โดยประการทั้งปวง 93 texts and 338 matches in Suttanta Thai


Sutta St Title Words Ct Mr Links Quote
an1.394-574 1.394–1.574 ล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว โดยประการทั้งปวงแล้ว 5 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะ ล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจซึ่งสัญญาต่างๆ อยู่ … ฯ

ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุวิญญา ณัญจายตนฌานโดยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด … ฯ

ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยมนสิการว่า สิ่งอะไรไม่มี … ฯ

ภิกษุก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว ได้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน … ฯ

ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว ได้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ … ฯ
an3.39 Sukhumālasutta. สุขุมาลสูตร โดยประการทั้งปวง ย่อมละความเมาในความไม่มีโรคเสียได้โดยประการทั้งปวง ย่อมละความเมาในชีวิตเสียได้โดยประการทั้งปวง 3 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝนเรานั้นแลถูกบำเรอด้วยดนตรี ซึ่งไม่มีบุรุษปนตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน บนปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูฝน มิได้ลงมาข้างล่าง ปราสาทเลย ในนิเวศน์แห่งพระชนกของเรา เขาให้ข้าวสาลีระคนด้วยมังสะแก่ทาสกรรมกร บุรุษ ทำนองเดียวกับที่ในนิเวศน์ของเขาอื่น เขาให้ข้าวป่นอันมีน้ำส้มเป็นที่สอง ฉะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลายเรานั้นซึ่งประกอบด้วยความสำเร็จเห็นปานดังนี้ เป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ก็ยังคิด เห็นดังนี้ว่า ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เห็นคนอื่นแก่ ก็ล่วงตนเองเสียแล้วอึดอัด ระอา รังเกียจไม่คิดว่า แม้เราก็เป็นผู้มีความแก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ก็และการที่เราซึ่งเป็นคนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความแก่ไปได้ ได้เห็นคนแก่เข้าแล้ว พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ ข้อนั้นเป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นสำเหนียกอยู่ดังกล่าวมา ย่อมละความเมาในความเป็นหนุ่มเสียได้ โดยประการทั้งปวง ปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บไข้ไปได้ เห็นคนอื่นเจ็บไข้ ก็ล่วงตนเองเสียแล้วอึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่คิดว่า แม้ เราก็เป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ก็และการที่เราซึ่งเป็นคนมีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ได้เห็นคนเจ็บไข้เข้าแล้ว พึงอึดอัด ระอา รังเกียจข้อนั้นเป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นสำเหนียกอยู่ดังกล่าวมา ย่อมละความเมาในความไม่มีโรคเสียได้โดยประการทั้งปวง ปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มี ความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เห็นคนอื่นที่ตายแล้ว ก็ล่วงตนเองเสียแล้ว

อึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่คิดว่า แม้เราก็เป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย ไปได้ ก็และการที่เราซึ่งเป็นคนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ได้เห็นคนอื่น ที่ตายไปแล้วพึงอึดอัด ระอา รังเกียจ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นสำเหนียกอยู่ดังกล่าวมา ย่อมละความเมาในชีวิตเสียได้โดยประการทั้งปวง
an3.116 Āneñjasutta. อเนญชสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง บุคคลบางคนในโลกนี้ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง 2 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะถึงความสิ้นไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา เขาย่อมชอบใจฌานนั้น ปรารถนาฌานนั้น และถึงความยินดีด้วยฌานนั้น เขา ตั้งอยู่ในฌานนั้นน้อมใจไปในฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ ไม่เสื่อมจากฌานนั้น ทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดา พวกที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอายุประมาณสองหมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอากาสา นัญจายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุ---ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้ว ไปสู่ นรกก็มี ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ไปสู่ปิตติวิสัยก็มี ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรง อยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจน หมดแล้ว ปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ มีความแปลกกันเช่นนี้ มีความแตกต่างกันเช่นนี้มีเหตุเป็นเครื่องทำต่างๆ กันเช่นนี้ ในเมื่อ คติและอุบัติยังมีอยู่ ๒. อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประกายทั้งปวงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เขาย่อมชอบ ใจฌานนั้น ปรารถนาฌานนั้น และถึงความยินดีด้วยฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไป ในฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ ไม่เสื่อมจากฌานนั้นทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ

มีอายุประมาณสี่หมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณ อายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้ว ไปสู่นรกก็มี ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มีไปสู่ ปิตติวิสัยก็มี ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้วปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ มีความแปลกกันเช่นนี้ มีความแตกต่างกัน เช่นนี้ มีเหตุเป็นเครื่องทำต่างๆกันเช่นนี้ ในเมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่ ๓. อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน ฌาน โดยบริกรรมว่า ไม่มีอะไร เขาย่อมชอบใจฌานนั้น ปรารถนาฌานนั้น และถึงความยินดี ด้วยฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ ไม่เสื่อมจาก ฌานนั้น ทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกที่ เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะมีอายุประมาณหกหมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาพวกนั้นให้สิ้นไปจนหมด แล้วไปสู่นรกก็มี ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ไปสู่ปิตติวิสัยก็มี ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
an4.10 Yogasutta. โยคสูตร ภวโยคะโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ
an4.170 Yuganaddhasutta โดยประการทั้งปวง 2 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อม พยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็น

อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลาย ได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อม พยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
an4.190 Uposathasutta ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ไม่มีเพราะล่วงากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง 4 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา…มีใจประกอบด้วยมุทิตา…มีใจ ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ ประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นพรหมดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า ถึงชั้นอเนญชา ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะ ดับสิ้นปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรม

ว่าอากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน

ด้วยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญ จัญญายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อะไรๆ ไม่มีเพราะล่วงากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุจึงชื่อว่าถึงชั้นอเนญชา ดูกร ภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความ จริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ ฯ
an4.245 Sikkhānisaṁsasutta โดยประการทั้งปวง เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง 5 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง สิกขาอันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติ แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ สาวกนั้นเป็น ผู้มีปรกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาดไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลายด้วย ประการนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างไร ธรรมทั้งหลาย เราแสดง แล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ ธรรมทั้งหมดนั้นอันสาวกพิจารณาด้วยปัญญา ด้วยประการนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มี ปัญญาเป็นยอดอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างไร ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแก่ สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการ ทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเรา แสดงแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ ธรรม ทั้งหมดนั้นเป็นธรรมอันวิมุตติถูกต้อง แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างนี้แล ฯ
an5.162 Dutiyaāghātapaṭivinayasutta. ๒. อาฆาตวินยสูตรที่ ๒ ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง๕ เลื่อมใสโดยประการทั้งปวง ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง 3 5 Eng  ไทย  සිං  Рус
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุ เหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรม เป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความ ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติ ทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความ

ทางวาจาบริสุทธิ์ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร แม้ความ ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้ความประพฤติทาง วาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้นแม้การได้ทางสงบใจ ได้ความ เลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัย ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลผู้เป็นที่น่า เลื่อมใสโดยประการทั้งปวง จิตย่อมเลื่อมใส ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต

ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้แล ฯ
an6.26 Mahākaccānasutta. ๖. กัจจานสูตร โดยประการทั้งปวงอยู่สัตว์บางพวกในโลกนี้ โดยประการทั้งปวงอยู่ 2 6 Eng  ไทย  සිං  Рус
โดยประการทั้งปวงอยู่สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มี ความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

เทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ จาคะ ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น แม้ของเรา ก็มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลสุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุด ไปจากความอยากดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ อริย สาวกผู้นั้นแล ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์ เป็นมหรคต ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มี ความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่ สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็น อารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ
an6.45 Iṇasutta. ๓. อิณสูตร มั่นโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา พอกพูน บาปกรรมในที่นั้นๆ อยู่ บ่อยๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เราตถาคต ย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์เหมือนอย่างนั้น เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มีหนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือด ร้อน ลำดับนั้น ความดำริที่มีในใจ เป็นทุกข์เกิดขึ้นเพราะความเดือด ร้อนของเขา ย่อมติดตามเขาที่บ้าน หรือที่ป่า เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญา ทราม ทราบความชั่วของตนอยู่ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานบางอย่าง หรือ ถูกจองจำในนรกก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์ ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้ บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลาย ที่ได้มาโดย ชอบธรรม ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสองของผู้มีศรัทธาอยู่ ครองเรือน คือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขใน สัมปรายภพ การบริจาคของคฤหัสถ์ดังกล่าวมานั้น ย่อมเจริญบุญ ผู้ใด มีศรัทธาตั้งมั่นมีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ มีปัญญา และ สำรวมในศีล ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้นั้นแลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุข ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา (ในจตุตถฌาน) ให้ดำรงมั่นละนิวรณ์ ๕ ประการ เป็นผู้ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ บรรลุฌานทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ มีปัญญารักษาตัว มีสติจิตของเขาย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะทราบเหตุ ในนิพพานเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง เพราะไม่ถือ มั่นโดยประการทั้งปวง หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ คงที่อยู่ใน นิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบไซร้ ญาณนั้นแลเป็นญาณ
an6.62 Purisindriyañāṇasutta. ๘. อุทกสูตร กุศลมูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง กุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง อกุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง 4 11 Eng  ไทย  සිං  Рус
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติบุคคล ๓ จำพวกนี้ออกเป็นส่วนละ ๓ อีกหรือพระเจ้าข้า พระ ผู้มีพระภาคตรัสว่า สามารถ อานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่าง นี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่กุศลมูลที่ เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ กุศลมูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ไฟติดทั่วแล้วลุกโพลงสว่างไสว

พ. ดูกรอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศล ธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจ อย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่กุศลมูลที่เขายัง ตัดไม่ขาดมีอยู่ กุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคล นี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคล ด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรม ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

ดูกรอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศล ธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจ อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูลที่เขา ยังตัดไม่ขาดมีอยู่ อกุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้จักไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ไฟติดทั่วแล้ว ลุกโพลงสว่างไสว อันบุคคลเก็บไว้บนกองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้จักถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์

พ. ดูกรอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศล ธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ ขาดมีอยู่ อกุศลมูลแม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคล นี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคล ด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรม ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
an7.44 Sattaviññāṇaṭṭhitisutta. จิตตสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง 3 4 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ ประการนี้ ๗ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกมีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวกนี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๑ สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกันเหมือนเทวดาชั้นพรหมกายิกา ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณ ฐิติข้อที่ ๒สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดาชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๓ สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันเหมือน เทวดาชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๔ สัตว์บางพวกเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดย มนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เสียได้ ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญานี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๕ สัตว์บางพวกเข้าถึงชั้นวิญญาณัญ จายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง

นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๖ สัตว์บางพวกเข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๗ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
an8.28 Dutiyabalasutta. พลสูตรที่ ๒ ปราศจากอาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีแล้วในเนกขัมมะ ปราศจากอาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการ ทั้งปวง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิต น้อมไป ฯลฯ ปราศจากอาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวง นี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑ ฯ
an8.66 Vimokkhasutta. วิโมกขสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ๗เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง 5 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ บุคคล ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๑ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ประการที่๒ คนที่น้อมใจว่า งาม นี้เป็นวิโมกข์ประการ ที่ ๓ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตต

สัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนะโดยมนสิการว่า

วิญญาณ ไม่มีที่สุด นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง

บรรลุอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรหน่อยหนึ่ง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๖ เพราะ ล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้เป็นวิโมกข์ประการ ที่ ๗เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธนี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล ฯ
an8.120 เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง 4 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ๑ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน ย่อม เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก ๑ ย่อมน้อมใจเชื่อว่างาม ๑ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา ย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วย มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ๑ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ๑ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย ประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าอะไรๆย่อมไม่มี ๑ เพราะล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ๑ เพราะล่วงเนวสัญญา นาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ
an9.24 Sattāvāsasutta. ววัตถสัญญาสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง 3 5 Eng  ไทย  සිං  Рус
สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตต สัญญา นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๖ ฯ

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าวิญญาณหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๗ ฯ

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอะไรหน่อยหนึ่ง ไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๘ ฯ
an9.33 Anupubbavihārasamāpattisutta. วิหารสูตรที่ ๒ รูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 4 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า รูปสัญญาดับในที่ไหนและใครดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้ นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วง รูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน เพราะคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด รูปสัญญาย่อมดับในองค์ ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้วครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไป นั่งใกล้ ฯ

เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับวิญญาณัญจายตน สัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่าวิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ไหน และใคร ดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง

ด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่าอากิญจัญญาตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับ อากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง

เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับเนวสัญญา นาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิวดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับใน ที่ไหน และใครดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานา สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ดับในนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ดูกรภิกษุทั้งหลาย
an9.34 Nibbānasukhasutta. นิพพานสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง 2 8 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ ภิกษุบรรลุอากาสานัญ จายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความ ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดย ปริยายแม้นี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ
an9.35 Gāvīupamāsutta. คาวีสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง อากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 5 3 Eng  ไทย  සිං  Рус
ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอากาศไม่มีที่สุด เธอ ยังไม่ยินดีเพียงอากาสานัญจายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่ง นิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วง

อากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ ว่าวิญญาณไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียงวิญญาณัญจายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดีเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยคำนึง เป็นอารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี เธอไม่ยินดีเพียงอากิญจัญญายตนะที่ได้บรรลุนั้น เธอ เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุเนวสัญญานา สัญญายตนะ เธอไม่ยินดีเพียงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก

ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุสัญญา เวทยิตนิโรธ เธอไม่ยินดีเพียงสัญญาเวทยิตนิโรธที่ได้บรรลุนั้น ฯ
an9.36 Jhānasutta. ฌานสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง 4 4 Eng  ไทย  සිං  Рус
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ อาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจ ถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด

ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะ ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน … เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลายคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌาน นั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ … ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วย ธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็น ที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง … นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของ นายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่ พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็น อารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
an9.37 Ānandasutta. อานันทสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง 3 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะ ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็น อารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ดูกรอาวุโส แม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้ ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดูกรอาวุโส แม้ผู้มีสัญญา อย่างนี้ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี ดูกรอาวุโส แม้ผู้มีสัญญา อย่างนี้ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น ฯ
an9.38 Lokāyatikasutta. พราหมณสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 5 3 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง … บรรลุอากาสา นัญจายตนฌาน … ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชน เหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญ จัญญายตนฌาน ฯลฯ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เรียกว่าได้ถึงที่สุดโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดโลกแห่งโลก แต่

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรพราหมณ์ ภิกษุนี้ เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้แล้ว ฯ
an9.39 Devāsurasaṅgāmasutta. เทวสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง 2 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสา นัญจายตนฌาน … สมัยนั้น ภิกษุ นี้เรียกว่า ได้ทำมารให้เป็นที่สุดให้ติดตามไม่ได้ ปิดตา มารสนิท มารมองไม่เห็น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
an9.40 Nāgasutta. นาคสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
พยาบาท มีจิตไม่พยาบาทอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือพยาบาท ละถีนมิทธะ ปราศจากความง่วงเหงาหาวนอน มีความสำคัญในแสงสว่างอยู่ มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ในภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่เคลือบ แคลงสงสัยในกุศลทั้งหลาย ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็น อุปกิเลสแห่งใจทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว สงัดจากกาม … บรรลุปฐมฌาน … เธอมีใจชื่นชม บำบัด ความระคายใจได้ เธอบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน มีใจชื่นชมบำบัดความ ระคายใจได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ บรรลุเนวสัญญานาสัญญา ยตนฌาน ฯลฯ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอมีใจชื่นชมบำบัดความระคายใจได้ ฯ
an9.41 Tapussasutta. ตปุสสสูตร เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 8 Eng  ไทย  සිං  Рус
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในเนวสัญญานาสัญญายตน ฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้ เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้น ได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุ อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเรา จะพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส พึงตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงหลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญา ยตนฌานแล้วทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นแล บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง และอาสวะทั้งหลายของเราได้ถึงความสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ฯ
an9.42 Sambādhasutta. ปัญจาลสูตร เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกร อาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสการบรรลุโอกาสในที่แคบ ฯ
an9.43 Kāyasakkhīsutta. กามเหสสูตรที่ ๑ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และ อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ ดูกรอาวุโส
an9.44 Paññāvimuttasutta. กามเหสสูตรที่ ๒ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และ เธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัส บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
an9.45 Ubhatobhāgavimuttasutta. กามเหสสูตรที่ ๓ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัด
an9.46 Sandiṭṭhikadhammasutta. สันทิฏฐิกสูตรที่ ๑ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกร อาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มี พระภาคตรัสธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯ
an9.47 Sandiṭṭhikanibbānasutta. สันทิฏฐิกสูตรที่ ๒ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกร อาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสนิพพานอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯ
an9.51 Diṭṭhadhammanibbānasutta. ทิฏฐธัมมิกสูตร เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสทิฏฐธรรมนิพพาน ฯ
an9.52 Khemasutta. เขมสูตร เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสเขมะ ฯ
an9.61 Anupubbanirodhasutta. อนุปุพพนิโรธสูตร เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพนิโรธ ฯ
an10.12 Pañcaṅgasutta. อังคสูตร ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเทียว 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
วิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเทียว ภิกษุผู้
an10.29 Paṭhamakosalasutta. โกศลสูตรที่ ๑ ผู้ที่ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเข้าถึงเนวสัญญานา 1 4 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความหมดจดในสัตว์ผู้สูงสุดมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเข้าถึงเนวสัญญานา สัญญายตนะอยู่นั้นเลิศกว่าบรรดาสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติความหมดจดในสัตว์ผู้สูงสุด สมณ พราหมณ์เหล่านั้น รู้ยิ่งแล้วซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลมีอยู่ ความ เป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อม คลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
an10.90 Khīṇāsavabalasutta. พลสูตร เป็นจิตสิ้นไปจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง 2 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้มีจิตโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ยินดียิ่ง ในเนกขัมมะ เป็นจิตสิ้นไปจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้มีจิตโน้มไปน้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดี ในเนกขัมมะ เป็นจิตสิ้นไปจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ ก็เป็นกำลัง ของภิกษุขีณาสพ …
an10.99 Upālisutta. อุปาลีสูตร เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 4 3 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดย คำนึงว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ ดูกรอุบาลีเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ

ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ … เพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า

หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ … เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า ธรรมชาตินี้สงัด ธรรมชาตินี้ประณีต ดังนี้ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่ อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
an11.16 Aṭṭhakanāgarasutta. ทสมสูตร เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงย่อมบรรลุ ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงย่อมบรรลุอากิญ 3 2 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยการบริกรรมว่าอากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา

อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงย่อมบรรลุ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงย่อมบรรลุอากิญ จัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า อากิญ จัญญายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุง แล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้ว ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็น ไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่ หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็นเป็น อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ
dn1 Brahmajālasutta๑. พรหมชาลสูตร เพราะไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง 4 2 Eng  ไทย  සිං  Рус Вар. 2
๕๔. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติ ความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

๕๕. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

๕๖. (๖) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริงอัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

๕๗. (๗) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นนวสัญญานาสัญญายตนะ (มีอารมณ์ว่า นั่นละเอียด นั่นประณีต ) เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.
dn9 Poṭṭhapādasutta๙. โปฏฐปาทสูตร โดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง 3 7 Eng  ไทย  සිං  Рус Вар. 2
ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งสัญญาต่างๆ โดยประการทั้งปวงอยู่ รูปสัญญามีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานซึ่งมีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานมีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌานซึ่งมีอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.
dn11 Kevaṭṭasutta๑๑. เกวัฏฏสูตร โดยประการทั้งปวง 1 9 Eng  ไทย  සිං  Рус Вар. 2
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
dn15 Mahānidānasutta๑๕ มหานิทานสูตร เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อไม่มีการป้องกันโดยประการทั้งปวง เมื่อไม่มีการพะวงโดยประการทั้งปวง เมื่อไม่มีความรักใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง ไม่มีตัณหาโดยประการทั้งปวง เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง 22 5 Eng  ไทย  සිං  Рус Вар. 2
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ ดูกรอานนท์ ก็แลถ้าชาติมิได้ มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ มิได้มีเพื่อความเป็นเทพแห่งพวกเทพ เพื่อความเป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์ เพื่อความเป็นยักษ์แห่งพวกยักษ์ เพื่อความเป็นภูตแห่งพวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์แห่งพวกมนุษย์ เพื่อความเป็นสัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวกปักษี เพื่อความเป็นสัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความเป็นอย่างนั้นๆ แห่งสัตว์พวกนั้นๆ เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติ ดับไป ชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าอุปาทานมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เมื่ออุปาทานไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับไป ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับไป อุปาทานจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนามิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไป ทุกแห่งหน คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะพึงปรากฏได้ บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการป้องกันมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการป้องกันโดยประการทั้งปวง เพราะหมดการป้องกัน อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียดและการพูดเท็จ จะพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความตระหนี่มิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตระหนี่ โดยประการทั้งปวง เพราะหมดความตระหนี่ การป้องกันจะพึงปรากฏได้ บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการพะวงมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการพะวงโดยประการทั้งปวง เพราะดับการพะวงเสียได้ ความยึดถือจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความรักใคร่พึงใจมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความรักใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความรักใคร่พึงใจเสียได้ การพะวงจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความตกลงใจมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตกลงใจ โดยประการทั้งปวง เพราะดับความตกลงใจเสียได้ ความรักใคร่พึงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าลาภมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง เพราะหมดลาภ ความตกลงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อ ไม่มีตัณหาโดยประการทั้งปวง เพราะดับตัณหาเสียได้ การแสวงหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะดับผัสสะเสียได้เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่าอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโสก็เพราะเวทนาจะต้องดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับไปแล้ว ฯ

๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖

๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัด วิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควรเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ

๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูป สัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕

๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗

๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘
dn16 Mahāparinibbānasutta๑๖ มหาปรินิพพานสูตร เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง 5 14 Eng  ไทย  සිං  Рус Вар. 2 เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ
เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ
เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก ฯ
เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด ฯ
เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ
dn19 Mahāgovindasutta๑๙ มหาโควินทสูตร โดยประการทั้งปวงดังนี้อยู่ โดยประการทั้งปวงอยู่ แผ่ไปทั่วโลกโดยประการทั้งปวงอยู่ 5 6 Eng  ไทย  සිං  Рус
ข้าพเจ้าทราบต่อท่านว่า น้อมไปในกรุณา คนบางคนในโลกนี้มีใจสหรคตด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในที่ทุกสถาน มีใจสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงดังนี้อยู่ ดังนี้ ชื่อว่า น้อมไปในกรุณา

มหาโควินทพราหมณ์มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในที่ทุกสถาน มีใจสหรคต ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่ มีใจสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่ มีใจสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่ มีใจสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลกโดยประการทั้งปวงอยู่ และแสดงหนทางแห่งความเป็นสหายกับพรหม ในพรหมโลกแก่สาวกทั้งหลาย สมัยนั้น บรรดาสาวกของมหาโควินทพราหมณ์ ซึ่งรู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ พรหมโลก ผู้ที่ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิก ผู้ที่บำเพ็ญกายต่ำกว่าเขาทั้งหมด ก็ยังกายคนธรรพ์ให้บริบูรณ์ได้ ด้วยประการฉะนี้แล บรรพชาของกุลบุตรเหล่านั้น ทั้งหมดไม่เปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ฯ
dn33 Saṅgītisutta๓๓ สังคีติสูตร เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งวิญญานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง 20 20 Eng  ไทย  සිං  Рус
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ

๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด ฯ

๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ

๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ

๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก ฯ

๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงเนวสัญญายตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข้อที่เจ็ด ฯ

๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการ ว่า อากาศที่สุดมิได้ ดังนี้ นี้สัตตาวาสข้อที่หก ฯ

๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้สัตตาวาสข้อที่เจ็ด ฯ

๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งวิญญานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้สัตตาวาสข้อที่แปด ฯ

๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี่สงบนี่ประณีต นี้สัตตาวาสข้อที่เก้า ฯ

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญาเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ

๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ ฯ

๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ

๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯ
dn34 Dasuttarasutta๓๔ ทสุตตรสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง สิ้นสุดแล้วจากอาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวง สิ้นสุดแล้วจากอาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวงนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงชั้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ 18 17 Eng  ไทย  සිං  Рус
มีสัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ

สัตว์เหล่าหนึ่ง เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ

สัตว์เหล่าหนึ่ง เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเพราะล่วงวิญญา ณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด ฯ

อีกข้อหนึ่ง จิตของภิกษุผู้ขีณาสพ น้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ สิ้นสุดแล้วจากอาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิตน้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ สิ้นสุดแล้วจากอาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวงนี้ เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้นอาสวะได้ว่าอาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ

เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงซึ่งอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๕

เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วย มนสิการว่า ไม่มีอะไรดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘ ฯ

สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๖

สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วย มนสิการว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๗

สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๘

สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี้สงบ นี้ประณีต เพราะล่วงชั้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๙

บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญาอยู่

บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่

บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่

บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่

บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่
mn1 Mūlapariyāyasutta๑. มูลปริยายสูตร โดยประการทั้งปวง 2 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่าความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง

ทรงรู้ยิ่งพระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
mn8 Sallekhasutta๘. สัลเลขสูตร ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง ตนฌานโดยประการทั้งปวง 4 2 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับ ปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจาย ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจาย ตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญาย ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในวินัยของพระอริยะ
mn9 Sammādiṭṭhisutta๙. สัมมาทิฏฐิสูตร เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง 3 0 Eng  ไทย  සිං  Рус พวกภิกษุกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่านพระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาสเนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า อกุศลแต่ละอย่างๆ. รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่าของอกุศลแต่ละอย่างๆ. กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ. รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันเทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
mn25 Nivāpasutta๕. นิวาปสูตร ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว 4 8 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่งคือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่งคือ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌานซึ่งมีบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่งคือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่าภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่งคือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็และเพราะเห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้.
mn26 Pāsarāsisutta๖. ปาสราสิสูตร ดับปฏิฆสัญญาไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง 5 6 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีบริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่าได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็แลเพราะเห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้น ไป ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้ ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะไม่ได้ประสบมารผู้มีบาปธรรม.
mn30 Cūḷasāropamasutta๑๐. จูฬสาโรปมสูตร เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 5 13 Eng  ไทย  සිං  Рус
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ. เพราะเห็นด้วยปัญญาของเธอ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. ดูกรพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
mn31 Cūḷagosiṅgasutta๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียงซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง 5 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา พวกเราบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียงซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนญานอยู่ อันนี้ได้แก่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา อาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้.
mn36 Mahāsaccakasutta๖. มหาสัจจกสูตร เราพึงปฏิบัติอดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ท่านอย่าปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวง เราปฏิญญาว่าจะตัดอาหารโดยประการทั้งปวง 4 16 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติอดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ขณะนั้น พวกเทวดาเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวง พวกข้าพเจ้าจะแทรกโอชาหารอันเป็นทิพย์ตามขุมขนแห่งท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาหารนั้น.

เรามีความดำริว่า เราปฏิญญาว่าจะตัดอาหารโดยประการทั้งปวง แต่เทวดาเหล่านี้จะแทรกโอชาหาร อันเป็นทิพย์ตามขุมขนแห่งเรา เราจะยังมีอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาหารนั้น การปฏิญญาไว้นั้นก็เป็นมุสาแก่เราเอง. เราจึงกล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า ข้อนั้นไม่ควร.
mn40 Cūḷaassapurasutta๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร โดยประการทั้งปวง 2 2 Eng  ไทย  සිං  Рус
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงนี้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงนี้ ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว นามกายก็สงบ เธอมีนามกายสงบแล้ว ก็เสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตก็ตั้งมั่น เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันกว้างขวางเป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ... มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอก็มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวางเป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผา เร่าร้อน ลำบาก ระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์มาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ
mn43 Mahāvedallasutta๓. มหาเวทัลลสูตร โดยประการทั้งปวง 1 1 Eng  ไทย  සිං  Рус
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่ ดังนี้ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.
mn52 Aṭṭhakanāgarasutta๒. อัฏฐกนาครสูตร โดยประการทั้งปวงอยู่ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง 3 2 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้วิญญาณัญจายตนะสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
mn54 Potaliyasutta๔ โปตลิยสูตร โดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะ โดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะมีด้วยประการใด อาศัยความเป็นอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวงหาส่วนเหลือมิได้ ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะ การตัดขาดโวหารทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะอันใด ทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวง 14 8 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่านี้แล ดูกรคฤหบดี แต่เพียงเท่านี้ จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะ หามิได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ก็อย่างไรเล่า จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะมีด้วยประการใด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยประการนั้นเถิด.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้วไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวงหาส่วนเหลือมิได้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

ดูกรคฤหบดี ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะ ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของอริยะเห็นปานนี้ ในตนบ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็กระไรๆ อยู่ การตัดขาดโวหารทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะอันใด ข้าพเจ้ายังห่างไกลจากการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ อันนั้น เพราะเมื่อก่อนพวกข้าพเจ้าได้สำคัญพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง ได้คบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้รู้เหตุผลพึงคบหา ได้เทิดทูนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่พวกข้าพเจ้าได้สำคัญภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง ได้คบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา ได้ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง แต่บัดนี้พวกข้าพเจ้าจักรู้พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง จักคบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา จักตั้งพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง พวกข้าพเจ้าจักรู้ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง จักคบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้รู้เหตุผลพึงคบหา จักเทิดทูนภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ยังความรักสมณะในหมู่สมณะ ได้ยังความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ ได้ยังความเคารพสมณะในหมู่สมณะให้เกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วหนอ.
mn59 Bahuvedanīyasutta๙. พหุเวทนิยสูตร ได้โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แล เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แล 4 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา ได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.

ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.

ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แล อานนท์ สุขอื่นอันดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.

ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
mn64 Mahāmālukyasutta๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง 3 6 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นคือ เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วย ธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาติอันเป็นอมตะว่า นั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้น ถ้าไม่บรรลุจะเป็นโอปปาติกะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้ ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์. อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงวิญญานัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่. เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น เธอรั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่ นั่นประณีต คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ นิพพาน ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ จะเป็นโอปปาติกะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล. ดูกรอานนท์ มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
mn66 Laṭukikopamasutta๖. ลฑุกิโกปมสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวงอยู่นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น. เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ 5 7 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยบริกรรมว่าอากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้อากาสานัญจายตนฌานนั้น เราก็กล่าวว่าไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น

ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานได้ โดยประการทั้งปวงอยู่นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราก็กล่าวว่าไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น

ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยบริกรรมว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น. แม้อากิญจัญญายตนฌานนั้น เราก็กล่าวว่าไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานนั้น

ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานนั้น. แม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่าไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น

ดูกรอุทายี ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น. เรากล่าวการละกระทั่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยประการฉะนี้แล.
mn70 Kīṭāgirisutta๑๐. กีฏาคิริสูตร ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่ 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของ พระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้. คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ. สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียรนั้นเสีย จักไม่มีเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติพึงหวังได้.
mn72 Aggivacchasuttaอัคคิวัจฉโคตตสูตร โดยประการทั้งปวงเช่นนี้ 2 6 Eng  ไทย  සිං  Рус
พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่าโลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น. ฯลฯ พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้หรือ ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น. ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นโทษอะไรหรือ จึงไม่ทรงเข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวงเช่นนี้.

ดูกรวัจฉะ เราเห็นโทษนี้แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวงเช่นนี้.
mn77 Mahāsakuludāyisutta๗. มหาสกุลุทายิสูตร โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง 5 25 Eng  ไทย  සිං  Рус
ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่.

ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า.

ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก.

ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด.

ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด.
mn85 Bodhirājakumārasutta๕. โพธิราชกุมารสูตร เราพึงปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง เราเองด้วยพึงปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยประการทั้งปวง 4 18 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นเข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจักแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของท่าน ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้น. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราเองด้วยพึงปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยประการทั้งปวง เทวดาเหล่านี้ด้วยพึงแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของเรา เราพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้นด้วย ข้อนั้นพึงเป็นมุสาแก่เรา ดังนี้. อาตมภาพบอกเลิกกะเทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่าอย่าเลย. แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. อาตมภาพจึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. เมื่อบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ผอมเหลือเกิน.
mn91 Brahmāyusutta๑. พรหมายุสูตร อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลายโดยประการทั้งปวง 1 2 Eng  ไทย  සිං  Рус อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
mn98 Vāseṭṭhasutta๘. วาเสฏฐสูตร โดยประการทั้งปวง 1 1 Eng  ไทย  සිං  Рус
ผู้ใดรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้ไม่ข้อง ผู้ไปดี ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
mn100 Saṅgāravasutta๑๐. สคารวสูตร เราพึงปฏิบัติเพื่ออดอาหารโดยประการทั้งปวงเถิด. ท่านอย่าปฏิบัติเพื่ออดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย โดยประการทั้งปวง เราเองปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยประการทั้งปวง 4 18 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติเพื่ออดอาหารโดยประการทั้งปวงเถิด. ทันใดนั้น เทวดาเหล่านั้นได้เข้ามาหาเรา แล้วกล่าวว่า ดูกร ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่ออดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่ออดอาหาร โดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะแซกทิพโอชาลงตามขุมขนของท่าน ท่านจักได้เยียวยา ชีวิตไว้ด้วยทิพโอชานั้น. เรานั้นมีความคิดเห็นว่า เราเองปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยประการทั้งปวง แต่เทวดาเหล่านี้จะแซกทิพโอชาลงตามขุมขนของเรา ทั้งเราก็จักเยียวยาชีวิตไว้ได้ด้วยทิพโอชานั้น ข้อนั้นพึงเป็นมุสาแก่เรา ดังนี้. เราบอกเลิกแก่เทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่า อย่าเลย.
mn102 Pañcattayasutta๒. ปัญจัตตยสูตร เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง 8 5 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก เปรียบเหมือนร่มเงา ละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใดฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก เรื่องปีติเกิดแต่วิเวกดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติ เกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขเสมือนปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือนิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติ อันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขเสมือนปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือนิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เรื่องสุขเสมือนปราศจากอามิสดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและทิฐิอันคล้อย ตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวกก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้นฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุข เสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุ สลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ดับย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ เรื่องเวทนาอันทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและทิฐิอัน คล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวกก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี ฯ

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ท่านผู้นี้ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทาที่ให้สำเร็จนิพพานอย่างเดียวโดยแท้ แต่ก็ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้ เมื่อถือมั่นทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นทิฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นกามสัญโญชน์ ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นปีติอันเกิดแต่วิเวก ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นสุขเสมือนปราศจากอามิส ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้เล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานนั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์นี้ เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ
mn111 Anupadasutta๑. อนุปทสูตร โดยประการทั้งปวงแล้ว ญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว 3 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ก็ธรรม ในวิญญาณัญจายตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตนฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัด อย่างนี้ว่าด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้ แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากิญจัญ ญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสืมไป เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ
mn113 Sappurisasutta๓. สัปปุริสสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง โดยประการทั้งปวงแล้ว อสัตบุรุษล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว 4 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดอยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่ใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อสัตบุรุษนั้นจึงยกตนข่มผู้อื่น ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คืออสัปปุริสธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สัตบุรุษล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา จึงมีอาสวะสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลย่อมไม่สำคัญอะไรๆย่อมไม่สำคัญที่ไหนๆ และไม่สำคัญ ด้วยเหตุไรๆ ฯ
mn122 Mahāsuññatasutta๒. มหาสุญญตสูตร มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชคอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้วยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้
mn137 Saḷāyatanavibhaṅgasutta๗. สฬายตนวิภังคสูตร ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง 5 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ โคที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้ทิศที่ ๑ ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายในย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒ ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓ ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔ ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย ใส่ใจว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๕ ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะ อยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗ ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่งย่อมวิ่งไปได้ ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
sn1.76 Najīratisutta Devatāsaṁyuttaṁนชีรติสูตรที่ ๖ เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม นามและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม ราคะท่านเรียกว่าทางผิด ความโลภเป็นอันตรายของธรรม วัยสิ้นไปตามคืนและวัน หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมข้องอยู่ในหญิงนี้ ตบะและพรหมจรรย์ทั้งสองนั้นมิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่หมั่น ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑ พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด ฯ
sn2.17 Subrahmasutta Devaputtasaṁyuttaṁสุพรหมสูตรที่ ๗ นอกจากความสละวางโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นอกจากปัญญาและความเพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอกจากความสละวางโดยประการทั้งปวง เรายังไม่เห็นความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯ
sn8.2 Aratīsutta Vaṅgīsasaṁyuttaṁอรติสูตรที่ ๒ และวิตกอันอาศัยเรือนโดยประการทั้งปวงแล้ว 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเอง ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า บุคคลใดละความไม่ยินดี (ในศาสนา) และความยินดี (ในกามคุณทั้งหลาย) และวิตกอันอาศัยเรือนโดยประการทั้งปวงแล้ว ไม่พึงทำป่าใหญ่คือกิเลสในอารมณ์ไหนๆ เป็นผู้ไม่มีป่าคือกิเลส เป็นผู้ไม่น้อมใจไปแล้ว ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นภิกษุ ฯ
sn12.51 Parivīmaṁsanasutta Nidānasaṁyuttaṁ๑. ปริวีมังสนสูตร ภิกษุเมื่อพิจารณาพึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง 14 1 Eng  ไทย  සිං  Рус
ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ภิกษุเมื่อพิจารณาพึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณาย่อมพิจารณาว่า ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่างๆ มากมายเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดหนอแล เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่างๆ มากมายเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้แลมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นสมุทัย มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชราและมรณะ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณาย่อมพิจารณาว่า ก็ชาตินี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชาติ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชาติ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ภพนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็สังขารนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี เมื่ออะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณาย่อมรู้ประจักษ์ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบาป ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสังขารดับ วิญญาณพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะวิญญาณดับ นามรูปพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับเวทนาพึง ปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับ ตัณหาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับ อุปาทานพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับ ภพพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ ชาติพึงปรากฏหรือหนอ ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ ชราและมรณะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
sn16.9 Jhānābhiññasutta Kassapasaṁyuttaṁ๙. ฌานาภิญญาสูตร โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด วิญญาณไม่มีที่สุดเพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน 9 4 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงอากาสานัญจายตนะมีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสป ก็หวังเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุดเพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ฯ
sn28.5 Ākāsānañcāyatanasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๕. อากาสสูตร เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย คำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าอากาสานัญจายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ฯลฯ
sn28.6 Viññāṇañcāyatanasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๖. วิญญาณสูตร เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่ 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ฯลฯ
sn28.7 Ākiñcaññāyatanasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๗. อากิญจัญญายตนสูตร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่ 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่าว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าอากิญจัญญายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าอากิญจัญญายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ฯลฯ
sn28.8 Nevasaññānāsaññāyatanasutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่ 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ฯลฯ
sn28.9 Nirodhasamāpattisutta Sāriputtasaṁyuttaṁ๙. นิโรธสูตร เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่ 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว. แท้จริง ท่านพระสารีบุตร ถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้นานแล้ว ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว.
sn36.19 Pañcakaṅgasutta Vedanāsaṁyuttaṁปัญจกังคสูตร โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ภิกษุในธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว 5 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าอากาสานัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย เพราะความดับสูญแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญาทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ

ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ

ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่าชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้นข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ

ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุขเลย บุคคลย่อมได้สุขในฐานะใดๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อันเป็นสุขไว้ในความสุขทุกแห่ง ฯ
sn40.1 Paṭhamajhānapañhāsutta Moggallānasaṁyuttaṁสูตรที่ ๑ - ๑๐ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาณเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง 12 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยรูปสัญญาย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน สมัยต่อมาเราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌาน เราก็เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน สมัยต่อมาเราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตนฌานเป็นไฉน หนอเราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน เราก็เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้สัญญามนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแลพระผู้มีภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาณเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์แล้วได้ ตรัสว่า โมคคัลลานะ โมคคัลลานะ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัยต่อมาเราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
sn41.7 Godattasutta Cittasaṁyuttaṁโคทัตตสูตร ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อากิญจัญญาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มีดังนี้อยู่นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติ ฯ
sn46.54 Mettāsahagatasutta Bojjhaṅgasaṁyuttaṁเมตตสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง 3 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรุณาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร เป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยกรุณา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา เธอคำนึงอยู่ว่า อากาศไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุติ ว่ามีอากาสานัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มุทิตาเจโตวิมุติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันสหรคตด้วยมุทิตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉยมีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุติว่า มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอุเบกขา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญ ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า อะไรนิดหนึ่งไม่มี ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนะอยู่
sn48.18 Paṭipannasutta Indriyasaṁyuttaṁปฏิปันนสูตร ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทร์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระสกาทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนภายนอกตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน.
sn48.53 Sekhasutta Indriyasaṁyuttaṁเสขสูตร จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายยินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แลที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระอเสขะ.
sn54.8 Padīpopamasutta Ānāpānasaṁyuttaṁทีปสูตร เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง 5 2 Eng  ไทย  සිං  Рус
… ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

… ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

… ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

… ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
sn55.40 Nandiyasakkasutta Sotāpattisaṁyuttaṁนันทิยสูตร โดยประการทั้งปวง 1 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใดไม่มีโสตาปัตติยังคธรรม ๔ ประการ โดยประการทั้งปวง ในกาลทุกเมื่อ อริยสาวกนั้นหรือหนอที่พระองค์ตรัสเรียกว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทิยะ อริยสาวกใดไม่มีโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน อนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยวิธีใด ท่านจงฟังวิธีนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นนทิยศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
sn56.22 Dutiyakoṭigāmasutta Saccasaṁyuttaṁวัชชีสูตรที่ ๒ โดยประการทั้งปวงไม่มีเหลือ 2 0 Eng  ไทย  සිං  Рус
โดยประการทั้งปวงไม่มีเหลือ และไม่รู้ชัดซึ่งทางให้ถึงความสงบทุกข์

โดยประการทั้งปวงไม่มีเหลือ และรู้ชัดซึ่งทางให้ถึงความสงบทุกข์