20 Anottappamūlakasutta Dhātusaṁyuttaṁ๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ
sn14.21 Appassutamūlakasutta Dhātusaṁyuttaṁ๑๑. อัปปสุตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ
sn14.22 Kusītamūlakasutta Dhātusaṁyuttaṁ๑๒. กุสิตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือ สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ
sn14.23 Asamāhitasutta Dhātusaṁyuttaṁ๑. อสมาหิตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธาย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีใจไม่มั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีใจไม่มั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีใจมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีใจมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ
sn14.24 Dussīlasutta Dhātusaṁyuttaṁ๒. ทุสสีลสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่ทุศีล ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ทุศีล สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีศีล ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศีล สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ
sn14.25 Pañcasikkhāpadasutta Dhātusaṁyuttaṁ๓. ปัญจสิกขาปทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า ฯ
sn14.26 Sattakammapathasutta Dhātusaṁyuttaṁ๔. สัตตกัมมปถสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือพวกทำปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำปาณาติบาต พวกทำอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำอทินนาทาน พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำกาเมสุมิจฉาจาร พวกมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมุสาวาท พวกพูดส่อเสียด ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกพูดส่อเสียด พวกพูดคำหยาบ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกพูดคำหยาบ พวกพูดเพ้อเจ้อ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกพูดเพ้อเจ้อ ฯ
sn14.27 Dasakammapathasutta Dhātusaṁyuttaṁ๕. ทสกัมมปถสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า
sn14.28 Aṭṭhaṅgikasutta Dhātusaṁyuttaṁ๖. อัฏฐังคิกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือพวกมิจฉาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฐิ พวกมิจฉาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ พวกมิจฉาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวาจา พวกมิจฉากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉากัมมันตะ พวกมิจฉาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาอาชีวะ พวกมิจฉาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ พวกมิจฉาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ พวกมิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ ฯ
sn14.29 Dasaṅgasutta Dhātusaṁyuttaṁ๗. ทสังคิกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือพวกมิจฉาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฐิ พวกมิจฉาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ พวกมิจฉาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวาจา พวกมิจฉากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉากัมมันตะ พวกมิจฉาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาอาชีวะ พวกมิจฉาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ พวกมิจฉาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ พวกมิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ พวกมิจฉาญาณะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาญาณะ พวกมิจฉาวิมุติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวิมุติ ฯ
sn14.30 Catudhātusutta Dhātusaṁyuttaṁ๑. จตัสสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่าง คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ อย่างเหล่านี้แลดังนี้ ฯ
sn14.32 Acariṁsutta Dhātusaṁyuttaṁ๓. อจริสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ ได้พบความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา เราได้แสวงหาโทษแห่งปฐวีธาตุ ได้พบโทษแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นโทษแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา เราได้แสวงหาเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุ ได้พบเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา ฯ
sn14.33 Nocedaṁsutta Dhātusaṁyuttaṁ๔. โนเจทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ ก็เพราะความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุมีอยู่แล ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ ถ้าว่าโทษแห่งปฐวีธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ก็เพราะโทษแห่งปฐวีธาตุมีอยู่แล ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ถ้าว่าเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากปฐวีธาตุ ก็เพราะเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุมีอยู่แล ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากปฐวีธาตุ ถ้าว่าความแช่มชื่นแห่งอาโปธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ … แห่งเตโชธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ … ถ้าว่าความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ ก็เพราะความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุมีอยู่แล ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ ถ้าว่าโทษแห่งวาโยธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ถ้าว่าเครื่องสลัดออกแห่งวาโยธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากวาโยธาตุ ก็เพราะเครื่องสลัดออกแห่งวาโยธาตุมีอยู่แล ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากวาโยธาตุ ฯ
sn14.34 Ekantadukkhasutta Dhātusaṁyuttaṁ๕. ทุกขสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า
sn14.35 Abhinandasutta Dhātusaṁyuttaṁ๖. อภินันทนสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมชื่นชมทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมอาโปธาตุ … ผู้ใดย่อมชื่นชมเตโชธาตุ … ผู้ใดย่อมชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ดังนี้ ฯ
sn14.36 Uppādasutta Dhātusaṁyuttaṁ๗. อุปปาทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุนั่น เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ … แห่งเตโชธาตุ … แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ ฯ
sn14.37 Samaṇabrāhmaṇasutta Dhātusaṁyuttaṁ๘. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่างคือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
sn14.38 Dutiyasamaṇabrāhmaṇasutta Dhātusaṁyuttaṁ๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่างคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด ความดับ ความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิดความดับ ความแช่มชื่น โทษและเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ … ฯ
sn14.39 Tatiyasamaṇabrāhmaṇasutta Dhātusaṁyuttaṁ๑๐. สมณพราหมณสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดซึ่งปฐวีธาตุ เหตุเกิดแห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่งปฐวีธาตุปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ ย่อมไม่ทราบชัดซึ่งอาโปธาตุ … ซึ่งเตโชธาตุ … ซึ่งวาโยธาตุ เหตุเกิดแห่งวาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ฯ
sn15.1 Tiṇakaṭṭhasutta Anamataggasaṁyuttaṁ๑. ติณกัฏฐสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯ
sn15.2 Pathavīsutta Anamataggasaṁyuttaṁ๒. ปฐวีสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯ
sn15.3 Assusutta Anamataggasaṁyuttaṁ๓. อัสสุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ฯ
sn15.4 Khīrasutta Anamataggasaṁyuttaṁ๔. ขีรสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานนี้ดื่มแล้วกับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไหนจะมากกว่ากัน ฯ
sn15.5 Pabbatasutta Anamataggasaṁyuttaṁ๕. ปัพพตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ฯลฯ เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล
sn15.6 Sāsapasutta Anamataggasaṁyuttaṁ๖. สาสปสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล ฯ
sn15.7 Sāvakasutta Anamataggasaṁyuttaṁ๗. สาวกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอ ฯ
sn15.9 Daṇḍasutta Anamataggasaṁyuttaṁ๙. ทัณฑสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ
sn15.11 Duggatasutta Anamataggasaṁyuttaṁทุคคตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาลนานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
sn15.12 Sukhitasutta Anamataggasaṁyuttaṁสุขิตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้ว ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อม ไม่ปรากฏ … เธอทั้งหลายเห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยสุขเห็นปานนี้มาแล้วโดยกาลนานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
sn15.14 Mātusutta Anamataggasaṁyuttaṁ๔ มาตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลยข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
sn15.15 Pitusutta Anamataggasaṁyuttaṁ๕ ปิตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า
sn15.16 Bhātusutta Anamataggasaṁyuttaṁ๖ ภาตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่ชาย น้องชาย โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้ ฯ
sn15.17 Bhaginisutta Anamataggasaṁyuttaṁ๗ ภคินีสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่หญิง น้องหญิง โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้ ฯ
sn15.18 Puttasutta Anamataggasaṁyuttaṁ๘ ปุตตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบุตร โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลยดังนี้ ฯ
sn15.19 Dhītusutta Anamataggasaṁyuttaṁ๙ ธีตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลายพวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
sn16.1 Santuṭṭhasutta Kassapasaṁyuttaṁ๑. สันตุฏฐสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวร ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้จีวรแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมใช้สอย ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้บิณฑบาตแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษมีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภค ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะ ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้เสนาสนะแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมใช้สอย ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยเภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ตามมีตามได้และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยเภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่งเภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ไม่ได้เภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้เภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้แล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพันมีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภค ฯ
sn16.3 Candūpamāsutta Kassapasaṁyuttaṁ๓. จันทูปมาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ เป็นผู้ไม่คนองในสกุลทั้งหลาย เข้าไปสู่สกุลเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงพรากกาย พรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่งคร่ำคร่า หรือที่เป็นหลุมเป็นบ่อบนภูเขา หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วงๆ ฉันใด พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ไม่คนองในสกุล เข้าไปสู่สกุล ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปเปรียบประดุจพระจันทร์ พรากกาย พรากจิตออกแล้ว เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์ไม่คนองในสกุลทั้งหลาย เข้าไปสู่สกุล ฯ
sn16.4 Kulūpakasutta Kassapasaṁyuttaṁ๔. กุลูปกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุชนิดไร สมควรเข้าไปสู่สกุล ภิกษุ ชนิดไร ไม่สมควรเข้าไปสู่สกุล ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระ ผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ ฯ
sn16.9 Jhānābhiññasutta Kassapasaṁyuttaṁ๙. ฌานาภิญญาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ได้เท่านั้น เหมือนกัน ฯ
sn16.10 Upassayasutta Kassapasaṁyuttaṁ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสปจึงกล่าวว่า ท่านไปเถิด อาวุโส อานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสป ก็กล่าวว่า ท่านไปเถิดอาวุโสอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ฯ
sn16.13 Saddhammappatirūpakasutta Kassapasaṁyuttaṁ๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ
sn17.1 Dāruṇasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๑. สุทธกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า ฯ
sn17.2 Baḷisasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๒. พฬิสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.3 Kummasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๓. กุมมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.4 Dīghalomikasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๔. ทีฆโลมสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.5 Mīḷhakasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๕. เอฬกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.6 Asanisutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๖. อสนิสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.7 Diddhasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๗. ทิฏฐิสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.8 Siṅgālasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๘. สิคาลสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.9 Verambhasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๙. เวรัมภสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.10 Sagāthakasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๑๐. สคัยหกสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.11 Suvaṇṇapātisutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๑. สุวัณณปาติสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อนหยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.12 Rūpiyapātisutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๒. รูปิยปาติสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.21 Mātugāmasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๑. มาตุคามสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.22 Kalyāṇīsutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๒. ชนปทกัลยาณีสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.23 Ekaputtakasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๓. ปุตตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.24 Ekadhītusutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๔. เอกธีตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ แลชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.25 Samaṇabrāhmaṇasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ บางพวกไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง บางพวกทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภ สักการะและชื่อเสียง ย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ ฯ
sn17.26 Dutiyasamaṇabrāhmaṇasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด เหตุดับ ความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง ฯ
sn17.27 Tatiyasamaṇabrāhmaṇasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๓ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดซึ่งลาภสักการะและชื่อเสียง เหตุเกิดแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง ความดับแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง บางพวกย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งลาภสักการะและชื่อเสียง เหตุเกิดแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง ความดับแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง ย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ ฯ
sn17.28 Chavisutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๘. ฉวิสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
sn17.29 Rajjusutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๙. รัชชุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและ ชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก ฯ
sn17.30 Bhikkhusutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๑๐. ภิกขุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวถึงลาภสักการะและชื่อเสียงว่า เป็นอันตรายแม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า เพราะเหตุไรเล่าพระเจ้าข้า ลาภ สักการะและชื่อเสียงจึงเป็นอันตรายแก่ภิกษุขีณาสพ ฯ
sn17.31 Bhindisutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๑. ภินทิสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกลาภสักการะและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลายสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
sn17.32 Kusalamūlasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๒. มูลสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลมูลของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและชื่อเสียง ครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
sn17.33 Kusaladhammasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๓. ธรรมสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและชื่อเสียง ครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
sn17.34 Sukkadhammasutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๔. ธรรมสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรมของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและชื่อเสียง ครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
sn17.37 Mātusutta Lābhasakkārasaṁyuttaṁ๗. มาตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn17.38-43 17.38–43 เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
sn18.1 Cakkhusutta Rāhulasaṁyuttaṁ๑. จักขุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไป เฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระราหุลเมื่อนั่งเรียบร้อย แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปแล้ว อยู่ ฯ
sn18.2 Rūpasutta Rāhulasaṁyuttaṁ๑. จักขุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระราหุลเมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปแล้ว อยู่ ฯ
sn18.3 Viññāṇasutta Rāhulasaṁyuttaṁ๓. วิญญาณสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุวิญญาณ … โสตวิญญาณ … ฆานวิญญาณ … ชิวหาวิญญาณ … กายวิญญาณ … มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า … ฯ
sn18.4 Samphassasutta Rāhulasaṁyuttaṁ๔. สัมผัสสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุสัมผัส … โสตสัมผัส … ฆานสัมผัส …ชิวหาสัมผัส … กายสัมผัส … มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า … ฯ
sn18.5 Vedanāsutta Rāhulasaṁyuttaṁ๕. เวทนาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
sn18.6 Saññāsutta Rāhulasaṁyuttaṁ๖. สัญญาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญญา… คันธสัญญา …รสสัญญา … โผฏฐัพพสัญญา … ธัมมสัญญา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า … ฯ
sn18.7 Sañcetanāsutta Rāhulasaṁyuttaṁ๗. เจตนาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญเจตนา … สัททสัญเจตนา …คันธสัญเจตนา … รสสัญเจตนา … โผฏฐัพพสัญเจตนา … ธัมมสัญเจตนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
sn18.8 Taṇhāsutta Rāhulasaṁyuttaṁ๘. ตัณหาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปตัณหา … สัททตัณหา … คันธตัณหา …รสตัณหา … โผฏฐัพพตัณหา … ธัมมตัณหา เที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า … ฯ
sn18.9 Dhātusutta Rāhulasaṁyuttaṁ๙. ธาตุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ … อาโปธาตุ … เตโชธาตุ …วาโยธาตุ … อากาสธาตุ … วิญญาณธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า … ฯ
sn18.10 Khandhasutta Rāhulasaṁyuttaṁ๑๐. ขันธสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร …วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
sn18.11 Cakkhusutta Rāhulasaṁyuttaṁ๑. จักขุสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn18.12-20 Rūpādisuttanavaka18.12–20 เขตพระนครสาวัตถี 9 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป … เสียง … กลิ่น … รส …โผฏฐัพพะ … ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุวิญญาณ … โสตวิญญาณ … ฆานวิญญาณ … ชิวหาวิญญาณ … กายวิญญาณ … มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน จักขุสัมผัส … โสตสัมผัส … ฆานสัมผัส …ชิวหาสัมผัส … กายสัมผัส … มโนสัมผัส เที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส … เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส … เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส … เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส … เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส … เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญญา … สัททสัญญา … คันธสัญญา …รสสัญญา … โผฏฐัพพสัญญา … ธัมมสัญญา เที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญเจตนา … สัททสัญเจตนา … คันธสัญเจตนา … รสสัญเจตนา … โผฏฐัพพสัญเจตนา … ธัมมสัญเจตนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า … ฯ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปตัณหา … สัททตัณหา … คันธตัณหา … รสตัณหา … โผฏฐัพพตัณหา … เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ … อาโปธาตุ … เตโชธาตุ …วาโยธาตุ … อากาสธาตุ … วิญญาณธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร …วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
sn18.21 Anusayasutta Rāhulasaṁyuttaṁ๑๑. อนุสยสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร ทิฐิว่าเป็นเรา ตัณหาว่าเป็นของเรา และมานานุสัยจึงจะไม่มีในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ฯ
sn18.22 Apagatasutta Rāhulasaṁyuttaṁ๑๒. อปคตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร มนัสจึงจะปราศจากอหังการ มมังการและมานะ ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกก้าวล่วงส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว ฯ
sn20.1 Kūṭasutta Opammasaṁyuttaṁ๑. กูฏาคารสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนทั้งหลายของเรือนยอดทั้งหมดไปรวมที่ยอด ประชุมกันที่ยอด มียอดเป็นที่รวม สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมกันเข้าที่ยอด แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอวิชชาเป็นมูล ประชุมกันที่อวิชชา มีอวิชชาเป็นที่รวม อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมกันเข้าที่อวิชชา เพราะเหตุดังนี้นั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักเป็นผู้ไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
sn20.2 Nakhasikhasutta Opammasaṁyuttaṁ๒. นขสิขสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ที่ปลายพระนขาแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ที่ปลายเล็บนี้กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนมากกว่ากัน ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนั่นแหละมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขานี้มีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งการนับ ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งการเทียบเคียง ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งเสี้ยว เพราะเทียบมหาปฐพีเข้าแล้ว ฝุ่นที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขามีประมาณเล็กน้อย ฯ
sn20.3 Kulasutta Opammasaṁyuttaṁ๓. กุลสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใดสกุลหนึ่งมีสตรีมาก มีบุรุษน้อย สกุลเหล่านั้นย่อมถูกพวกโจรปล้นได้ง่าย แม้ฉันใด ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญเมตตาเจโตวิมุติ ไม่กระทำให้มากแล้ว ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์กำจัดได้ง่าย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
sn20.4 Okkhāsutta Opammasaṁyuttaṁ๔. โอกขาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น ผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้า โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเที่ยง โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็น โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้งในวันหนึ่งนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
sn20.5 Sattisutta Opammasaṁyuttaṁ๕. สัตติสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หอกมีใบอันคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า เราจักงอเข้า จักพับ จักม้วนซึ่งหอกมีใบอันคมนี้ด้วยฝ่ามือ หรือด้วยกำมือดังนี้ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเป็นผู้สามารถเพื่อจะงอเข้า เพื่อจะพับ เพื่อจะม้วน ซึ่งหอกมีใบอันคมโน้นด้วยฝ่ามือ หรือด้วยกำมือได้หรือหนอ ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ
sn20.6 Dhanuggahasutta Opammasaṁyuttaṁ๖. ธนุคคหสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู ๔ คน ถือธนูอันมั่นคงได้ศึกษามาดีแล้ว เป็นผู้มีความชำนาญ เป็นผู้มีศิลปอันได้แสดงแล้ว ยืนอยู่แล้วในทิศทั้ง ๔ ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า เราจักจับลูกธนูทั้งหลายที่นายขมังธนูทั้ง ๔ เหล่านี้ยิงมาจากทิศทั้ง ๔ ไม่ให้ตกถึงแผ่นดิน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ควรจะกล่าวได้ว่าบุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้หรือ ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าแม้บุรุษจะพึงจับลูกธนูที่นายขมังธนูเพียงคนเดียวยิงไม่ให้ตกถึงแผ่นดิน ก็ควรจะกล่าวได้ว่า บุรุษผู้มีความเร็วประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม จะกล่าวไปไยถึงการจับลูกธนูทั้ง ๔ ลูกที่นายขมังธนู ๔ คนยิงมาจาก ๔ ทิศ แม้ฉันใด ฯ
sn20.7 Āṇisutta Opammasaṁyuttaṁ๗. อาณิสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไปยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาลเมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตร อันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวก ภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
sn20.9 Nāgasutta Opammasaṁyuttaṁ๙. นาคสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุใหม่รูปหนึ่งเข้าไปสู่สกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าเข้าไปสู่สกุลเกินเวลาเลย เธอถูกพวกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุชั้นเถระเหล่านี้จักสำคัญสกุลทั้งหลายว่า ควรเข้าไปหา ส่วนเราไฉนจักเข้าไปไม่ได้ ครั้งนั้นแล พวกภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใหม่รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่สกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าเข้าไปสู่สกุลเกินเวลาเลย เธอเมื่อถูกภิกษุว่ากล่าวอยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุชั้นเถระเหล่านี้ จักสำคัญสกุลทั้งหลายว่า ควรเข้าไปหาส่วนเราไฉนจักเข้าไปไม่ได้ ฯ
sn20.10 Biḷārasutta Opammasaṁyuttaṁ๑๐. วิฬารสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเที่ยวในสกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าเข้าไปเที่ยวในสกุลเกินเวลาเลย ภิกษุนั้นถูกพวกภิกษุว่ากล่าวอยู่ ย่อมไม่พอใจ ลำดับนั้นภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปเที่ยวในสกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าเข้าไปเที่ยวในสกุลเกินเวลาเลย ภิกษุนั้นถูกพวกภิกษุว่ากล่าวอยู่ย่อมไม่พอใจ ฯ
sn20.11 Siṅgālasutta Opammasaṁyuttaṁ๑๑. สิคาลสูตรที่ ๑ เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอได้ฟังเรื่องของสุนัขจิ้งจอกผู้อยู่ในปัจจุสมัยแห่งราตรีแล้วมิใช่หรือ ฯ
sn20.12 Dutiyasiṅgālasutta Opammasaṁyuttaṁ๑๒. สิคาลสูตรที่ ๒ เขตพระนครสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอได้ฟังเรื่องของสุนัข จิ้งจอกผู้อยู่ในปัจจุสสมัยแห่งราตรีแล้วมิใช่หรือ ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ได้ฟังแล้ว พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกตัญญูบางอย่าง ความกตเวทีบางอย่าง พึงมีในสุนัข จิ้งจอกแก่นั้น แต่ความกตัญญูบางอย่าง ความกตเวทีบางอย่าง ไม่พึงมีในภิกษุบางรูป ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตรในธรรมวินัยนี้เลย เพราะเหตุดังนี้นั้นเธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้กตัญญู เราจักเป็นผู้กตเวที อุปการะแม้น้อยที่บุคคลกระทำ แล้วในพวกเรา จักไม่เสื่อมหายไป ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ แหละ ฯ
sn21.1 Kolitasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๑. โกลิตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้รับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ฯ
sn21.2 Upatissasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๒. อุปติสสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ฯ
sn21.3 Ghaṭasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๓. ฆฏสูตร เขตพระนครสาวัตถี ใกล้พระนครสาวัตถี 2 2 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ในวิหารเดียวกัน ในพระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ครั้งนั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

สา. เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ไกลนัก ท่านมหาโมคคัลลานะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาท่านมหาโมคคัลลานะด้วยฤทธิ์ ฯ
sn21.4 Navasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๔. นวสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุใหม่รูปหนึ่งเดินกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็นผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวร
sn21.5 Sujātasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๕. สุชาตสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระสุชาตไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯ
sn21.6 Lakuṇḍakabhaddiyasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๖. ภัททีสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระลกุณฏกภัททิยะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯ
sn21.8 Nandasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๘. นันทสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทะผู้เป็นบุตรของพระเจ้าแม่น้าแห่งพระผู้มีพระภาคห่มจีวรที่ทุบและกลับทุบแล้ว หยอดนัยน์ตา ถือบาตรมีสีใส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn21.9 Tissasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๙. ติสสสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระติสสะผู้เป็นโอรสพระเจ้าอาของพระผู้มีพระภาค เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้ว นั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
sn21.11 Mahākappinasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๑๑. กัปปินสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯ
sn21.12 Sahāyakasutta Bhikkhusaṁyuttaṁ๑๒. สหายสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน ๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระมหากัปปินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯ
sn22.5 Samādhisutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. สมาธิสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.
sn22.6 Paṭisallāṇasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. ปฏิสัลลานสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรในการหลีกออกเร้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลีกออกเร้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป … แห่งเวทนา … แห่งสัญญา … แห่งสังขาร … แห่งวิญญาณ (ความต่อไปนี้เหมือน ข้อ ๒๘–๒๙).
sn22.7 Upādāparitassanāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะความถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส พระผู้มีพระภาคแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังต่อไปนี้
sn22.8 Dutiyaupādāparitassanāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะความถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา รูปของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวน และเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น. ย่อมเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา วิญญาณของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล.
sn22.9 Kālattayaaniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต อนาคต ไม่เที่ยง จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน. เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน.
sn22.10 Kālattayadukkhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน. เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน.
sn22.11 Kālattayaanattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๓ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน. เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน.
sn22.12 Aniccasutta Khandhasaṁyuttaṁอนิจจสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
sn22.13 Dukkhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. ทุกขสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn22.14 Anattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. อนัตตสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn22.15 Yadaniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. อนิจจสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn22.16 Yaṁdukkhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. ทุกขสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn22.17 Yadanattāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. อนัตตสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn22.18 Sahetuaniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. อนิจจเหตุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn22.19 Sahetudukkhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. ทุกขเหตุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn22.20 Sahetuanattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. อนัตตเหตุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
sn22.21 Ānandasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. อานันทสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความดับเรียกว่านิโรธ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหนแล เรียกว่า นิโรธ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ รูปแลเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรียกว่านิโรธ. เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เรียกว่านิโรธ. ดูกรอานนท์ ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แล เรียกว่านิโรธ.
sn22.22 Bhārasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. ภารสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ เครื่องถือมั่นภาระ และเครื่องวางภาระ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน? พึงกล่าวว่า ภาระ คืออุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร และอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.
sn22.23 Pariññasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. ปริญญาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้และความรอบรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้.
sn22.24 Abhijānasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. ปริชานสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละซึ่งรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อสิ้นทุกข์.
sn22.25 Chandarāgasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. ฉันทราคสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละฉันทราคะในรูปเสีย ด้วยการละอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในเวทนาเสีย ฯลฯ เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสัญญาเสีย ฯลฯ เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสังขารเสีย ฯลฯ เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในวิญญาณเสีย ด้วยการละอย่างนี้ วิญญาณนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
sn22.26 Assādasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. อัสสาทสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นคุณของรูป อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก. อะไรเป็นคุณของเวทนา … อะไรเป็นคุณของสัญญา … อะไรเป็นคุณของสังขาร … อะไรเป็นคุณของวิญญาณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า สุขโสมนัสอันใด อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป รูปใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป. สุขโสมนัสอันใด อาศัยเวทนาเกิดขึ้น … สุขโสมนัสอันใด อาศัยสัญญาเกิดขึ้น … สุขโสมนัสอันใด อาศัยสังขารเกิดขึ้น … สุขโสมนัสอันใด อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.
sn22.27 Dutiyaassādasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. อัสสาทสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งรูป เราได้พบคุณแห่งรูปแล้ว เราได้เห็นคุณแห่งรูปเท่าที่มีอยู่ ด้วยปัญญาดีแล้ว. เราได้เที่ยวค้นหาโทษแห่งรูป เราได้พบโทษแห่งรูปแล้ว เราได้เห็นโทษแห่งรูปเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว. เราได้เที่ยวค้นหาเครื่องสลัดออกแห่งรูป เราได้พบเครื่องสลัดออกแห่งรูปแล้ว เราได้เห็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว. เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งเวทนา ฯลฯ เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งสัญญา ฯลฯ เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งสังขาร ฯลฯ เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งวิญญาณ เราได้พบคุณแห่งวิญญาณแล้ว เราได้เห็นคุณแห่งวิญญาณเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว. เราได้เที่ยวค้นหาโทษแห่งวิญญาณ เราได้พบโทษแห่งวิญญาณแล้ว เราได้เห็นโทษแห่งวิญญาณเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว. เราได้เที่ยวค้นหาเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ เราได้พบเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณแล้ว เราได้เห็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญาดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณ ฯลฯ เพียงนั้น. ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
sn22.28 Tatiyaassādasutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. อัสสาทสูตรที่ ๓ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในรูป. แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป. ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป. แต่เพราะโทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป. ถ้าเครื่องสลัดออกแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกไปจากรูปได้. แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงออกไปจากรูปได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในวิญญาณ. แต่เพราะคุณแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในวิญญาณ. ถ้าโทษแห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ. แต่เพราะโทษแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ. ถ้าเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกไปจากวิญญาณได้. แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงออกไปจากวิญญาณได้.
sn22.29 Abhinandanasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. อภินันทนสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์. ผู้ใดเพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์.
sn22.30 Uppādasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. อุปปาทสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn22.31 Aghamūlasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. อฆมูลสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์คือรูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกข์.
sn22.32 Pabhaṅgusutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๑. ปภังคสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาวะสลายและภาวะไม่สลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นภาวะสลาย อะไรเป็นภาวะไม่สลาย? รูปเป็นภาวะสลาย ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูปนั้น นี้เป็นภาวะไม่สลาย. เวทนาเป็นภาวะสลาย ฯลฯ สัญญาเป็นภาวะสลาย ฯลฯ สังขารเป็นภาวะสลาย ฯลฯ วิญญาณเป็นภาวะสลาย ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณนั้น นี้เป็นภาวะไม่สลาย.
sn22.33 Natumhākasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. นตุมหากสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุข. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย. รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.
sn22.34 Dutiyanatumhākasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. นตุมหากสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้ จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.
sn22.35 Aññatarabhikkhusutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. ภิกขุสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.36 Dutiyaaññatarabhikkhusutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. ภิกขุสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.37 Ānandasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. อานันทสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหน ย่อมปรากฏความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่าไหนที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏดังนี้ไซร้. เธอถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?
sn22.38 Dutiyaānandasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. อานันทสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่าไหนที่ตั้งอยู่ปรากฏแล้ว. ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่าไหนจักปรากฏ. ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่าไหนย่อมปรากฏ. ดูกรอานนท์เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างไร?
sn22.39 Anudhammasutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. อนุธัมมสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในรูปอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในเวทนาอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในสัญญาอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในสังขารอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในวิญญาณอยู่. ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากไปด้วยความหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.
sn22.40 Dutiyaanudhammasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. อนุธัมมสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสมคือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่. เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อเธอกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.
sn22.41 Tatiyaanudhammasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. อนุธัมมสูตรที่ ๓ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสมคือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่. เมื่อเธอพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.
sn22.42 Catutthaanudhammasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. อนุธัมมสูตรที่ ๔ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่. เมื่อเธอพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อเธอกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.
sn22.43 Attadīpasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. อัตตทีปสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็น ตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูปนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและเป็นอื่นไป. ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นในมีวิญญาณ ๑ วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะวิญญาณแปรไปและเป็นอย่างอื่นไป.
sn22.44 Paṭipadāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. ปฏิปทาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายสมุทัย (ความเกิดขึ้นแห่งกายตน) และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายนิโรธ (ความดับแห่งกายตน) เธอทั้งหลายจงฟังปฏิปทาทั้ง ๒ นั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายสมุทัยเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมแห่งพระอริยะ มิได้รับการแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายสมุทัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่กล่าวแล้วนี้เรียกว่า การตามเห็นอันจะยังสัตว์ให้ถึงทุกขสมุทัย (ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์) นี้แลเป็นใจความข้อนี้.
sn22.45 Aniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. อนิจจสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง … สัญญาไม่เที่ยง … สังขารไม่เที่ยง … วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
sn22.46 Dutiyaaniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. อนิจจสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาไม่เที่ยง … สัญญาไม่เที่ยง … สังขารไม่เที่ยง … วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี. เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
sn22.47 Samanupassanāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. สมนุปัสสนาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นตนเป็นหลายวิธี สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมตามเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมตามเห็นรูปในตน ๑ ย่อมตามเห็นตนในรูป ๑ ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน … ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน … ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน … ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมตามเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมตามเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมตามเห็นตนในวิญญาณ ๑. การตามเห็นด้วยประการดังนี้แล เป็นอันผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น เมื่อผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นในกาลนั้นอินทรีย์ ๕ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ย่อมหยั่งลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่ ธรรมทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่ ในเพราะการตามเห็นนั้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ อวิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งอวิชชา อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.
sn22.48 Khandhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. ปัญจขันธสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.
sn22.51 Nandikkhayasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. นันทิขยสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ย่อมเบื่อหน่าย. เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นเวทนาอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นสัญญาอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นสังขารอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นวิญญาณอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว.
sn22.52 Dutiyanandikkhayasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. นันทิขยสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง. เมื่อภิกษุทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจซึ่งเวทนาโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งสังขารโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง. เมื่อภิกษุทำไว้ในใจซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ. เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จึงหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว.
sn22.53 Upayasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. อุปายสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง (ด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เป็นความไม่หลุดพ้น ความไม่เข้าถึงเป็นความหลุดพ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯลฯ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไปจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อมจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn22.54 Bījasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. พีชสูตร พระนครสาวัตถี 1 3 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืช ๕ อย่าง นี้. ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ พืชงอกจากเหง้า ๑ พืชงอกจากลำต้น ๑ พืชงอกจากข้อ ๑ พืชงอกจากยอด ๑ พืชงอกจากเมล็ด ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ อย่างนี้ มิได้ถูกทำลาย ไม่เน่า ไม่ถูกลมแดดทำให้เสีย ยังเพาะขึ้น อันบุคคลเก็บไว้ดี แต่ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ. พืช ๕ อย่าง พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ?
sn22.55 Udānasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. อุทานสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ภิกษุ น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.
sn22.56 Upādānaparipavattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. ปริวัฏฏสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. เวียนรอบ ๔ อย่างไร? คือ เรารู้ยิ่งซึ่งรูป ความเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ยิ่งซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสังขาร ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ ความเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.
sn22.57 Sattaṭṭhānasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. สัตตัฏฐานสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจอยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ฉลาดใน ในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป. รู้ชัดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.
sn22.58 Sammāsambuddhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. พุทธสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ เทวดาและมนุษย์ต่างพากันเรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ เราเรียกว่า ผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
sn22.61 Ādittasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. อาทิตตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณร้อนนัก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้แล้ว หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn22.62 Niruttipathasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. นิรุตติปถสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิถีทาง ๓ ประการ คือ หลักภาษา ชื่อ และบัญญัตินี้? ไม่ถูกทอดทิ้ง และยังไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้านแล้ว. ๓ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย การนับรูปผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ว่าได้มีแล้ว การให้ชื่อรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว รูปนั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่าจักมี. การนับเวทนาที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนแล้วว่าได้มีแล้ว การให้ชื่อเวทนานั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติเวทนานั้นว่า ได้มีแล้ว เวทนานั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่าจักมี. การนับสัญญาที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อสัญญานั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติสัญญานั้นว่า ได้มีแล้ว สัญญานั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่าจักมี การนับสังขารที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อสังขารนั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติสังขารนั้นว่า ได้มีแล้ว สังขารเหล่านั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่าจักมี การนับวิญญาณที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อวิญญาณนั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ได้มีแล้ว วิญญาณนั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่าจักมีฯ การนับรูปที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อรูปเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติรูปเช่นนั้นว่า จักมี รูปนั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่ามีแล้ว. การนับเวทนาที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่าจักมี การให้ชื่อเวทนาเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติเวทนาเช่นนั้นว่า จักมี เวทนานั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่ามีแล้ว. การนับสัญญาที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อสัญญาเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติสัญญาเช่นนั้นว่า จักมี สัญญานั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่ามีแล้ว. การนับสังขารที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่าจักมี การให้ชื่อสังขารเช่นนั้นว่าจักมี และการบัญญัติ สังขารเช่นนั้นว่าจักมี สังขารเหล่านั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่ามีแล้ว. การนับวิญญาณที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่าจักมี การให้ชื่อวิญญาณเช่นนั้นว่าจักมี และการบัญญัติวิญญาณเช่นนั้นว่าจักมี วิญญาณนั้นไม่นับว่ามีอยู่ ไม่นับว่ามีแล้ว.
sn22.63 Upādiyamānasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. อุปาทิยสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้วเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.64 Maññamānasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. มัญญมานสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสโปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้วเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.65 Abhinandamānasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. อภินันทมานสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสโปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.66 Aniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. อนิจจสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสโปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.67 Dukkhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. ทุกขสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสโปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.68 Anattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. อนัตตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสโปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.69 Anattaniyasutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. อนัตตนิยสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสโปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.70 Rajanīyasaṇṭhitasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. รชนิยสัณฐิตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสโปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
sn22.71 Rādhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. ราธสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้เห็นอย่างไรจึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก.
sn22.72 Surādhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. สุราธสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสุราธะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไรจึงจะมีใจปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบ ระงับ พ้นวิเศษแล้ว.
sn22.73 Assādasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. อัสสาทสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ.
sn22.74 Samudayasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. สมุทยสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง รูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ.
sn22.75 Dutiyasamudayasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. สมุทยสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ.
sn22.76 Arahantasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. อรหันตสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นควรเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกกว่าสัตตาวาสและภวัคคภพ.
sn22.77 Dutiyaarahantasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. อรหันตสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นควรเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกกว่าสัตตาวาสและภวัคคภพ.
sn22.78 Sīhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. สีหสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราชเวลาเย็นออกจากที่อาศัยแล้ว เหยียดกายแล้ว. เหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบแล้ว บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออกเดินไปเพื่อหากิน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาสีหมฤคราช บันลือสีหนาทอยู่ โดยมากย่อมถึงความกลัว ความตกใจ และความสะดุ้ง จำพวกที่อาศัยอยู่ในรู ย่อมเข้ารู จำพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำ ย่อมดำน้ำ จำพวกที่อาศัยอยู่ในป่า ย่อมเข้าป่า จำพวกปักษี ย่อมบินขึ้นสู่อากาศ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงพระยาช้างทั้งหลายของพระมหากษัตริย์ซึ่งถูกผูกด้วยเครื่องผูก คือ เชือกหนังอันมั่นคงในคามนิคมและราชธานี ก็สลัดทำลายเครื่องผูกเหล่านั้นจนขาด กลัวจนมูตรคูถไหล หนีเตลิดไป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราชมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายเช่นนี้แล.
sn22.79 Khajjanīyasutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. ขัชชนิยสูตร พระนครสาวัตถี 1 7 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้นก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใดกองหนึ่ง. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.
sn22.82 Puṇṇamasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. ปุณณมสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคารมาตุประสาทในพระวิหารบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก. ก็ในสมัยนั้นแล ในคืนวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญ มีพระจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว ประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง.
sn22.83 Ānandasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. อานันทสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนทเถระเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระอานนท์แล้ว. ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ท่านพระปุณณมันตานีบุตรมีอุปการะมากแก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่ ท่านกล่าวสอนพวกเราด้วยโอวาทอย่างนี้ว่า ดูกรท่านอานนท์ เพราะถือมั่น จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา. เพราะถือมั่นอะไร จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่นอะไร จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา. เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา. ดูกรท่านอานนท์ เปรียบเสมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มรุ่นสาว มีนิสัยชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดถือจึงไม่เห็นฉันใด. ดูกรท่านอานนท์ เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่านอานนท์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
sn22.84 Tissasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. ติสสสูตร พระนครสาวัตถี 1 10 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ก็สมัยนั้น ท่านพระติสสะซึ่งเป็นโอรสของพระปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาคบอกแก่ภิกษุหลายรูปอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย กายของข้าพเจ้าเป็นดุจภาระอันหนักโดยแท้ แม้ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า แม้ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ถีนมิทธะย่อมครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และความสงสัยในธรรมทั้งหลายย่อมเกิดมีแก่ข้าพเจ้า.
sn22.85 Yamakasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. ยมกสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ภิกษุหลายรูปได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่ายมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเป็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วจึงถามท่านยมกภิกษุว่า ดูกรท่านยมกะ ทราบว่าท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้า เห็นปานนี้ว่า เรารู้ว่าทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก จริงหรือ? ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้น อาวุโส.
sn22.91 Rāhulasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. ราหุลสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอ อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกจึงจะไม่มี?
sn22.92 Dutiyarāhulasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. ราหุลสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอ ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอกเป็นของก้าวล่วงด้วยดี ในส่วนแห่งมานะสงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว?
sn22.93 Nadīsutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. นทีสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำไหลไปจากภูเขา พัดเอาหญ้า ใบไม้ และไม้เป็นต้น ไปในภายใต้ ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสอันเชี่ยว ถ้าแม้ต้นเลาทั้งหลายพึงเกิดที่ฝั่งทั้งสองข้างแห่งแม่น้ำนั้น ต้นเลาเหล่านั้นพึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น ถ้าแม้หญ้าคาทั้งหลายพึงเกิด หญ้าคาเหล่านั้นพึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น ถ้าแม้หญ้ามุงกระต่ายทั้งหลายพึงเกิด หญ้ามุงกระต่ายเหล่านั้นพึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น ถ้าแม้หญ้าคมบางทั้งหลายพึงเกิด หญ้าคมบางเหล่านั้นพึงน้อมไปสู่แม่นั้น ถ้าแม้ต้นไม้ทั้งหลายพึงเกิด ต้นไม้เหล่านั้นพึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น บุรุษถูกกระแสน้ำพัดไปอยู่ ถ้าแม้พึงจับต้นเลาทั้งหลายต้นเลาเหล่านั้นพึงหลุดไป บุรุษนั้นพึงถึงความพินาศ มีการหลุดนั้นเป็นเหตุ ถ้าแม้พึงจับหญ้าคา หญ้ามุงกระต่าย หญ้าคมบาง ต้นไม้ หญ้าคา เป็นต้นเหล่านั้น พึงหลุดไป บุรุษนั้นพึงถึงความพินาศ มีการหลุดนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป รูปนั้นของปุถุชนนั้นย่อยยับไป ปุถุชนนั้นย่อมถึงความพินาศ มีข้อนั้นเป็นเหตุ. ปุถุชนย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ วิญญาณนั้นของปุถุชนนั้นย่อมย่อยยับไป ปุถุชนนั้นย่อมถึงความพินาศ มีข้อนั้นเป็นเหตุ.
sn22.94 Pupphasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. ปุปผสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่ขัดแย้งกับโลก. แต่โลกย่อมขัดแย้งกับเรา. ผู้กล่าวเป็นธรรมย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ไม่มี. สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี ซึ่งเราก็กล่าวว่าไม่มีนั้น คืออะไร? คือ รูปที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี แม้เราก็กล่าวรูปนั้นว่า ไม่มี. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา โลกสมมติว่า ไม่มี แม้เราก็กล่าววิญญาณนั้นว่า ไม่มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แหละที่เป็นบัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี ซึ่งเราก็กล่าวว่า ไม่มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า มี ซึ่งเราก็กล่าวว่ามีนั้นคืออะไร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า มี แม้เราก็กล่าวรูปนั้นว่า มี. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตในโลกสมมุติว่า มี แม้เราก็กล่าววิญญาณนั้นว่า มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แหละที่บัณฑิตในโลกสมมุติว่า มี ซึ่งเราก็กล่าวว่า มี.
sn22.96 Gomayapiṇḍasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. โคมยสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้นนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น มีอยู่หรือหนอแล? เวทนาอะไรๆ ฯลฯ สัญญาอะไรๆ ฯลฯ สังขารอะไรๆ ฯลฯ วิญญาณอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น มีอยู่หรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ รูปอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น ไม่มีเลย. เวทนาอะไรๆ … สัญญาอะไรๆ … สังขาร อะไรๆ … วิญญาณอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น ไม่มีเลย.
sn22.97 Nakhasikhāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. นขสิขสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุนั้นนั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น มีอยู่หรือหนอแล? เวทนาอะไรๆ ฯลฯ สัญญาอะไรๆ ฯลฯ สังขารอะไรๆ ฯลฯ วิญญาณอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น มีอยู่หรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุรูปอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักเที่ยงอยู่เสมอ อย่างนั้นไม่มีเลย. เวทนาอะไรๆ … สัญญาอะไรๆ … สังขารอะไรๆ … วิญญาณอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น ไม่มีเลย.
sn22.98 Suddhikasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. สามุททกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น มีอยู่หรือหนอแล? เวทนาอะไรๆ ฯลฯ สัญญาอะไรๆ ฯลฯ สังขารอะไรๆ ฯลฯ วิญญาณอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น มีอยู่หรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ รูปอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น ไม่มีเลย. เวทนาอะไรๆ ฯลฯ สัญญาอะไรๆ ฯลฯ สังขารอะไรๆ ฯลฯ วิญญาณอะไรๆ ที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่อยู่เสมออย่างนั้น ไม่มีเลย.
sn22.99 Gaddulabaddhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. คัททูลสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลาย รู้ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏสำหรับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่. มหาสมุทรยังมีสมัยเหือดแห้งไม่เป็นมหาสมุทร แต่เราไม่กล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่จะกระทำที่สุดทุกข์ได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุยังมีสมัยที่ถูกไฟไหม้ พินาศไป มีอยู่ไม่ได้. แต่เรากล่าวไม่ได้ถึงการกระทำที่สุดทุกข์แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ท่องเที่ยวไปมาอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แผ่นดินใหญ่ยังมีสมัยที่ถูกไฟไหม้ พินาศไป มีอยู่ไม่ได้. แต่เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่จะกระทำที่สุดทุกข์ได้.
sn22.100 Dutiyagaddulabaddhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. คัททูลสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 2 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายรู้ ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ถูกล่ามไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง ถ้าแม้มันเดิน มันก็ย่อมเดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันยืน มันก็ย่อมยืนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันนั่ง มันก็ย่อมนั่งใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันนอน มันก็ย่อมนอนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา. ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เดินเขาก็ย่อมเดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้ยืน เขาก็ย่อมยืนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้นั่ง เขาก็ย่อมนั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้นอน เขาย่อมนอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน.
sn22.101 Vāsijaṭasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. นาวาสูตร พระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้ไม่รู้ ไม่เห็น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร จึงมีความสิ้นแห่งอาสวะ. เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ … สัญญาดังนี้ … สังขารดังนี้ … วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ.
sn22.102 Aniccasaññāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. สัญญาสูตร พระนครสาวัตถี 1 10 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัยชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก (หญ้า) ทุกชนิด แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
sn22.103 Antasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. อันตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างเหล่านี้. ส่วน ๔ อย่างเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายะ ๑ ส่วนคือสักกายสมุทัย ๑ ส่วนคือสักกายนิโรธ ๑ ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ๑.
sn22.104 Dukkhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. ทุกขสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
sn22.105 Sakkāyasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. สักกายสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักายะ สักกายสมุทัย สักกายนิโรธ และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
sn22.106 Pariññeyyasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. ปริญเญยยตสูร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้วแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
sn22.107 Samaṇasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. สมณสูตร ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง. สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้นั้น ยอมไม่ได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และไม่ได้รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้.
sn22.110 Arahantasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. อรหันตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง จึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
sn22.111 Chandappahānasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. ฉันทปหีนสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขาร … ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
sn22.112 Dutiyachandappahānasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. ฉันทปหีนสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึงและความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ประจำและที่อาศัยแห่งจิตในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึงและความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ประจำและที่อาศัยแห่งจิตในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณเสีย ฯลฯ ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉะนี้แล.
sn22.113 Avijjāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. อวิชชาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าอวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล? และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่รู้ชัดซึ่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งสัญญา ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งสังขาร ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับวิญญาณ. ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
sn22.114 Vijjāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. วิชชาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล? และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในโลกนี้ รู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสังขาร ฯลฯ รู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับวิญญาณ. ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
sn22.115 Dhammakathikasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. ธัมมกถิกสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ หากว่าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาดกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุธรรมกถึก. หากว่าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. หากว่าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
sn22.116 Dutiyadhammakathikasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. ธัมมกถิกสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ หากว่าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ธรรมกถึก. หากว่าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. หากว่าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
sn22.117 Bandhanasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. พันธนสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ได้รับคำแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมตามเห็นเวทนา … ตามเห็นสัญญา ตามเห็นสังขาร … ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้ถูกเครื่องจำ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้แล้ว เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในทั้งภายนอกจำไว้แล้ว เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งนี้ เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งโน้น ย่อมแก่ทั้งๆ ที่ถูกจำ ย่อมตายทั้งๆ ที่ถูกจำ ย่อมไปจากโลกนี้สู่โลกหน้าทั้งๆ ที่ถูกจำ.
sn22.118 Paripucchitasutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. ปริมุจจิตสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า นั่นไม่ของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn22.119 Dutiyaparipucchitasutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. ปริมุจจิตสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn22.120 Saṁyojaniyasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. สังโยชนสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน สังโยชน์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า สังโยชน์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์.
sn22.121 Upādāniyasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. อุปาทานสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นไฉน อุปาทานเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน.
sn22.124 Kappasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๒. กัปปสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระกัปปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอแล จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก?
sn22.125 Dutiyakappasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๓. กัปปสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระกัปปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอแล มนัสจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบ ระงับ พ้นวิเศษแล้ว?
sn22.126 Samudayadhammasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. สมุทยธัมมสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
sn22.136 Kukkuḷasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. กุกกุฬสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของเร่าร้อน เวทนาเป็นของเร่าร้อน สัญญาเป็นของเร่าร้อน สังขารเป็นของเร่าร้อน วิญญาณเป็นของเร่าร้อน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn22.137 Aniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. อนิจจสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย. เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้นเสีย.
sn22.138 Dutiyaaniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. อนิจจสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
sn22.139 Tatiyaaniccasutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. อนิจจสูตรที่ ๓ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณเสีย.
sn22.140 Dukkhasutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย. เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้นเสีย
sn22.143 Anattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. อนัตตสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตาเสีย ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย. เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้นเสีย.
sn22.144 Dutiyaanattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. อนัตตสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตาเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
sn22.145 Tatiyaanattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. อนัตตสูตรที่ ๓ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตาเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
sn22.146 Nibbidābahulasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๑. กุลปุตตสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา. เมื่อเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
sn22.147 Aniccānupassīsutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๒. กุลปุตตสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา. เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
sn22.148 Dukkhānupassīsutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๓. กุลปุตตสูตรที่ ๓ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา ฯลฯ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
sn22.149 Anattānupassīsutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแห่งกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา. เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
sn22.150 Ajjhattasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑. อัชฌัตติกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.151 Etaṁmamasutta Khandhasaṁyuttaṁ๒. เอตังมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร บุคคลจึงตามเห็นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.152 Soattāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๓. เอโสอัตตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.153 Nocamesiyāsutta Khandhasaṁyuttaṁ๔. โนจเมสิยาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไร มีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.154 Micchādiṭṭhisutta Khandhasaṁyuttaṁ๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.155 Sakkāyadiṭṭhisutta Khandhasaṁyuttaṁ๖. สักกายทิฏฐิสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.156 Attānudiṭṭhisutta Khandhasaṁyuttaṁ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดอัตตานุทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.157 Abhinivesasutta Khandhasaṁyuttaṁ๘. อภินิเวสสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดความพัวพันด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.158 Dutiyaabhinivesasutta Khandhasaṁyuttaṁ๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์ และความยึดมั่น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn22.159 Ānandasutta Khandhasaṁyuttaṁ๑๐. อานันทสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
sn23.1 Mārasutta Rādhasaṁyuttaṁ๑. มารสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่า มาร?
sn23.2 Sattasutta Rādhasaṁyuttaṁ๒. สัตตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
sn23.3 Bhavanettisutta Rādhasaṁyuttaṁ๓. ภวเนตติสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า กิเลสเครื่องนำไปในภพ ในภพ ดังนี้ กิเลสเครื่องนำไปในภพเป็นไฉน? ความดับกิเลสเครื่องนำไปในภพเป็นไฉน?
sn23.4 Pariññeyyasutta Rādhasaṁyuttaṁ๔. ปริญเญยยสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ เราจักแสดงปริญเญยยธรรม ธรรมอันบุคคลควรกำหนดรู้ ปริญญา ความกำหนดรู้ และปริญญาตาวีบุคคล บุคคลผู้กำหนดรู้ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ท่านพระราธะ รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ ปริญเญยยธรรมเป็นไฉน? ดูกรราธะ รูปแลเป็นปริญเญยยธรรม เวทนาเป็นปริญเญยยธรรม สัญญาเป็นปริญเญยยธรรม สังขารเป็นปริญเญยยธรรม วิญญาณเป็นปริญเญยยธรรม. ดูกรราธะ ธรรมเหล่านี้เรากล่าวว่า ปริญเญยยธรรม: ดูกรราธะ ปริญญาเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ. นี้เรากล่าวว่าปริญญา. ดูกรราธะ ปริญญาตาวีบุคคลเป็นไฉน? ผู้ที่เขาพึงเรียกกันว่า พระอรหันต์ คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรราธะ ผู้นี้เรากล่าวว่า ปริญญาตาวีบุคคล.
sn23.5 Samaṇasutta Rādhasaṁyuttaṁ๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑ ดูกรราธะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งคุณ โทษ และธรรมเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นจะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้เลย.
sn23.7 Sotāpannasutta Rādhasaṁyuttaṁ๗. โสตาปันนสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรราธะ ในกาลใดแลอริยสาวกย่อมรู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรมเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง. เมื่อนั้นอริยสาวกนี้เรากล่าวว่า เป็นโสดาบันผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn23.8 Arahantasutta Rādhasaṁyuttaṁ๘. อรหันตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป … อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรราธะ ในกาลใดแลภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรมเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรราธะ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นอรหันตขีณาสพ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว ผู้หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
sn23.9 Chandarāgasutta Rādhasaṁyuttaṁ๙. ฉันทราคสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ เธอจงสละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็นของอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยาน อยากในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขาร … ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้นจักเป็นธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
sn23.10 Dutiyachandarāgasutta Rādhasaṁyuttaṁ๑๐. ฉันทราคสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิตในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็นของอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา. เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิตในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขาร … ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้นจักเป็นธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
sn23.11 Mārasutta Rādhasaṁyuttaṁ๑. มารสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ มารเป็นไฉนหนอ?
sn23.12 Māradhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๒. มารธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มารธรรม มารธรรม ดังนี้ มารธรรมเป็นไฉนหนอ? พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นมารธรรม เวทนาเป็นมารธรรม สัญญาเป็นมารธรรม สังขารเป็นมารธรรม วิญญาณเป็นมารธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn23.13 Aniccasutta Rādhasaṁyuttaṁ๓. อนิจจสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนิจจัง อนิจจัง ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนิจจัง? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนิจจัง เวทนาเป็นอนิจจัง สัญญาเป็นอนิจจัง สังขารเป็นอนิจจัง วิญญาณเป็นอนิจจัง. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
sn23.14 Aniccadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๔. อนิจจธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนิจจธรรม อนิจจธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนิจจธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า รูปเป็นอนิจจธรรม เวทนาเป็นอนิจจธรรม สัญญาเป็นอนิจจธรรม สังขารเป็นอนิจจธรรม ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
sn23.15 Dukkhasutta Rādhasaṁyuttaṁ๕. ทุกขสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ อะไรหนอเป็นทุกข์? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn23.16 Dukkhadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๖. ทุกขธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกขธรรม ทุกขธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นทุกขธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นทุกขธรรม เวทนาเป็นทุกขธรรม สัญญาเป็นทุกขธรรม สังขารเป็นทุกขธรรม วิญญาณเป็นทุกขธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn23.17 Anattasutta Rādhasaṁyuttaṁ๗. อนัตตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตา อนัตตา ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตา? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
sn23.18 Anattadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๘. อนัตตธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตธรรม อนัตตธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตธรรม เวทนาเป็นอนัตตธรรม สัญญาเป็นอนัตตธรรม สังขารเป็นอนัตตธรรม วิญญาณเป็นอนัตตธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn23.19 Khayadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๙. ขยธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ขยธรรม ขยธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นขยธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นขยธรรม เวทนาเป็นขยธรรม สัญญาเป็นขยธรรม สังขารเป็นขยธรรม วิญญาณเป็นขยธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn23.20 Vayadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๑๐. วยธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วยธรรม วยธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นวยธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นวยธรรม เวทนาเป็นวยธรรม สัญญาเป็นวยธรรม สังขารเป็นวยธรรม วิญญาณเป็นวยธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn23.21 Samudayadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๑๑. สมุทยธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สมุทยธรรม สมุทยธรรม ดังนี้ อะไรหนอ เป็นสมุทยธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นสมุทยธรรม เวทนาเป็นสมุทยธรรม สัญญาเป็นสมุทยธรรม สังขารเป็นสมุทยธรรม วิญญาณเป็นสมุทยธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
sn23.22 Nirodhadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๑๒. นิโรธธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า นิโรธธรรม นิโรธธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็น นิโรธธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นนิโรธธรรม เวทนาเป็นนิโรธธรรม สัญญาเป็นนิโรธธรรม สังขารเป็นนิโรธธรรม วิญญาณเป็นนิโรธธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้.
sn23.23-33 Mārādisuttaekādasaka๑. มารสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้ มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย. ดูกรราธะ ก็อะไรเล่าเป็นมาร? ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย. เวทนาเป็นมาร … สัญญาเป็นมาร … สังขารเป็นมาร … วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย. ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.
sn23.34 Nirodhadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๑๒. นิโรธธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย. ดูกรราธะ อะไรเป็นนิโรธธรรม? ดูกรราธะ รูปเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย. เวทนาเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ สัญญาเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ สังขารเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ วิญญาณเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย.
sn23.35-45 Mārādisuttaekādasaka๑. มารสูตร พระนครสาวัตถี 2 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งนั้นเสีย. ดูกรราธะ สิ่งใดเล่าเป็นมาร? ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้นเสีย ฯลฯ วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย. ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความกำหนัดในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ
sn23.46 Nirodhadhammasutta Rādhasaṁyuttaṁ๑๒. นิโรธธัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย. ดูกรราธะ ก็สิ่งใดเล่าเป็นนิโรธธรรม? ดูกรราธะ รูปแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย. ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.
sn24.2 Etaṁmamasutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๒. เอตังมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอ มีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
sn24.3 Soattāsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๓. โสอัตตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา ดังนี้? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา.
sn24.4 Nocamesiyāsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๔. โนจเมสิยาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอ มีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี ดังนี้? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มีและบริขารของเราจักไม่มี. เมื่อเวทนามีอยู่ … เมื่อสัญญามีอยู่ … เมื่อสังขารมีอยู่ … เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มีและบริขารของเราจักไม่มี.
sn24.5 Natthidinnasutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๕. นัตถิทินนสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอ มีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ เมื่อใดทำกาลกิริยา เมื่อนั้นธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งเตียง จะหามเขาไป รอยเท้าปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า (ต่อมา) ก็กลายเป็นกระดูกสีเทาสีนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกที่พูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.6 Karotosutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๖. กโรโตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ตัดเอง ใช้ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เศร้าโศกเอง ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก ลำบากเอง ทำให้ผู้อื่นลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้ผู้อื่นดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภริยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียว บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเอง ใช้ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเอง ใช้ผู้อื่นให้ ให้ทานบูชาเอง ใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.7 Hetusutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๗. เหตุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามภาวะแห่งความแน่นอนและความไม่แน่นอน ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าพระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.8 Mahādiṭṭhisutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๘. มหาทิฏฐิสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีแบบอย่างอันใครเนรมิต เป็นสภาพไม่มีผล ตั้งอยู่ มั่นคง ดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองนั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์แก่กันและกัน. สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน? คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะ. สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีแบบอย่างอันใครเนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองนั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์แก่กันและกัน. แม้ผู้ใดจะเอาศัสตราอย่างคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใคร. เป็นแต่ศัสตราสอดเข้าไปตามช่องระหว่าง ๗ กองเท่านั้น. อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๖,๐๐๐ กรรม ๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรม ๑ กรรมกึ่ง ปฏิปทา ๖๒ อันตร ๖๒ กัป ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวะ ๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐครรภ์ ๗ สภาวทิพย์ ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ปวุฏใหญ่ ๗ ปวุฏ ๗๐๐ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป ๘๔๐,๐๐๐ เหล่านี้ ทั้งพาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้ ความหวังว่าเราจักอบรมกรรมที่ยังไม่อำนวยผลให้อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้วจักทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ที่ทำให้มีที่สิ้นสุดได้ เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน ย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นและเลื่อนลง. พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไป เสวยสุขและทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไปย่อมคลี่หมดลงไปเอง ฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.9 Sassatadiṭṭhisutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.10 Asassatadiṭṭhisutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.11 Antavāsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๑. อันตวาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn24.12 Anantavāsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๒. อนันตวาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกไม่มีที่สุด? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่ได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
sn24.13 Taṁjīvaṁtaṁsarīraṁsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๓. ตังชีวังตังสรีรังสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn24.14 Aññaṁjīvaṁaññaṁsarīraṁsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn24.15 Hotitathāgatosutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๕. โหติตถาคตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
sn24.16 Nahotitathāgatosutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๖. นโหติตถาคตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีก? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn24.17 Hoticanacahotitathāgatosutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๗. โหติจนโหติตถาคตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่มีเกิดอีกก็มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn24.18 Nevahotinanahotitathāgatosutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.19 Vātasutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑. นวาตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.36 Nevahotinanahotisutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.37 Rūpīattāsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑๙. รูปีอัตตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมไม่สลายไป? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.38 Arūpīattāsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๒๐. อรูปีอัตตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีรูปเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป ฯลฯ
sn24.39 Rūpīcaarūpīcaattāsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๒๑. รูปีจอรูปีจอัตตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. อัตตาทั้งที่มีรูปทั้งที่ไม่มีรูป เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป ฯลฯ
sn24.45 Navātasutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑. นวาตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.70 Adukkhamasukhīsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๒๖. อทุกขมสุขีอัตตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn24.71 Navātasutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๑. นวาตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.
sn24.96 Adukkhamasukhīsutta Diṭṭhisaṁyuttaṁ๒๖. อทุกขมสุขีอัตตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุขเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์ทั้งสุข เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่สลายไป.
sn25.1 Cakkhusutta Okkantasaṁyuttaṁ๑. จักขุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่าสัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่าธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่าเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn25.2 Rūpasutta Okkantasaṁyuttaṁ๒. รูปสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา เสียงไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา กลิ่นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา รสไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โผฏฐัพพะไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญาโดยประมาณอย่างนี้แก่ผู้ใด. เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่าเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn25.3 Viññāṇasutta Okkantasaṁyuttaṁ๓. วิญญาณสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้แก่ผู้ใด. เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn25.4 Samphassasutta Okkantasaṁyuttaṁ๔. ผัสสสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัสไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn25.5 Samphassajasutta Okkantasaṁyuttaṁ๕. เวทนาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสสชาเวทนาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
sn25.6 Rūpasaññāsutta Okkantasaṁyuttaṁ๖. สัญญาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญาไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
sn25.7 Rūpasañcetanāsutta Okkantasaṁyuttaṁ๗. เจตนาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปสัญเจตนาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธรรมสัญเจตนาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn25.8 Rūpataṇhāsutta Okkantasaṁyuttaṁ๘. ตัณหาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏธัพพตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn25.9 Pathavīdhātusutta Okkantasaṁyuttaṁ๙. ธาตุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อากาสธาตุ ฯลฯ วิญญาณธาตุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn25.10 Khandhasutta Okkantasaṁyuttaṁ๑๐. ขันธสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้แก่ผู้ใด. เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
sn26.1 Cakkhusutta Uppādasaṁyuttaṁ๑. จักขุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งหู ฯลฯ แห่ง ลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ แห่งใจ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.2 Rūpasutta Uppādasaṁyuttaṁ๒. รูปสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.3 Viññāṇasutta Uppādasaṁyuttaṁ๓. วิญญาณสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ แห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ แห่งมโนวิญญาณ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.4 Samphassasutta Uppādasaṁyuttaṁ๔. ผัสสสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ แห่งโสตสัมผัส ฯลฯ แห่งฆานสัมผัส ฯลฯ แห่งกายสัมผัส ฯลฯ แห่งมโนสัมผัส นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.5 Samphassajasutta Uppādasaṁyuttaṁ๕. เวทนาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.6 Saññāsutta Uppādasaṁyuttaṁ๖. สัญญาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูปสัญญา ฯลฯ แห่งสัททสัญญา ฯลฯ แห่งคันธสัญญา ฯลฯ แห่งรสสัญญา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ แห่งธรรมสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.7 Sañcetanāsutta Uppādasaṁyuttaṁ๗. เจตนาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ แห่งสัททสัญเจตนา ฯลฯ แห่งคันธสัญเจตนา ฯลฯ แห่งรสสัญเจตนา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ แห่งธรรมสัญเจตนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.8 Taṇhāsutta Uppādasaṁyuttaṁ๘. ตัณหาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูปตัณหา ฯลฯ แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.9 Dhātusutta Uppādasaṁyuttaṁ๙. ธาตุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ฯลฯ แห่งวาโยธาตุ ฯลฯ แห่งอากาสธาตุ ฯลฯ แห่งวิญญาณธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn26.10 Khandhasutta Uppādasaṁyuttaṁ๑๐. ขันธสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
sn27.1 Cakkhusutta Kilesasaṁyuttaṁ๑. จักขุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในหู นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจมูก นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในลิ้น นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในกาย นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งใจในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้นจิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมอันทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.2 Rūpasutta Kilesasaṁyuttaṁ๒. รูปสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ฯลฯ ในธรรมารมณ์ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุและอุปกิเลสแห่งใจในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมอันจะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.3 Viññāṇasutta Kilesasaṁyuttaṁ๓. วิญญาณสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน จักขุวิญญาณ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในโสตวิญญาณ ฯลฯ ในฆานวิญญาณ ฯลฯ ในชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ในกายวิญญาณ ฯลฯ ในมโนวิญญาณ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.4 Samphassasutta Kilesasaṁyuttaṁ๔. ผัสสสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักขุสัมผัส นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในโสตสัมผัส ฯลฯ ในฆานสัมผัส ฯลฯ ในชิวหาสัมผัส ฯลฯ ในกายสัมผัส ฯลฯ ในมโนสัมผัส นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.5 Samphassajasutta Kilesasaṁyuttaṁ๕. เวทนาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.6 Saññāsutta Kilesasaṁyuttaṁ๖. สัญญาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปสัญญา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททสัญญา ฯลฯ ในคันธสัญญา ฯลฯ ในรสสัญญา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ในธรรมสัญญา นี้เป็นอุปกิเลส แห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.7 Sañcetanāsutta Kilesasaṁyuttaṁ๗. เจตนาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปสัญเจตนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททสัญเจตนา ฯลฯ ในคันธสัญเจตนา ฯลฯ ในรสสัญเจตนา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ในธรรมสัญเจตนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.8 Taṇhāsutta Kilesasaṁyuttaṁ๘. ตัณหาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ในคันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.9 Dhātusutta Kilesasaṁyuttaṁ๙. ธาตุสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในปฐวีธาตุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอาโปธาตุ ฯลฯ ในเตโชธาตุ ฯลฯ ในวาโยธาตุ ฯลฯ ในอากาสธาตุ ในวิญญาณธาตุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn27.10 Khandhasutta Kilesasaṁyuttaṁ๑๐. ขันธสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา นี้เป็นกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้นแล จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
sn28.1 Vivekajasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๑. วิเวกสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี. ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็นท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปยังพระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn28.2 Avitakkasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๒. อวิตักกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn28.3 Pītisutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๓. ปีติสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn28.4 Upekkhāsutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๔. อุเปกขาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn28.5 Ākāsānañcāyatanasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๕. อากาสสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจดผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn28.6 Viññāṇañcāyatanasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๖. วิญญาณสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn28.7 Ākiñcaññāyatanasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๗. อากิญจัญญายตนสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn28.8 Nevasaññānāsaññāyatanasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่าน ผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn28.9 Nirodhasamāpattisutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๙. นิโรธสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี. ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็นท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปยังพระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกลจึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?
sn29.1 Suddhikasutta Nāgasaṁyuttaṁ๑. สุทธกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ นาคที่เป็นอันฑชะ เกิดในไข่ ๑ นาคที่เป็นชลาพุชะ เกิดในครรภ์ ๑ นาคที่เป็นสังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ๑ นาคที่เป็นอุปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้แล.
sn29.2 Paṇītatarasutta Nāgasaṁyuttaṁ๒. ปณีตตรสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ นาคเป็นอัณฑชะ ๑ นาคที่เป็นชลาพุชะ ๑ นาคที่เป็นสังเสทชะ ๑ นาคที่เป็นอุปปาติกะ ๑. ในนาค ๔ จำพวกนั้น นาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และอุปปาติกะ ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ. นาคที่เป็นสังเสทชะและอุปปาติกะประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะ. นาคที่เป็นอุปปาติกะประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะและสังเสทชะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้แล.
sn29.3 Uposathasutta Nāgasaṁyuttaṁ๓. อุโปสถสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นอัณฑชะ บางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้?
sn29.4 Dutiyauposathasutta Nāgasaṁyuttaṁ๔. อุโปสถสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นชลาพุชะบางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้.
sn29.5 Tatiyauposathasutta Nāgasaṁyuttaṁ๕. อุโปสถสูตรที่ ๓ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นสังเสทชะบางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้?
sn29.6 Catutthauposathasutta Nāgasaṁyuttaṁ๖. อุโปสถสูตรที่ ๔ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นอุปปาติกะบางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้?
sn29.7 Sutasutta Nāgasaṁyuttaṁ๗. สุตสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า?
sn29.8 Dutiyasutasutta Nāgasaṁyuttaṁ๘. สุตสูตรที่ ๒ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ พระเจ้าข้า?
sn29.9 Tatiyasutasutta Nāgasaṁyuttaṁ๙. สุตสูตรที่ ๓ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ พระเจ้าข้า?
sn29.10 Catutthasutasutta Nāgasaṁyuttaṁ๑๐. สุตสูตรที่ ๔ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ พระเจ้าข้า?
sn29.11-20 Aṇḍajadānūpakārasuttadasaka๑๑–๒๐ อัณฑชทานูปการสูตรที่ ๑–๑๐ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า?
sn29.21-50 Jalābujādidānūpakārasuttattiṁsaka๒๑–๕๐ ชลาพุชาทิทานูปการสูตรที่ ๑–๓๐ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ … ของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ … ของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ?
sn30.1 Suddhikasutta Supaṇṇasaṁyuttaṁ๑. สุทธกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑ ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ๑ ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๑ ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้แล.
sn30.2 Harantisutta Supaṇṇasaṁyuttaṁ๒. หรติสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑ ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ๑ ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๑. ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ๑. ในครุฑทั้ง ๔ จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้ นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้. ครุฑที่เป็นชลาพุชะย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะไปได้ นำนาคที่เป็นสังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้. ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะและสังเสทชะไปได้ นำนาคที่เป็นอุปปาติกะไปไม่ได้ ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และอุปปาติกะไปได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑมี ๔ จำพวกนี้แล.
sn30.3 Dvayakārīsutta Supaṇṇasaṁyuttaṁ๓. ทวยการีสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว. นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า?
sn30.4-6 Dutiyādidvayakārīsuttattika๔–๖. ทวยการีสูตรที่ ๒–๔ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ … ของพวกครุฑที่เป็นสังเสทชะ … ของพวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ พระเจ้าข้า?
sn30.7-16 Aṇḍajadānūpakārasuttadasaka๗–๑๖ อัณฑชทานูปการสูตรที่ ๑–๑๐ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า?
sn30.17-46 Jalābujadānūpakārasutta๑๗–๔๖ ชลาพุชาทิทานูปการสูตรที่ ๑–๓๐ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระ ผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ … ของพวกครุฑที่เป็นสังเสทชะ … ของพวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ พระเจ้าข้า?
sn31.1 Suddhikasutta Gandhabbakāyasaṁyuttaṁ๑. สุทธกสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์เป็นไฉน? พวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รากก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่นก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะพี้ก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือกก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะเทาะก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอกก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผลก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รสก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่นก็มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนี้เราเรียกว่า พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์
sn31.2 Sucaritasutta Gandhabbakāyasaṁyuttaṁ๒. สุจริตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์ พระเจ้าข้า?
sn31.3 Mūlagandhadātāsutta Gandhabbakāyasaṁyuttaṁ๓. มูลคันธทาตาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก พระเจ้าข้า?
sn31.4-12 Sāragandhādidātāsuttanavaka๔–๑๒. สารคันธาทิทาตาสูตร ที่ ๑–๙ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น … ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะพี้ … ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก … ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะเทาะของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ … ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก … ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล … ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส … ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น?
sn31.13-22 Mūlagandhadānūpakārasuttadasaka๑๓–๒๒. มูลคันธทานูปการสูตร ที่ ๑–๑๐ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก พระเจ้าข้า?
sn31.23-112 Sāragandhādidānūpakārasuttanavutika๒๓–๑๓๒. สารคันธาทิทานูปการสูตร ที่ ๑–๙๐ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น … สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะพี้ … สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก … สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะเทาะ … สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ … สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก … สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล … สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส … สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น พระเจ้าข้า?
sn32.1 Suddhikasutta Valāhakasaṁyuttaṁ๑. เทสนาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหกแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหกเป็นไฉน? พวกเทวดาที่เป็นสีตวลาหกก็มี ที่เป็นอุณหวลาหกก็มี ที่เป็นอัพภวลาหกก็มี ที่เป็นวาตวลาหกก็มี ที่เป็นวัสสวลาหกก็มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนี้เราเรียกว่า พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก.
sn32.2 Sucaritasutta Valāhakasaṁyuttaṁ๒. สุจริตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก พระเจ้าข้า?
sn32.3-12 Sītavalāhakadānūpakārasuttadasaka๓-๑๒ สีตวลาหกทานูปการสูตร ที่ ๑–๑๐ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็นสีตวลาหก พระเจ้าข้า?
sn32.13-52 Uṇhavalāhakadānūpakārasutta๑๓–๕๒ อุณหวลาหกทานูปการาทิสูตร ที่ ๑–๕๐ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็นอุณหวลาหก …?
sn32.53 Sītavalāhakasutta Valāhakasaṁyuttaṁ๕๓. สีตวลาหกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ความหนาวมีในบางคราว พระเจ้าข้า?
sn32.54 Uṇhavalāhakasutta Valāhakasaṁyuttaṁ๕๔. อุณหวลาหกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ความร้อนมีในบางคราว พระเจ้าข้า?
sn32.55 Abbhavalāhakasutta Valāhakasaṁyuttaṁ๕๕. อัพภวลาหกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เมฆหมอกมีในบางคราว พระเจ้าข้า?
sn32.56 Vātavalāhakasutta Valāhakasaṁyuttaṁ๕๖. วาตวลาหกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้มีลมในบางคราว พระเจ้าข้า?
sn32.57 Vassavalāhakasutta Valāhakasaṁyuttaṁ๕๗. วัสสวลาหกสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้มีฝนในบางคราว พระเจ้าข้า?
sn33.1 Rūpaaññāṇasutta Vacchagottasaṁyuttaṁ๑. รูปอัญญาณสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อว่าวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?
sn33.2 Vedanāaññāṇasutta Vacchagottasaṁyuttaṁ๒. เวทนาอัญญาณสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?
sn33.3 Saññāaññāṇasutta Vacchagottasaṁyuttaṁ๓. สัญญาณอัญญาณสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?
sn33.4 Saṅkhāraaññāṇasutta Vacchagottasaṁyuttaṁ๔. สังขารอัญญาณสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?
sn33.5 Viññāṇaaññāṇasutta Vacchagottasaṁyuttaṁ๕. วิญญาณอัญญาณสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?
sn33.6-10 Rūpaadassanādisuttapañcaka๖–๑๐ รูปอทัสสนาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 5 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่าง เหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในเวทนา …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในสัญญา …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในสังขารทั้งหลาย …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในวิญญาณ …
sn33.11-15 Rūpaanabhisamayādisuttapañcaka๑๑–๑๕ รูปอนภิสมยาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 5 0 Eng  ไทย  Рус พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในรูป …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในเวทนา …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในสัญญา …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในสังขารทั้งหลาย …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในวิญญาณ …
sn33.16-20 Rūpaananubodhādisuttapañcaka๑๖–๒๐ รูปอนนุโพธาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 5 0 Eng  ไทย  Рус พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในรูป …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในเวทนา …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในสัญญา …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในสังขารทั้งหลาย …
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในวิญญาณ …
sn33.21-25 Rūpaappaṭivedhādisuttapañcaka๒๑–๒๕ รูปอัปปฏิเวธาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยง ฯลฯ เพราะไม่แทงตลอดในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
sn33.26-30 Rūpaasallakkhaṇādisuttapañcaka๒๖-๓๐ รูปอสัลลักขณาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่กำหนดในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
sn33.31-35 Rūpaanupalakkhaṇādisuttapañcaka๓๑–๓๕ รูปอนุปลักขณาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เข้าไปกำหนดในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
sn33.36-40 Rūpaappaccupalakkhaṇādisuttapañcaka๓๖–๔๐ รูปอสมเปกขณาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เพ่งในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
sn33.41-45 Rūpaasamapekkhaṇādisuttapañcaka๔๑–๔๕ รูปอัปปัจจเวกขณาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่พิจารณาในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
sn33.46-50 Rūpaappaccupekkhaṇādisuttapañcaka๔๖–๕๐ รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสูตรที่ ๑–๕ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
sn33.51-54 Rūpaappaccakkhakammādisuttacatukka๕๑–๕๔ รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสูตรที่ ๑–๔ พระนครสาวัตถี 4 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในเวทนา ฯลฯ
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในสัญญา ฯลฯ
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในสังขาร ทั้งหลาย ฯลฯ
sn33.55 Viññāṇaappaccakkhakammasutta Vacchagottasaṁyuttaṁ๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในวิญญาณ ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ในความดับแห่งวิญญาณ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง. ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.
sn34.1 Samādhimūlakasamāpattisutta Jhānasaṁyuttaṁ๑. สมาธิสมาปัตติสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการเข้าในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่า. ผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส ในจำนวนนั้นหัวเนยใสเขากล่าวว่าเป็นเลิศ ฉันใด ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าในสมาธิ. ก็นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn34.2 Samādhimūlakaṭhitisutta Jhānasaṁyuttaṁ๒. ฐิติสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น. เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส ในจำนวนนั้นหัวเนยใสเขากล่าวว่าเป็นเลิศ ฉันใด ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ. ก็นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn34.3 Samādhimūlakavuṭṭhānasutta Jhānasaṁyuttaṁ๓. วุฏฐานสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้นผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
sn34.4 Samādhimūlakakallitasutta Jhānasaṁyuttaṁ๔. กัลลิตสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
sn34.5 Samādhimūlakaārammaṇasutta Jhānasaṁyuttaṁ๕. อารัมมณสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
sn34.6 Samādhimūlakagocarasutta Jhānasaṁyuttaṁ๖. โคจรสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ที่ได้ฌานฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
sn34.7 Samādhimūlakaabhinīhārasutta Jhānasaṁyuttaṁ๗. อภินีหารสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
sn34.8 Samādhimūlakasakkaccakārīsutta Jhānasaṁyuttaṁ๘. สักกัจจการีสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
sn34.9 Samādhimūlakasātaccakārīsutta Jhānasaṁyuttaṁ๙. สาตัจจการีสูตร พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
sn34.10 Samādhimūlakasappāyakārīsutta Jhānasaṁyuttaṁ๑๐. สัปปายการีสูตร พระนครสาวัตถี. พระนครสาวัตถี พระนครสาวัตถี 18 1 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. นับว่าเป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และที่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ. นับว่าเป็นเลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌาน ทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิและฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถีฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ และไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการออกจากสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความเป็นฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนไม่กระทำความเคารพในสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่กระทำความเคารพในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ

พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสเขากล่าวว่าเป็นเลิศ ฉันใด ผู้ได้ฌานที่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. ก็นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn35.33-42 Jātidhammādisuttadasakaชาติธรรมวรรคที่ ๔ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดา คืออะไรเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความเกิดเป็น ธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ
sn35.43-51 Aniccādisuttanavakaอนิจจวรรคที่ ๕ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงที่เป็นของไม่เที่ยง คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ
sn35.53 Avijjāpahānasutta Saḷāyatanasaṁyuttaṁอวิชชาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป … จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ
sn35.63 Paṭhamamigajālasutta Saḷāyatanasaṁyuttaṁมิคชาลสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่าผู้มีปรกติอยู่ผู้เดียว ผู้มีปรกติอยู่ผู้เดียวฉะนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า ภิกษุจึงชื่อว่ามีปรกติอยู่ผู้เดียว และด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า อยู่ด้วยเพื่อน ๒ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญหมกหมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอยินดีกล่าวสรรเสริญหมกหมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่าผู้มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญหมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดีกล่าวสรรเสริญหมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มีปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหญ้าและป่าไม้ เงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากลมแต่ชนเดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของมนุษย์ผู้ต้องการสงัด สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ยังเรียกว่ามีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นยังมีตัณหาเป็นเพื่อน ๒ เขายังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒
sn35.74 Paṭhamagilānasutta Saḷāyatanasaṁyuttaṁคิลานสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้นมีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏนามและโคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงอาศัยความเอ็นดูเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่า ภิกษุใหม่และว่าเป็นไข้ ทรงทราบชัดว่าเป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลยภิกษุ เธออย่าปูอาสนะไว้ที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ
sn35.97 Pamādavihārīsutta Saḷāyatanasaṁyuttaṁปมาทวิหารีสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาทและภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ก็ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบาก ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่นธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์ จิตย่อมแส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี ปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ด้วยประการฉะนี้ ฯ
sn35.120 Sāriputtasaddhivihārikasutta Saḷāyatanasaṁyuttaṁสารีปุตตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านผู้มีอายุสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านลาสิกขาสึกเสียแล้ว ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ ผู้ที่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
sn35.121 Rāhulovādasutta Saḷāyatanasaṁyuttaṁราหุลสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี 2 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัยอย่างนี้ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มวิมุติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรเราควรแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไปเถิด ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัตเสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกันเพื่อพักผ่อนในกลางวัน ฯ ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปข้างหลัง ก็สมัยนั้นพวกเทวดาหลายพันติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไป ฯ
sn35.238 Āsīvisopamasutta Saḷāyatanasaṁyuttaṁอาสีวิสสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 13 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า มีอสรพิษ ๔ จำพวก ซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน อสรพิษ ๔ จำพวก นี้ มีฤทธิ์เดชแรงกล้า ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลานั้นท่านก็จะพึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ
sn40.1 Paṭhamajhānapañhāsutta Moggallānasaṁyuttaṁสูตรที่ ๑ - ๑๐ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอโอกาสเมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่าที่เรียกว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน สมัยต่อมาเราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
sn43.1 Kāyagatāsatisutta Asaṅkhatasaṁyuttaṁอสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
sn44.1 Khemāsutta Abyākatasaṁyuttaṁเขมาเถรีสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี ในระหว่างพระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกต พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากเมืองสาเกตจะไปยังพระนครสาวัตถี ระหว่างพระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกต 4 7 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระเขมาภิกษุณีเมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นโกศล เข้าอยู่ ณ ที่โตรณวัตถุ ในระหว่างพระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกต ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากเมืองสาเกตจะไปยังพระนครสาวัตถี ประทับแรม ๑ ราตรีที่โตรณวัตถุ ระหว่างพระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกต ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมาตรัสสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปดูให้รู้ว่า ณ ที่โตรณวัตถุมีสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควรที่เราจะพึงเข้าไปหา ณ วันนี้หรือไม่ ราชบุรุษนั้นทูลรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว เที่ยวไปยังโตรณวัตถุจนทั่ว ก็ไม่ได้พบเห็นสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควรที่พระเจ้าปเสนทิโกศลจะพึงเสด็จเข้าไปหา ฯ
sn45.1 Avijjāsutta Maggasaṁyuttaṁอวิชชาสูตร เขตพระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.
sn45.3 Sāriputtasutta Maggasaṁyuttaṁสารีปุตตสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นเทียวนะ พระเจ้าข้า.
sn45.4 Jāṇussoṇibrāhmaṇasutta Maggasaṁyuttaṁพราหมณสูตร สาวัตถีนิทาน. ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี 6 2 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยรถเทียมด้วยม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่ด้ามพัดก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ดังนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยรถม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่ด้ามก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ได้ไหมหนอ?
sn45.5 Kimatthiyasutta Maggasaṁyuttaṁกิมัตถิยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถามพวกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร? พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ทุกข์ พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ.
sn45.6 Paṭhamaaññatarabhikkhusutta Maggasaṁyuttaṁภิกขุสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน?
sn45.7 Dutiyaaññatarabhikkhusutta Maggasaṁyuttaṁภิกขุสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 2 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไรหนอ? พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.
sn45.8 Vibhaṅgasutta Maggasaṁyuttaṁวิภังคสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
sn45.9 Sūkasutta Maggasaṁyuttaṁสุภสูตร สาวัตถีนิทาน 1 2 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ผิด ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความเห็นตั้งไว้ผิด.
sn45.10 Nandiyasutta Maggasaṁyuttaṁนันทิยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล นันทิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมเท่าไรหนอแล ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด?
sn45.11 Paṭhamavihārasutta Maggasaṁyuttaṁวิหารสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ในกึ่งเดือนนี้ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.
sn45.12 Dutiyavihārasutta Maggasaṁyuttaṁวิหารสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.
sn45.13 Sekkhasutta Maggasaṁyuttaṁเสขสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนันแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระเสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอฦ จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นของพระเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นของพระเสขะ ดูกรภิกษะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ
sn45.14 Paṭhamauppādasutta Maggasaṁyuttaṁอุปปาทสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุธทเจ้า ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
sn45.15 Dutiyauppādasutta Maggasaṁyuttaṁอุปปาทสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต.
sn45.16 Paṭhamaparisuddhasutta Maggasaṁyuttaṁปริสุทธิสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
sn45.17 Dutiyaparisuddhasutta Maggasaṁyuttaṁปริสุทธิสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของ พระสุคตธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต.
sn45.21 Micchattasutta Maggasaṁyuttaṁมิจฉัตตสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมิจฉัตตะ (ความผิด) และ สัมมัตตะ (ความถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.22 Akusaladhammasutta Maggasaṁyuttaṁอกุศลธรรมสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.23 Paṭhamapaṭipadāsutta Maggasaṁyuttaṁปฏิปทาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.24 Dutiyapaṭipadāsutta Maggasaṁyuttaṁปฏิปทาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ฟังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสต์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ.
sn45.25 Paṭhamaasappurisasutta Maggasaṁyuttaṁอสัปปุริสสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.26 Dutiyaasappurisasutta Maggasaṁyuttaṁอสัปปุริสสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.27 Kumbhasutta Maggasaṁyuttaṁกุมภสูตร สาวัตถีนิทาน 1 2 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ยาก.
sn45.28 Samādhisutta Maggasaṁyuttaṁสมาธิสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.29 Vedanāsutta Maggasaṁyuttaṁเวทนาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เวทนา ๓ ประการนี้แล.
sn45.30 Uttiyasutta Maggasaṁyuttaṁอุตติยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ?
sn45.31 Paṭhamapaṭipattisutta Maggasaṁyuttaṁปฏิปัตติสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติและสัมมาปฏิบัติแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.32 Dutiyapaṭipattisutta Maggasaṁyuttaṁปฏิปันนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้ปฏิบัติผิดและบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.33 Viraddhasutta Maggasaṁyuttaṁวิรัทธสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้นย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
sn45.34 Pāraṅgamasutta Maggasaṁyuttaṁปารสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ ธรรม ๘ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.
sn45.35 Paṭhamasāmaññasutta Maggasaṁyuttaṁสามัญญสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.36 Dutiyasāmaññasutta Maggasaṁyuttaṁสามัญญสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.37 Paṭhamabrahmaññasutta Maggasaṁyuttaṁพรหมัญญสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ (ความเป็นพรหม) และพรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.38 Dutiyabrahmaññasutta Maggasaṁyuttaṁพรหมัญญสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะและประโยชน์แห่งพรหมัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.39 Paṭhamabrahmacariyasutta Maggasaṁyuttaṁพรหมจริยสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.40 Dutiyabrahmacariyasutta Maggasaṁyuttaṁพรหมจริยสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn45.41 Rāgavirāgasutta Maggasaṁyuttaṁวิราคสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร? เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสำรอกราคะ.
sn45.42-47 Saṁyojanappahānādisuttachakkaสังโยชนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร? เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อละสังโยชน์.
sn45.49 Kalyāṇamittasutta Maggasaṁyuttaṁกัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อนเพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.50-54 Sīlasampadādisuttapañcakaสีลสัมปทาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลพึงหวังข้อนี้ได้ ฯลฯ
sn45.55 Yonisomanasikārasampadāsutta Maggasaṁyuttaṁโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.56 Dutiyakalyāṇamittasutta Maggasaṁyuttaṁกัลยาณมิตรสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.57-61 Dutiyasīlasampadādisuttapañcakaสีลสัมปทาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมด้วยศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
sn45.62 Dutiyayonisomanasikārasampadāsutta Maggasaṁyuttaṁโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.63 Kalyāṇamittasutta Maggasaṁyuttaṁกัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.64-68 Sīlasampadādisuttapañcakaสีลสัมปทาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฯลฯ
sn45.69 Yonisomanasikārasampadāsutta Maggasaṁyuttaṁโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.70 Dutiyakalyāṇamittasutta Maggasaṁyuttaṁกัลยาณมิตตสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.71-75 Dutiyasīlasampadādisuttapañcakaสีลสัมปทาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฯลฯ
sn45.76 Dutiyayonisomanasikārasampadāsutta Maggasaṁyuttaṁโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้แจ้งซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.77 Kalyāṇamittasutta Maggasaṁyuttaṁกัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดีพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.78-82 Sīlasampadādisuttapañcakaสีลสัมปทาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ
sn45.83 Yonisomanasikārasampadāsutta Maggasaṁyuttaṁโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.84 Dutiyakalyāṇamittasutta Maggasaṁyuttaṁกัลยาณมิตตสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.85-89 Dutiyasīlasampadādisuttapañcakaสีลสัมปทาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ
sn45.90 Dutiyayonisomanasikārasampadāsutta Maggasaṁyuttaṁโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.91 Paṭhamapācīnaninnasutta Maggasaṁyuttaṁคังคาปาจีนนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.92-95 Dutiyādipācīnaninnasuttacatukkaยมุนาปาจีนนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 4 4 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
sn45.96 Chaṭṭhapācīnaninnasutta Maggasaṁyuttaṁมหานทีปาจีนนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหีทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.97 Paṭhamasamuddaninnasutta Maggasaṁyuttaṁคังคาสมุทนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.98-102 Dutiyādisamuddaninnasuttapañcakaยมุนาสมุทนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 5 5 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใด สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.103 Paṭhamapācīnaninnasutta Maggasaṁyuttaṁคังคาปาจีนนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.104-108 Dutiyādipācīnaninnasuttapañcakaยมุนาปาจีนนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 5 5 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
sn45.109 Paṭhamasamuddaninnasutta Maggasaṁyuttaṁคังคาสมุทนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.110-114 Dutiyādisamuddaninnasuttaยมุนาสมุทนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 5 5 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทรแม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.115 Paṭhamapācīnaninnasutta Maggasaṁyuttaṁคังคาปาจีนนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.116-120 Dutiyādipācīnaninnasuttaยมุนาปราจีนนินสูตร สาวัตถีนิทาน 5 5 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหีทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
sn45.121 Paṭhamasamuddaninnasutta Maggasaṁyuttaṁคังคาสมุทนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.122-126 Dutiyādisamuddaninnasuttaยมุนาสมุทนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 5 5 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.127 Paṭhamapācīnaninnasutta Maggasaṁyuttaṁคังคาปราจีนนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.128-132 Dutiyādipācīnaninnasuttaยมุนาปราจีนนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 5 5 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.133 Paṭhamasamuddaninnasutta Maggasaṁyuttaṁคังคาสมุทนินนสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.134-138 Dutiyādisamuddaninnasutta๑. มัคคสังยุต สาวัตถีนิทาน 5 5 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบดว้ยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหีทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.139 Tathāgatasutta Maggasaṁyuttaṁตถาคตสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 4 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่าเป็น ผู้เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูลรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี ... อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี ... อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็น ผู้เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูลรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.140 Padasutta Maggasaṁyuttaṁปทสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูลรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.141-145 Kūṭādisuttaกูฏสูตร สาวัตถีนิทาน 5 5 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนแห่งเรือนยอดอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด น้อมไปสู่ยอด ประชุมเข้าที่ยอด ยอดแห่งเรือนยอดนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม้กลัมพัก บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่แก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง มลิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อย (ชั้นต่ำ) เหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้ตามเสด็จพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชาผู้น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
sn45.146-148 Candimādisuttaจันทิมสูตร สาวัตถีนิทาน 3 3 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างแห่งดวงดาวชนิดใดชนิดหนึ่งทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แสงสว่างของพระจันทร์ แสงสว่างของพระจันทร์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัยท้องฟ้าบริสุทธิ์ ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสงไพโรจน์ กำจัดความมืดอันมีอยู่ในอากาศทั่วไป แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล … ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง ผ้าของชาวกาสี บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าผ้าที่ทอด้วยด้ายเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูลรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
sn45.149 Balasutta Maggasaṁyuttaṁพลกรณีย สาวัตถีนิทาน 5 4 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่พึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามชนิดใดชนิดหนึ่งนี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต พืชคามและภูตคามทั้งหมดนั้นอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต พืชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.150 Bījasutta Maggasaṁyuttaṁพีชสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามชนิดใดชนิดหนึ่งนี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต พืชคามและภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต พืชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.151 Nāgasutta Maggasaṁyuttaṁนาคสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อหิมวันต์ มีกาย เติบโต มีกำลัง ครั้นมีกายเติบโต มีกำลังที่ขุนเขานั้นแล้ว ย่อมลงสู่บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้ว ย่อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำน้อย ครั้นลงสู่แม่น้ำน้อยแล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำใหญ่ ครั้นลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้นย่อมถึงความโตใหญ่ทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.152 Rukkhasutta Maggasaṁyuttaṁรุกขสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้น้อมไปสู่ทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน โอนไปสู่ทิศปราจีน ต้นไม้นั้นเมื่อถูกตัดรากเสียแล้ว จักล้มลงทางทิศที่มันน้อม โน้มโอนไป แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.153 Kumbhasutta Maggasaṁyuttaṁกุมภสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หม้อที่คว่ำย่อมทำให้น้ำไหลออกอย่างเดียว ไม่ทำให้กลับไหลเข้า แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมระบายอกุศลธรรมอันลามกออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับคืนมาได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.154 Sūkasutta Maggasaṁyuttaṁสุกกสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ ตั้งไว้เหมาะ มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเดือยตั้งไว้เหมาะ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาตั้งไว้ชอบ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ.
sn45.155 Ākāsasutta Maggasaṁyuttaṁอากาสสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลมหลายชนิดพัดไปในอากาศ คือ ลมตะวันออกบ้าง ลมตะวันตกบ้าง ลมเหนือบ้าง ลมใต้บ้าง ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้าง ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง ลมพัดเบาๆ บ้าง ลมพัดแรงบ้าง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง อิทธิบาท ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง อินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง พละ ๕ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.156 Paṭhamameghasutta Maggasaṁyuttaṁเมฆสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝุ่นละอองอันตั้งขึ้นในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เมฆก้อนใหญ่ที่เกิดในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังฝุ่นละอองนั้นให้หายราบไปได้โดยพลัน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วให้หายสงบไปได้โดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.157 Dutiyameghasutta Maggasaṁyuttaṁเมฆสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลมแรงย่อมยังมหาเมฆอันเกิดขึ้นแล้วให้หายหมดไปได้ในระหว่างนั่นเอง แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วให้หายสงบไปในระหว่างได้โดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.158 Nāvāsutta Maggasaṁyuttaṁนาวาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูก คือ หวายแช่อยู่ในน้ำตลอด ๖ เดือน เขายกขึ้นบกในฤดูหนาว เครื่องผูกต้องลมและแดดแล้ว อันฝนตกรดแล้ว ย่อมจะเสียไป ผุไป โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบ หมดไป โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.159 Āgantukasutta Maggasaṁyuttaṁอาคันตุกาคารสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้มาจากทิศบูรพาก็ดี จากทิศปัจจิมก็ดี จากทิศอุดรก็ดี จากทิศทักษิณก็ดี ย่อมพักอยู่ที่เรือนสำหรับรับแขก ถึงกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรก็ดี ที่มาแล้วก็ย่อมพักอยู่ที่เรือนสำหรับรับแขกนั้น แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน.
sn45.160 Nadīsutta Maggasaṁyuttaṁนทีสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ครั้งนั้น หมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามาด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักทำการทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้บ่ากลับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นจะพึงทำการทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้บ่ากลับ ได้ละหรือ?
sn45.161 Esanāsutta Maggasaṁyuttaṁเอสนาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 8 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็น ไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
sn45.162 Vidhāsutta Maggasaṁyuttaṁวิธาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การถือตัวว่า เราประเสริฐกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้แล.
sn45.163 Āsavasutta Maggasaṁyuttaṁอาสวสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้แล.
sn45.164 Bhavasutta Maggasaṁyuttaṁภวสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้แล.
sn45.165 Dukkhatāsutta Maggasaṁyuttaṁทุกขตาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็น ไฉน? คือ ความเป็นทุกข์เกิดจากความไม่สบายกาย ๑ ความเป็นทุกข์เกิดจากสังขาร ๑ ความเป็นทุกข์เกิดจากความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.
sn45.166 Khilasutta Maggasaṁyuttaṁขีลสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่เสาเขื่อนคือราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล.
sn45.167 Malasutta Maggasaṁyuttaṁมลสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่มลทิน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้แล.
sn45.168 Nīghasutta Maggasaṁyuttaṁนิฆสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? ได้ แก่ทุกข์ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.
sn45.169 Vedanāsutta Maggasaṁyuttaṁเวทนาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ อย่างนี้แล.
sn45.170 Taṇhāsutta Maggasaṁyuttaṁตัณหาสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 2 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้แล.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ฯลฯ
sn45.171 Oghasutta Maggasaṁyuttaṁโอฆสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่โอฆะคือกาม ๑ โอฆะคือภพ ๑ โอฆะคือทิฏฐิ ๑ โอฆะคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ อย่างนี้แล.
sn45.172 Yogasutta Maggasaṁyuttaṁโยคสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ได้ แก่โยคะคือกาม ๑ โยคะคือภพ ๑ โยคะคือทิฏฐิ ๑ โยคะคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้แล.
sn45.173 Upādānasutta Maggasaṁyuttaṁอุปาทานสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่อุปาทานคือกาม ๑ อุปาทานคือทิฏฐิ ๑ อุปาทานคือศีลและพรต ๑ อุปาทานคืออัตตวาทะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างนี้แล.
sn45.174 Ganthasutta Maggasaṁyuttaṁคันถสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คันถะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่กายคันถะคืออภิชฌา ๑ กายคันถะคือพยาบาท ๑ กายคันถะคือสีลัพพตปรามาส ๑ กายคันถะคืออิทังสัจจาภินิเวส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คันถะ ๔ อย่างนี้แล.
sn45.175 Anusayasutta Maggasaṁyuttaṁอนุสยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้ ๗ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่อนุสัยคือกามราคะ ๑ อนุสัยคือปฏิฆะ ๑ อนุสัยคือทิฏฐิ ๑ อนุสัยคือวิจิกิจฉา ๑ อนุสัย คือมานะ ๑ อนุสัยคือภวราคะ ๑ อนุสัยคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้แล.
sn45.176 Kāmaguṇasutta Maggasaṁyuttaṁกามคุณสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้ได้ด้วยตาอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ด้วยหู … กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก … รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น … โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล.
sn45.177 Nīvaraṇasutta Maggasaṁyuttaṁนิวรณสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ กามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้แล.
sn45.178 Upādānakkhandhasutta Maggasaṁyuttaṁอุปาทานขันธสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล.
sn45.179 Orambhāgiyasutta Maggasaṁyuttaṁโอรัมภาคิยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้แล.
sn45.180 Uddhambhāgiyasutta Maggasaṁyuttaṁอุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 2 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
sn46.4 Vatthasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁวัตตสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล.
sn46.41 Vidhāsutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁวิธาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดละได้แล้วก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดจักละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.
sn46.44 Duppaññasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁทุปปัญญสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ คนโง่ คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนโง่ คนใบ้?
sn46.45 Paññavantasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁปัญญวาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้?
sn46.46 Daliddasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁทฬิททสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนจน คนจน ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า คนจน?
sn46.47 Adaliddasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁอทฬิททสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนไม่จน คนไม่จน ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า คนไม่จน?
sn46.48 Ādiccasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁอาทิจจสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.
sn46.51 Āhārasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁอาหารสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาหารและสิ่งที่มิใช่อาหารของนิวรณ์ ๕ และโพชฌงค์ ๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
sn46.52 Pariyāyasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁปริยายสูตร ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีก่อนก็ยังเช้านัก ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี 5 0 Eng  ไทย  Рус
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีก่อนก็ยังเช้านัก ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเหล่านี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรานี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกันระหว่างธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้าวันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีก่อนก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรานี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกันของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่าธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
sn46.53 Aggisutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁอัคคิสูตร ยังพระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังพระนครสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗–๕๕๐) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? พวกอัญญเดียร์ถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.
sn46.55 Saṅgāravasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁสคารวสูตร สาวัตถีนิทาน 1 10 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า.
sn47.3 Bhikkhusutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁภิกขุสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
sn47.5 Akusalarāsisutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁอกุสลราสิสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือกามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่ นิวรณ์ ๕.
sn47.10 Bhikkhunupassayasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁภิกขุนีสูตร สาวัตถีนิทาน. ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว 2 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักของนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงพูดกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมีมากรูปในธรรมวินัยนี้ มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน ท่านพระอานนท์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึ่งหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมมีกถา แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว ในเวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะที่เข้าปูลาดไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้ามาหาข้าพระองค์ ไหว้ข้าพระองค์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้พูดกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมากรูปในธรรมวินัยนี้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน เมื่อภิกษุณีทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน.
sn47.11 Mahāpurisasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁมหาปุริสสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มหาบุรุษๆ ดังนี้ บุคคลจะเป็นมหาบุรุษได้ด้วย เหตุเท่าไรหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เราเรียกว่า มหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตหลุดพ้น เราไม่เรียกว่า มหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตยังไม่หลุดพ้น.
sn47.13 Cundasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁจุนทสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 2 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาฬกคาม ในแคว้นมคธ อาพาธเป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา สามเณรจุนทะเป็นอุปัฏฐากของท่าน ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั่นแหละ.

ครั้งนั้น สามเณรจุนทะถือเอาบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตรเข้าไปหา พระอานนท์ยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรอาวุโสจุนทะ นี้เป็นมูลเรื่องที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค มีอยู่ มาไปกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระองค์ สามเณรจุนทะรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว.
sn47.15 Bāhiyasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁพาหิยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะฉะนั้นเธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.
sn47.16 Uttiyasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁอุตติยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุตติยะ เพราะฉะนั้นเธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.
sn47.17 Ariyasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁอริยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกะ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกะ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม.
sn47.24 Suddhasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁสุทธกสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ นี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล.
sn47.25 Aññatarabrāhmaṇasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁพราหมณสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกะพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า:
sn47.31 Ananussutasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁอนนุสสุตสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นกายในกาย … การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นอันเราควรเจริญ … การพิจารณาเห็นกายในกายอันเราเจริญแล้ว.
sn47.32 Virāgasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁวิราคสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว.
sn47.34 Bhāvitasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁภาวนาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.
sn47.35 Satisutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁสติสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.
sn47.36 Aññāsutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁอัญญสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พึงหวังผลได้ ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
sn47.41 Amatasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁอมตสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย.
sn47.42 Samudayasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁสมุทยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร? ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่งมนสิการ.
sn47.43 Maggasutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁมัคคสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เมื่อแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราในตำบลอุรุเวลา เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า:
sn47.44 Satisutta Satipaṭṭhānasaṁyuttaṁสติสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ … ในเวทนาอยู่ … ในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
sn48.1 Suddhikasutta Indriyasaṁyuttaṁสุทธิกสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
sn48.41 Jarādhammasutta Indriyasaṁyuttaṁชราสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น แล้วประทับนั่งผินพระปฤษฎางค์ผิงแดดในที่มีแสงแดดส่องมาจากทิศประจิมอยู่ ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว บีบนวดพระกายของพระผู้มีพระภาคด้วยฝ่ามือพลางกราบทูลว่า
sn48.42 Uṇṇābhabrāhmaṇasutta Indriyasaṁyuttaṁอุณณาภพราหมณสูตร สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น อุณณภพราหมณ์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
sn48.44 Pubbakoṭṭhakasutta Indriyasaṁyuttaṁปุพพโกฏฐกสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า
sn48.45 Paṭhamapubbārāmasutta Indriyasaṁyuttaṁปุพพารามสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
sn48.59 Paṭhamauppādasutta Indriyasaṁyuttaṁอุปาทสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากความอุบัติแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหาเกิดไม่ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ … ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากความอุบัติแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหาเกิดไม่.
sn48.60 Dutiyauppādasutta Indriyasaṁyuttaṁอุปาทสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคตหาเกิดไม่ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ … ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคตหาเกิดไม่.
sn48.61 Saṁyojanasutta Indriyasaṁyuttaṁสัญโญชนาสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์.
sn49.1-12 Pācīnādisuttaสูตรที่ ๑ - ๑๒ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.
sn51.11 Pubbasutta Iddhipādasaṁyuttaṁปุพพสูตร พระนครสาวัตถี 1 4 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยของการเจริญอิทธิบาท.
sn51.14 Moggallānasutta Iddhipādasaṁyuttaṁโมคคัลลานสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุมากรูปที่อยู่ภายใต้ปราสาทของมิคารมารดาเป็นผู้ฟุ้งซ่าน อวดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาว ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์.
sn51.21 Maggasutta Iddhipādasaṁyuttaṁมรรคสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาแห่งการเจริญอิทธิบาท เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ … จิตตสมาธิ … วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
sn51.22 Ayoguḷasutta Iddhipādasaṁyuttaṁอโยคุฬสูตร สาวัตถีนิทาน 1 2 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จแต่ใจ?
sn51.27 Paṭhamaānandasutta Iddhipādasaṁyuttaṁอานันทสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้ มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน?
sn52.1 Paṭhamarahogatasutta Anuruddhasaṁyuttaṁรโหคตสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า เบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
sn52.2 Dutiyarahogatasutta Anuruddhasaṁyuttaṁรโหคตสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า เบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
sn52.3 Sutanusutta Anuruddhasaṁyuttaṁสุตนุสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุตนุ ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงไปนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน?
sn52.7 Taṇhākkhayasutta Anuruddhasaṁyuttaṁตัณหักขยสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้ กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา.
sn52.8 Salaḷāgārasutta Anuruddhasaṁyuttaṁสลฬาคารสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 1 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้นหมู่มหาชนถือเอาจอบและตะกร้ามาด้วยประสงค์ว่า จักทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ดังนี้ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดน้ำคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ได้บ้างหรือ?
sn52.10 Bāḷhagilānasutta Anuruddhasaṁyuttaṁคิลลานสูตร ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในป่าอันธวันใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในป่าอันธวันใกล้พระนครสาวัตถี อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหน ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต?
sn52.11 Kappasahassasutta Anuruddhasaṁyuttaṁสหัสสสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่าไหน?
sn53.1-12 Jhānādisutta๙. ฌานสังยุต สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ เหล่านี้ ฌาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบลงไป มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายฌาน ๔ เหล่านี้แล.
sn54.1 Ekadhammasutta Ānāpānasaṁyuttaṁเอกธรรมสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ อานาปานสติ.
sn54.6 Ariṭṭhasutta Ānāpānasaṁyuttaṁอริฏฐสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเจริญอานาปานสติหรือหนอ?
sn54.7 Mahākappinasutta Ānāpānasaṁyuttaṁกัปปินสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค.
sn54.13 Paṭhamaānandasutta Ānāpānasaṁyuttaṁอานันทสูตรที่ ๑ พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อ ให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.
sn55.1 Cakkavattirājasutta Sotāpattisaṁyuttaṁราชาสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติเป็นอิสราธิบดีในทวีปทั้ง ๔ สวรรคตแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์คือ ได้เป็นสหายของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าวเธอแวดล้อมไปด้วยหมู่นางอัปสร เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ณ สวนนันทวัน ในดาวดึงส์พิภพนั้น ท้าวเธอประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็จริง ถึงอย่างนั้นท้าวเธอก็ยังไม่พ้นจากนรก จากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน จากปิตติวิสัย และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.
sn55.4 Paṭhamasāriputtasutta Sotāpattisaṁyuttaṁสาริปุตตสูตรที่ ๑ ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่งท่านพระสารีบุตรกับท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่เร้นเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตร เพราะเหตุที่ประกอบด้วยธรรมเท่าไร หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงจะทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า?
sn55.6 Thapatisutta Sotāpattisaṁyuttaṁถปติสูตร สาวัตถีนิทาน. จักเสด็จจาริกจากพระนครสาวัตถีไปในโกศลชนบท เสด็จจาริกจากนครสาวัตถีไปในโกศลชนบทแล้ว จักเสด็จจาริกจากแคว้นโกศลมายังพระนครสาวัตถี อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี 5 2 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้นภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากพระนครสาวัตถีไปในโกศลชนบท เวลานั้นข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใดได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากนครสาวัตถีไปในโกศลชนบทแล้ว เวลานั้นข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างจากเราไปแล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นโกศลมายังพระนครสาวัตถี เวลานั้นข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี เวลานั้นข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจเป็นอันมากว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เราแล้ว.
sn55.11 Sahassabhikkhunisaṅghasutta Sotāpattisaṁyuttaṁสหัสสสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราชการาม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีสงฆ์ ๑๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุณีเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม … ในพระสงฆ์ … ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
sn55.12 Brāhmaṇasutta Sotāpattisaṁyuttaṁพราหมณสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติปฏิปทา ชื่ออุทยคามินี พวกเขาย่อมชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ มาเถิดท่าน ท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ แล้วเดินบ่ายหน้าไปทางทิศปราจีน ท่านอย่าเว้นบ่อ เหว ตอที่มีหนาม หลุมเต็มด้วยคูถ บ่อโสโครกใกล้บ้าน ท่านพึงตกไปในที่ใด พึงรอความตายในที่นั้น ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อแตกกายตายไป ท่านจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
sn55.13 Ānandattherasutta Sotāpattisaṁyuttaṁอานันทสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่งท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เพราะละธรรมเท่าไร เพราะเหตุประกอบธรรมเท่าไร หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า?
sn55.18 Paṭhamadevacārikasutta Sotāpattisaṁyuttaṁเทวจาริกสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายจากพระวิหารเชตวันไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ลำดับนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์มากด้วยกันเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า
sn55.19 Dutiyadevacārikasutta Sotāpattisaṁyuttaṁเทวจาริกสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด
sn55.20 Tatiyadevacārikasutta Sotāpattisaṁyuttaṁเทวจาริกสูตรที่ ๓ สาวัตถีนิทาน 1 1 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์มากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเทวดาเหล่านั้นว่า
sn55.26 Paṭhamaanāthapiṇḍikasutta Sotāpattisaṁyuttaṁทุสีลยสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกหฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอ กราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
sn55.27 Dutiyaanāthapiṇḍikasutta Sotāpattisaṁyuttaṁทุสีลยสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
sn55.28 Paṭhamabhayaverūpasantasutta Sotāpattisaṁyuttaṁเวรภยสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ และญายธรรมอันประเสริฐ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
sn55.29 Dutiyabhayaverūpasantasutta Sotāpattisaṁyuttaṁเวรภยสูตรที่ ๒ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
sn55.31 Paṭhamapuññābhisandasutta Sotāpattisaṁyuttaṁอภิสันทสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.
sn55.34 Paṭhamadevapadasutta Sotāpattisaṁyuttaṁเทวปทสูตรที่ ๑ สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบท (ข้อปฏิบัติของเทวดา) ของพวกเทพ ๔ ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว เทวบท ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นเทวบทของพวกเทพเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม … นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ … ประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ … นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ … ประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นเทวบทของพวกเทพเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบทของพวกเทพ ๔ ประการนี้แล เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว.
sn55.52 Vassaṁvutthasutta Sotāpattisaṁyuttaṁวัสสวุตถสูตร ใกล้พระนครสาวัตถี ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในพระนครสาวัตถีแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในพระนครสาวัตถี 3 0 Eng  ไทย  Рус
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในพระนครสาวัตถีแล้ว ไปโดยลำดับถึงพระนครกบิลพัสดุ์ด้วยกรณียบางอย่าง พวกเจ้าศากยะชาวพระนครกบิลพัสดุ์ได้ทราบข่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในพระนครสาวัตถี มาถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทภิกษุนั้นแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า
sn56.1 Samādhisutta Saccasaṁyuttaṁสมาธิสูตร สาวัตถีนิทาน 1 0 Eng  ไทย  Рус
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
sn56.23 Sammāsambuddhasutta Saccasaṁyuttaṁสัมมาสัมพุทธสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ตามความเป็นจริง ตถาคตเขาจึงกล่าวว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
sn56.24 Arahantasutta Saccasaṁyuttaṁอรหันตสูตร พระนครสาวัตถี 1 0 Eng  ไทย  Рус
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดแล้วจักตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ตรัสรู้อยู่ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ … ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง … จักตรัสรู้ … ตรัสรู้อยู่ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นตรัสรู้อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.